จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : PTG ผ่านจุดต่ำสุด หลังค่าการตลาด สู่ภาวะปกติ โบรกฯแนะนำ “ซื้อ”


17 กุมภาพันธ์ 2566
การประกาศปรับค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงของกบง. ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 66 เป็นต้นไป  นับเป็นข่าวดีต่อเฉพาะบมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) ซึ่ง บล.ทิสโก้ เชื่อผลประกอบการบริษัทผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง  ปรับคำแนะนำจากถือเป็น “ซื้อ”  
รายงานพิเศษ  PTG ผ่านจุดต่ำสุด หลังค่าการตลา170223.jpg
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเห็นชอบค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม โดยปรับค่าการตลาดฯ กลับสู่สภาวะปกติตามปี 63 ทั้งกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล เฉลี่ยอยู่ที่ 2.00 บาทต่อลิตร ซึ่งจะส่งผลให้กองทุนน้ำมันมีรายรับในส่วนของน้ำมันดีเซลลดลงเป็นประมาณ 37.23 ล้านบาทต่อวัน (หรือประมาณ 1,117 ล้านบาทต่อเดือน) ทั้งนี้ จะทำให้ราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมันเบนซินปรับลดลง ประมาณ 0.90-1.20 บาทต่อลิตร โดยจะมีผลตั้งแต่ วันที่ 15 ก.พ.66 เป็นต้นไป
         
และกบง. ยังได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการบริหารจัดการอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้ค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลเป็นไปตามมติของ กบง.

การปรับค่าการตลาดของกบง. ส่งผลดีต่อผู้ค้าปลีกน้ำมัน โดยเฉพาะบมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG)  ที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลมากถึง 75% ของยอดขายทั้งหมด  ขณะเดียวกัน บล.ทิสโก้ ได้วิเคราะห์หุ้น PTG  โดยปรับเพิ่มจาก “ถือ”  เป็น “ซื้อ”  

โดยให้เหตุผลว่า กบง.  มีมติเห็นชอบให้ปรับค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงกลับสู่สภาวะปกติตามปี 2020 ทั้งกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เฉลี่ยอยู่ที่ 2.00 บาทต่อลิตร จากเดิมค่าการตลาดดีเซลถูกรัฐขอความร่วมมือผู้ค้าคุมไม่ให้เกิน1.40 บาทต่อลิตร ทำให้ผู้ค้าไปเพิ่มค่าการตลาดกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์เกินกว่า 2.00 บาทต่อลิตร โดยการปรับดังกล่าวจะส่งผลให้กองทุนน้ำมันมีรายรับในส่วนของน้ำมันดีเซลลดลงเป็นประมาณ 37.23 ล้านบาทต่อวัน (หรือประมาณ 1,117 ล้านบาทต่อเดือน) และจะทำให้ราคาขายปลีกกลุ่มน้ำมันเบนซินปรับลดลง ประมาณ 0.90 – 1.20 บาทต่อลิตร โดยจะมีผลตั้งแต่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2023 เป็นต้นไป (ที่มา : ศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy  News Center-ENC))

ภาครัฐจะใช้กลไกจากกองทุนน้ำมัน หลังจากสถานะเงินกองทุนน้ำมันขาดทุนลดลงจากขาดทุนมากสุดที่เกือบ -9 หมื่นล้านบาทใน พ.ย. 22  หลังจากเริ่มเก็บเงินอุดหนุนน้ำมันดีเซลเข้ากองทุนตั้งแต่ ปลาย พ.ย. 22 ทำให้ขาดทุนลดลงมาที่ -6 หมื่นล้านบาทใน ก.พ. 22 โดย ณ 14 ก.พ. มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 6 บาทสำหรับดีเซล และเบนซิน 2 บาทต่อลิตร  

มาตรการดังกล่าวเป็นการผ่อนคลายแรงกดดันต่อค่าการตลาดเป็นผลดีต่อผู้ค้าปลีกน้ำมันทั้งหมด ทั้งนี้ เรามองว่าบริษัทที่จะได้รับผลบวกมากสุดคือ PTG  ที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลมากถึง 75% ของยอดขายทั้งหมด (SUSCO สัดส่วนดีเซล 50%) ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการคุมค่าการตลาดน้ำมันดีเซลไว้ที่ 1.40 บาทต่อลิตรมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4Q22F ทำให้ผลประกอบการ 4Q22F มีแนวโน้มอ่อนตัวลง ซึ่งเราคาดจะมีกำไรสุทธิเพียง 12 ล้านบาทเท่านั้นจากค่าการตลาดน้ำมันที่เราคาดว่าอ่อนตัวมาอยู่ที่ 1.55 บาทต่อลิตรได้ (จาก 1.99 บาทต่อลิตรใน 3Q22) จากภาครัฐมีการกลับมาเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ย. 22 จากก่อนหน้านี้ มีการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล และการคุมค่าการตลาดน้ำมันไว้ที่ 1.40 บาทต่อลิตร 

คาดผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 4Q22F สถานการณ์พลิกกลับมาดีขึ้น ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ”  จากประเด็นข่าวนี้ เรากลับมามีมุมมองเป็นบวกต่อ PTG มากยิ่งขึ้น ซึ่งเราคาดว่า PTG ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 4Q22F และคาดจะเห็นการฟื้นตัวดีขึ้นใน 1Q23F โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครึ่งหลังของไตรมาสที่ได้รับผลบวกจากมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ ค่าการตลาดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเป็น upside ต่อประมาณการของเรา ด้วยเรามีสมมติฐานค่าการตลาดปี 2023F ที่ค่อนข้างเข้มงวดที่ 1.75 บาทต่อลิตร โดยค่าการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 1 บาทจะส่งผลต่อประมาณการกำไรของ PTG 25% 

นอกจากนี้เรามองว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลง -10% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้สะท้อนถึงแนวโน้มผลประกอบการ ที่อ่อนตัวและแรงกดกันจากราคาน้ำมันดีเซลไปแล้ว ส่งผลให้มี upside  21% ต่อราคาเป้าหมายของเราที่ 16 บาท (PER 20 เท่าปี 2023F)   ดังนั้น เราปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” จากเดิม “ถือ”
PTG