จิปาถะ

เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องจ่ายภาษี? เปิดรายการลดหย่อนภาษี มนุษย์เงินเดือน 2566


30 พฤศจิกายน 2566

เหลือเดือนเดียวก่อนสิ้นสุดปี 2566 พาส่องรายการลดหย่อนภาษี โดยรวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ไว้ที่นี่แล้ว

เงินเดือนเท่าไหร่ ต้องจ่ายภาษี.jpg

ชวนเปิดแผนภาษีว่าเงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร รวมถึงหากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเลย

เงินเดือน  15,000     รายได้ต่อปี     180,000      เงินได้สุทธิ     30,000 บาท   ไม่ต้องเสียภาษี

เงินเดือน  20,000     รายได้ต่อปี     240,000      เงินได้สุทธิ     80,000 บาท   ไม่ต้องเสียภาษี

เงินเดือน  30,000     รายได้ต่อปี     360,000      เงินได้สุทธิ     200,000 บาท        2,500

เงินเดือน  40,000      รายได้ต่อปี     480,000     เงินได้สุทธิ     320,000 บาท        9,500

เงินเดือน  50,000      รายได้ต่อปี     600,000     เงินได้สุทธิ     440,000 บาท       21,500

เงินเดือน  60,000      รายได้ต่อปี     720,000     เงินได้สุทธิ     560,000 บาท       36,500

เงินเดือน  70,000      รายได้ต่อปี     840,000     เงินได้สุทธิ     680,000 บาท       54,500

เงินเดือน  80,000      รายได้ต่อปี     960,000     เงินได้สุทธิ     800,000 บาท        75,000

เงินเดือน  90,000      รายได้ต่อปี    1,080,000   เงินได้สุทธิ     920,000 บาท        99,000

เงินเดือน 100,000     รายได้ต่อปี    1,200,000   เงินได้สุทธิ     1,040,000 บาท     125,000

สรุปค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน
2.ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
3.ค่าลดหย่อนบุตรคนละ 30,000 บาท และสำหรับบุตรคนที่ 2 ที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
4.ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยบิดามารดาต้องมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
5.ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริง สูงสุดครรภ์ละ 60,000 บาท โดยการตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว
6.ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท สำหรับคนที่ดูแลคนพิการหรือทุพพลภาพ โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี


ที่มา :  https://www.matichon.co.th/economy/news_4308239