จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : AMR สบช่องรัฐบาลไฟเขียวขึ้นค่าแรง จับมือพันธมิตรเพิ่มผลิตภัณฑ์เน้นใช้เทคโนโลยี
06 ธันวาคม 2566
ค่าแรงนับเป็นต้นทุนที่สำคัญของธุรกิจ การปรับขึ้นค่าแรงย่อมส่งผลกระทบต่อผลงาน ทำให้หลายบริษัทศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งเป็นโอกาส ของบมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) ในการต่อยอดธุรกิจจับมือพันธมิตร นำหุ่นยนต์ทำความสะอาด และบริการมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ รวมถึงโรงงาน และคลังสินค้า
นโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นนโยบายที่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรัฐบาลได้มีการสั่งการให้ศึกษาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการ โดยกระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำ และจะเป็นการดูแลทั้งระบบทุกภาคส่วน
โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากเงินเดือนของข้าราชการและค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ขึ้นมานานแล้ว ขณะที่ปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นไปมาก รัฐบาลเป็นห่วงประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการ
และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงานได้ย้ำว่า ปีนี้จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ขึ้นเป็น 400 บาท/วัน ทั่วประเทศ เพราะฐานของค่าแรงขั้นต่ำแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน โดยจะพิจารณาบนพื้นฐานข้อมูลใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และอัตราเงินเฟ้อ
ขณะที่การทำธุรกิจส่วนใหญ่ของภาคเอกชนไทย ต้องยอมรับว่าต้นทุนด้านค่าจ้างแรงงานเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับต้นทุนด้านอื่น แม้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะได้รับเสียงการตอบรับและสนับสนุนจากผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้าง แต่อีกด้านในส่วนของนายจ้างก็ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาคเอกชนเริ่มศึกษาแนวทางการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต เพื่อหวังลดต้นทุนด้านแรงงาน
จึงเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจของบมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “ณัฏฐชัย ศิริโก” ระบุว่า บริษัทฯได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาธุรกิจ โดยนำหุ่นยนต์ทำความสะอาด และบริการมาประยุกต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างนวัตกรรมที่ทำงานบนเทคโนโลยีโลกเสมือนดิจิทัลอัจฉริยะ กับกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ โรงงาน คลังสินค้า ร่วมกับ บริษัท บอทท์ลิงก์ จำกัด (BOTLINK)
ความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจในครั้งนี้ จะเป็นการดำเนินการผ่านการลงทุนด้านนวัตกรรมโลกเสมือนดิจิทัลอัจฉริยะที่พัฒนาโดยบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ และประสบการณ์ด้านการออกแบบ ติดตั้ง และซ่อมบำรุงรักษาแบบครบวงจร เช่น ระบบควบคุมและบริหารจัดการอาคารปัญญาประดิษฐ์ (AI), การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) วิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering) วิทยาการข้อมูล (Data Science) ระบบหุ่นยนต์สำหรับการบริการจัดการคลังสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพระบบควบคุมโปรแกรมใช้งาน ที่รวมถึงระบบที่ใช้เทคโนโลยีคู่เสมือนดิจิทัล (Digital Twins) โดยนำไปผสมผสานกับทาง BOTLINK ที่มีความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิคทางด้านหุ่นยนต์ และนำมาต่อยอดในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในแบบ Total solution ที่ AMR เป็นผู้นำมาอย่างยาวนาน
"ปัจจุบัน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และด้วยทิศทางค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรและหุ่นยนต์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัว โดยการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในครั้งนี้ จะเป็นการพัฒนาเพื่อต่อยอดธุรกิจในการนำหุ่นยนต์ทำความสะอาดและบริการมาประยุกต์กับกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ รวมถึงโรงงาน และคลังสินค้า ซึ่งทั้ง AMR และ BOTLINK ต่างมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งในด้าน AI, Robotics, Digitalization, Control, Programming, Digital Twins ถือเป็นการต่อยอดในการสร้างธุรกิจและรายได้แก่บริษัททั้งสองต่อไป" นายณัฏฐชัยกล่าว
นโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นนโยบายที่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรัฐบาลได้มีการสั่งการให้ศึกษาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการ โดยกระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำ และจะเป็นการดูแลทั้งระบบทุกภาคส่วน
โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากเงินเดือนของข้าราชการและค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ขึ้นมานานแล้ว ขณะที่ปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นไปมาก รัฐบาลเป็นห่วงประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนข้าราชการ
และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงานได้ย้ำว่า ปีนี้จะมีการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ขึ้นเป็น 400 บาท/วัน ทั่วประเทศ เพราะฐานของค่าแรงขั้นต่ำแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน โดยจะพิจารณาบนพื้นฐานข้อมูลใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และอัตราเงินเฟ้อ
ขณะที่การทำธุรกิจส่วนใหญ่ของภาคเอกชนไทย ต้องยอมรับว่าต้นทุนด้านค่าจ้างแรงงานเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับต้นทุนด้านอื่น แม้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะได้รับเสียงการตอบรับและสนับสนุนจากผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้าง แต่อีกด้านในส่วนของนายจ้างก็ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาคเอกชนเริ่มศึกษาแนวทางการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต เพื่อหวังลดต้นทุนด้านแรงงาน
จึงเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจของบมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “ณัฏฐชัย ศิริโก” ระบุว่า บริษัทฯได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาธุรกิจ โดยนำหุ่นยนต์ทำความสะอาด และบริการมาประยุกต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างนวัตกรรมที่ทำงานบนเทคโนโลยีโลกเสมือนดิจิทัลอัจฉริยะ กับกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ โรงงาน คลังสินค้า ร่วมกับ บริษัท บอทท์ลิงก์ จำกัด (BOTLINK)
ความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจในครั้งนี้ จะเป็นการดำเนินการผ่านการลงทุนด้านนวัตกรรมโลกเสมือนดิจิทัลอัจฉริยะที่พัฒนาโดยบริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ และประสบการณ์ด้านการออกแบบ ติดตั้ง และซ่อมบำรุงรักษาแบบครบวงจร เช่น ระบบควบคุมและบริหารจัดการอาคารปัญญาประดิษฐ์ (AI), การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) วิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering) วิทยาการข้อมูล (Data Science) ระบบหุ่นยนต์สำหรับการบริการจัดการคลังสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพระบบควบคุมโปรแกรมใช้งาน ที่รวมถึงระบบที่ใช้เทคโนโลยีคู่เสมือนดิจิทัล (Digital Twins) โดยนำไปผสมผสานกับทาง BOTLINK ที่มีความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิคทางด้านหุ่นยนต์ และนำมาต่อยอดในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในแบบ Total solution ที่ AMR เป็นผู้นำมาอย่างยาวนาน
"ปัจจุบัน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และด้วยทิศทางค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรและหุ่นยนต์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัว โดยการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในครั้งนี้ จะเป็นการพัฒนาเพื่อต่อยอดธุรกิจในการนำหุ่นยนต์ทำความสะอาดและบริการมาประยุกต์กับกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ รวมถึงโรงงาน และคลังสินค้า ซึ่งทั้ง AMR และ BOTLINK ต่างมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งในด้าน AI, Robotics, Digitalization, Control, Programming, Digital Twins ถือเป็นการต่อยอดในการสร้างธุรกิจและรายได้แก่บริษัททั้งสองต่อไป" นายณัฏฐชัยกล่าว