จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : SFLEX เกาะเทรนด์บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก หนุนผลงานปี 66 นิวไฮ
01 ธันวาคม 2566
กระแสการรักษ์โลก มาแรงในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ CEO บมจ. สตาร์เฟล็กซ์ (SFLEX) ที่ปรับกลยุทธ์เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มความยั่งยืน
เทรนด์บรรจุภัณฑ์ที่น่าจับตามองในปี 2566
1. การใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้และวัสดุมีน้ำหนักเบา เพื่อลดปริมาณทรัพยากรและพลังงานในการผลิต เช่น กล่อง/ฉลากที่สามารถย่อยสลายได้ หรือฉลากมีการพิมพ์สองด้าน
2. การลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองและช่วยลดการเน่าของเสียของสินค้า เพื่อให้ใช้
ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
3. การออกแบบเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การนำกลับมาใช้ใหม่จะช่วยลดความรู้สึกผิดต่อขยะบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการจับจ่ายซื้อของ บรรจุภัณฑ์แบบเติมได้ประกอบด้วยวัสดุรีไซเคิลที่สามารถนำไปปรับปรุงใหม่หรือผลิตใหม่ได้เมื่อผู้บริโภคส่งคืนบรรจุภัณฑ์เปล่า ซึ่งทางเลือกดังกล่าวมีคุณค่าสำหรับบริษัทมากในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4. บรรจุภัณฑ์ชีวภาพย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยใช้วัสดุที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติเช่น พืชผลไม้และสาหร่าย การใช้วัสดุเหล่านี้ช่วยลดการใช้สารเคมีเชื้อเพลิงชีวภาพและพลาสติก อันจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ชีวภาพเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียน ซึ่งสามารถทดแทนได้จากการหมุนเวียนทางธรรมชาติ
5. ฉลากแบบล้างออก เพื่อความสะดวกกับผู้บริโภคในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์โดยไม่ต้องแยก ส่วนประกอบ การใช้หมึกพิมพ์และกาวชีวภาพสำหรับฉลากที่ล้างออกง่ายจะทำให้ภาชนะที่ทำจาก PET และพลาสติกชนิดอื่นๆ สามารถรีไซเคิลได้ฉลากแบบล้างออกได้เป็นอีกหนึ่งเทรนด์หนึ่งของการติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์ที่กำลังมาแรงในปี2566 โดยมีการนำหมึกพิมพ์ที่ทำจากถั่วเหลืองและผักซึ่งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาใช้
6. การนำวัสดุที่มาจากขยะหลังการบริโภคหรือวัสดุรีไซเคิลหลังการบริโภคนำมาแปรรูป เพื่อเพิ่มประโยชน์ในการใช้งาน เช่น ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งแล้วซึ่งเก็บมาจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล การนำภาชนะบรรจุโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลตกลับมาแปรรูป (PET)
แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือบรรจุภัณฑ์ที่รักษ์โลก สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกิจของ บมจ. สตาร์เฟล็กซ์ (SFLEX) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน (Flexible Packaging) สำหรับสินค้าอุปโภคและบริโภค ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Made to Order) โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ประเภทม้วน (Roll Form) และบรรจุภัณฑ์ประเภทซอง (Pre Form Pouch)
โดย “สมโภชน์ วัลยะเสวี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SFLEX ระบุ แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี บริษัทฯ ยืนยันเป้าหมายรายได้ของธุรกิจหลักแบบ Organic growth อยู่ที่ประมาณ 1,800 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากกลยุทธ์การขยายตลาดเชิงรุกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ประกอบกับการมุ่งเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มความยั่งยืน หรือแพคเกจจิ้งที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (Recyclable) ให้มากยิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นเทรนด์ของโลก และเชื่อมั่นว่าช่วยผลักดันการเติบโตได้เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อมุ่งสร้างความยั่งยืนของอัตรากำไรขั้นต้นให้มั่นคงในระยะยาว
ส่วนความคืบหน้าแผนการเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัท Starprint Vietnam Joint Stock Company (SPV) ประเทศเวียดนาม กับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่รายหนึ่ง คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นการยกระดับ SFLEX และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน สนับสนุนผลการดำเนินงานในอนาคตให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไป
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/66 บริษัทฯ มีรายได้รวม 429.4 ล้านบาท โดยมีกำไรขั้นต้น 107.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 136.4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรขั้นต้น 45.3 ล้านบาท หากพิจารณาในส่วนของกำไรสุทธิสำหรับไตรมาสนี้อยู่ที่ 48.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 886.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 5 ล้านบาท
ขณะที่ งวด 9 เดือน บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,375.3 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้น 319 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 117.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรขั้นต้น 146.6 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 140 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 542.2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ 21.8 ล้านบาท
เทรนด์บรรจุภัณฑ์ที่น่าจับตามองในปี 2566
1. การใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้และวัสดุมีน้ำหนักเบา เพื่อลดปริมาณทรัพยากรและพลังงานในการผลิต เช่น กล่อง/ฉลากที่สามารถย่อยสลายได้ หรือฉลากมีการพิมพ์สองด้าน
2. การลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองและช่วยลดการเน่าของเสียของสินค้า เพื่อให้ใช้
ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
3. การออกแบบเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การนำกลับมาใช้ใหม่จะช่วยลดความรู้สึกผิดต่อขยะบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการจับจ่ายซื้อของ บรรจุภัณฑ์แบบเติมได้ประกอบด้วยวัสดุรีไซเคิลที่สามารถนำไปปรับปรุงใหม่หรือผลิตใหม่ได้เมื่อผู้บริโภคส่งคืนบรรจุภัณฑ์เปล่า ซึ่งทางเลือกดังกล่าวมีคุณค่าสำหรับบริษัทมากในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4. บรรจุภัณฑ์ชีวภาพย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยใช้วัสดุที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติเช่น พืชผลไม้และสาหร่าย การใช้วัสดุเหล่านี้ช่วยลดการใช้สารเคมีเชื้อเพลิงชีวภาพและพลาสติก อันจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ชีวภาพเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียน ซึ่งสามารถทดแทนได้จากการหมุนเวียนทางธรรมชาติ
5. ฉลากแบบล้างออก เพื่อความสะดวกกับผู้บริโภคในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์โดยไม่ต้องแยก ส่วนประกอบ การใช้หมึกพิมพ์และกาวชีวภาพสำหรับฉลากที่ล้างออกง่ายจะทำให้ภาชนะที่ทำจาก PET และพลาสติกชนิดอื่นๆ สามารถรีไซเคิลได้ฉลากแบบล้างออกได้เป็นอีกหนึ่งเทรนด์หนึ่งของการติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์ที่กำลังมาแรงในปี2566 โดยมีการนำหมึกพิมพ์ที่ทำจากถั่วเหลืองและผักซึ่งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาใช้
6. การนำวัสดุที่มาจากขยะหลังการบริโภคหรือวัสดุรีไซเคิลหลังการบริโภคนำมาแปรรูป เพื่อเพิ่มประโยชน์ในการใช้งาน เช่น ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งแล้วซึ่งเก็บมาจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล การนำภาชนะบรรจุโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลตกลับมาแปรรูป (PET)
แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือบรรจุภัณฑ์ที่รักษ์โลก สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกิจของ บมจ. สตาร์เฟล็กซ์ (SFLEX) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อน (Flexible Packaging) สำหรับสินค้าอุปโภคและบริโภค ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Made to Order) โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ประเภทม้วน (Roll Form) และบรรจุภัณฑ์ประเภทซอง (Pre Form Pouch)
โดย “สมโภชน์ วัลยะเสวี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SFLEX ระบุ แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงที่เหลือของปี บริษัทฯ ยืนยันเป้าหมายรายได้ของธุรกิจหลักแบบ Organic growth อยู่ที่ประมาณ 1,800 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากกลยุทธ์การขยายตลาดเชิงรุกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ประกอบกับการมุ่งเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มความยั่งยืน หรือแพคเกจจิ้งที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (Recyclable) ให้มากยิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นเทรนด์ของโลก และเชื่อมั่นว่าช่วยผลักดันการเติบโตได้เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อมุ่งสร้างความยั่งยืนของอัตรากำไรขั้นต้นให้มั่นคงในระยะยาว
ส่วนความคืบหน้าแผนการเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัท Starprint Vietnam Joint Stock Company (SPV) ประเทศเวียดนาม กับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่รายหนึ่ง คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นการยกระดับ SFLEX และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน สนับสนุนผลการดำเนินงานในอนาคตให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไป
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/66 บริษัทฯ มีรายได้รวม 429.4 ล้านบาท โดยมีกำไรขั้นต้น 107.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 136.4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรขั้นต้น 45.3 ล้านบาท หากพิจารณาในส่วนของกำไรสุทธิสำหรับไตรมาสนี้อยู่ที่ 48.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 886.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 5 ล้านบาท
ขณะที่ งวด 9 เดือน บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,375.3 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้น 319 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 117.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรขั้นต้น 146.6 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 140 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 542.2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ 21.8 ล้านบาท