“สุระ คณิตทวีกุล” ถือหุ้น CMO ต่ำสุด 2 ปี หลังถูกสั่งตรวจสอบบัญชีกรณีพิเศษ
by.พูเมซ่า
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยส่งท้ายปี 2566 ดัชนียังคงผันผวนแรง โดยในครึ่งแรกของเดือนธันวาคม ดัชนีปรับลดลง 0.45%ซึ่งดัชนียังคงยืนต่ำกว่าระดับ 1,400 จุด ขณะที่บล.เอเซียพลัส ระบุว่า SET INDEX ขึ้นไม่ไหวการประชุม ครม.มี 3 ประเด็นที่รอได้แก่ ค่าแรงขั้นต่ำ , อัตราค่าไฟฟ้ารอบใหม่ และ EASY E-RECEIPT ยังไม่มีความชัดเจน ขณะที่มีแรงกดดันในกลุ่ม สถาบันการเงินจากความกังวลเรื่องนโยบายแก้ปัญหาหนี้ของรัฐบาล ภาวะดังกล่าวทำให้ SET INDEX วานนี้ ปรับตัวลดลงต่อ จนเริ่มถูกมองว่าตลาดหุ้นบ้านเราเข้าสู่ BEAR MARKET ประเมินทิศทางในช่วงสั้น เห็นว่าตลาดหุ้นบ้านเรา อยู่ในสภาวะที่ขึ้นได้ยาก ปัจจัยหลักมาจาก TURNOVER ที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาก (ด้วยขนาด MARKET CAP ปัจจุบันมูลค่าการซื้อขายควรอยู่ที่ประมาณ 4.9 – 5 หมื่นล้าบบาท/วัน) ซึ่งภาวะดังกล่าวท่าให้สัดส่วนของมูลค่าการทำ SHORT SELL และการซื้อขายผ่าน PROGRAM TRADE สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และที่สำคัญหากมองในภาพของการซื้อ-ขายสุทธิ ยังพบว่ามีเงินไหลออกจากนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง
SET INDEX อยู่ในภาวะที่ปรับตัวขึ้นได้ยาก และดูเหมือนจะผันผวนได้ง่ายขึ้นหาก มูลค่าการซื้อ-ขาย ไม่กลับมา SET INDEX วันนี้คาดอยู่ในกรอบ 1366 – 1377 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPN, TISCO และ SIRI
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในส่วนการปิดสมุดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO ล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการถือครองของ “สุระ คณิตทวีกุล”ได้มีการลดสัดส่วนลง ล่าสุดถือครองจำนวน 8,261,000 หุ้นคิดเป็น 2.94% หากนำไปเปรียบเทียบกับการถือครองหุ้นในครั้งก่อนถือครองจำนวน 12,625,500 หุ้นคิดเป็น 4.49%
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาการถือครองหุ้นCMO ของ “สุระ คณิตทวีกุล” ซึ่งได้เข้ามาลงทุนตั้งแต่ต้นปี 2565 จะเห็นว่า จำนวนการถือครองหุ้นครั้งล่าสุด มีสัดส่วนที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ดังนี้
ช่วงเวลา |
จำนวนถือ(หุ้น) |
%การถือครอง |
28/11/66 |
8.26 |
2.94 |
30/05/66 |
12.62 |
4.49 |
17/03/66 |
15.65 |
5.57 |
11/10/65 |
9.98 |
3.56 |
10/3/65 |
10 |
3.95 |
3/2/65 |
9.83 |
3.85 |
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ของCMO ล่าสุด ณ 28 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วย
รายชื่อ |
จำนวน(หุ้น) |
%การถือหุ้น |
กิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ |
64,031,809 |
22.79 |
ฟ้าใส พัวถาวรสกุล |
25,272,800 |
9 |
กิตติ พัวถาวรสกุล |
12,236,176 |
4.36 |
ไทยเอ็นวีดีอาร์ |
10,884,183 |
3.87 |
ธนภัทร นิสิตสุขเจริญ |
10,250,000 |
3.65 |
สุระ คณิตทวีกุล |
8,261,000 |
2.94 |
ณิชา ชัยศิลป์วัฒนา |
8,000,000 |
2.85 |
วริศ ยงสกุล |
6,376,800 |
2.27 |
เสริมคุณ คุณาวงศ์ |
6,183,799 |
2.2 |
ฐกูร เวชพาณิชย์ |
4,519,700 |
1.61 |
ขณะที่การเคลื่อนไหวราคาหุ้นCMO ในรอบเดือนธันวาคม 2566 ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 3.23%จากราคา 0.93 บาท เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.96 บาท เคยปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ 1.07 บาท และต่ำสุดที่ 0.94 บาท
ทั้งนี้ที่ผ่านมา CMO ได้ถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งการให้บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน)(CMO) ส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ภายในวันที่ 3 มกราคม 2567
โดยเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2566 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย SP, NP หลักทรัพย์ของ บมจ.ซีเอ็มโอ (CMO) กรณีผู้สอบบัญชีไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงินสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2566
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ของ CMO ถูกขึ้นเครื่องหมาย C และ NP จนกว่าบริษัทจะส่ง Special Audit ตามคำสั่งของสำนักงาน ก.ล.ต.
ขณะที่ CMO ชี้แจงว่า ตามที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน ไตรมาสที่ 3/2566 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 โดยได้ระบุเกณฑ์ในการไม่แสดงความเห็น ดังต่อไปนี้
ความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่อเนื่อง
- กลุ่มบริษัทมีผลขาดทุนสุทธิสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 จำนวน 48.7 ล้านบาท และจำนวน 191.7 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ 72.7 ล้านบาท และ 257.9 ล้านบาทตามลำดับ) และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 กลุ่มบริษัทมีขาดทุนสะสม จำนวน 461.7 ล้านบาท (เฉพาะบริษัทฯ 405 ล้านบาท) และมีหนี้สินหมุนเวียนรวมสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนรวมจำนวน 274.3 ล้านบาท โดยหนี้สินหมุนเวียนดังกล่าวได้รวมถึงหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปีจำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งภายหลังได้มีมติจากการประชุมผู้ถือกู้หุ้นให้ขยายเวลาชำระคืนออกไปอีก 2 ปี
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2566 มีมติอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯจำนวนเงิน 78 ล้านบาทเพื่อจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่บุคคลในวงจำกัดจำนวนไม่เกิน 78 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยกำหนดราคาเสนอขายหุ้นตามราคาตลาดในวันที่เสนอขายแต่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาด เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 9/2566 ได้อนุมัติยกเลิกการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่บุคคลดังกล่าว โดยลดทุนจดทะเบียนจำนวน 78 ล้านบาทสำหรับหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายจำนวน 78,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และได้อนุมติเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 280,962,733 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) อัตราส่วนการจัดสรร 1 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุน ราคาเสนอขาย 0.70 บาทต่อหุ้น
- กลุ่มบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทและคดีความรวม 6 คดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรมซึ่งอาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของกลุ่มบริษัท ปัจจุบันคดีความดังกล่าวอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลและผลของคดีความอยู่กับกระบวนการยุติธรรมในอนาคต ถึงแม้กลุ่มบริษัทกำลังดำเนินมาตรการแก้ไขในเรื่องระดับของกระแสเงินสดก็ตาม แต่สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ยังคงแสดงให้เห็นว่ามีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญหลายประการ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมีนัยสำคัญอย่างมากเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกลุ่มบริษัท
บริษัทฯชี้แจงว่าการที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทฯ ไตรมาสที่ 3/2566 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่ได้มีสาเหตุจากการถูกจำกัดขอบเขตโดยผู้บริหาร แต่เกิดจากความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีมาตรการในการรักษาระดับของกระแสเงินสดสำหรับการจ่ายชำระหนี้สินและใช้ในการดำเนินงาน โดยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2566 เพื่อพิจารณาขอขยายระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ออกไป 2 ปี
นอกจากนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างพิจารณาปรับปรุงแผนทางธุรกิจเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และกลับมาอยู่ในสถานะที่ทำกำไรได้อีกครั้งในอนาคตเพื่อที่จะสามารถชำระหุ้นกู้ได้ตามวันครบกำหนดใหม่ และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 9/2566 ได้อนุมติเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้ยืม รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทและเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
ต่อมา บมจ.ซีเอ็มโอ (CMO) แจ้งว่า นายอริยะ พนมยงค์ ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากบริษัทฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้น ทั้งนี้การลาออกของประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
ตามที่ ก.ล.ต. สั่งการให้ CMO จัดให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) โดยให้นำส่งรายงานผลการตรวจสอบภายในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566* ต่อมา CMO มีหนังสือขอขยายระยะเวลาเพิ่มเติมเป็นภายในวันที่ 3 มกราคม 2567 เนื่องจากผู้สอบบัญชีรายบริษัทสำนักงาน อีวาย จำกัดซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบกรณีดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตรวจสอบและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ
ก.ล.ต. จึงสั่งการให้นำส่งรายงานดังกล่าวภายในวันที่ 3 มกราคม 2567 ตามที่ขอขยายระยะเวลาเพิ่มเติม พร้อมทั้งให้ CMO เปิดเผยผลการตรวจสอบผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย