Talk of The Town

รัฐจัดการหนี้-พักหนี้ ชี้ไม่กระทบหุ้นแบงก์แต่สะเทือนไฟแนนซ์


13 ธันวาคม 2566
รัฐจัดการหนี้-พักหนี้.jpg

นายกจัดแถลงจัดการหนี้พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ปรับโครงสร้าง ขยายเวลาผ่อนจ่ายฯ กลุ่มลูกหนี้แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ได้แก่


1) ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แบ่งเป็นลูกหนี้รายย่อยที่ส่วน ใหญ่มีหนี้เสียกับธนาคารออมสินและธกส. โดยคาดจำนวน1.1ล้านราย และ SMEที่เป็นหนี้เสีย 100,000 ราย โดยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลดดอกเบี้ยลง 1% และพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ SMEs ที่อยู่กับแบงก์รัฐเป็นเวลา 1 ปีรวมถึงยกเลิก สถานะหนี้เสีย NPL

2) ลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำที่มีภาระหนี้จำนวนมากเกินศักยภาพ ได้แก่กลุ่มข้าราชการครู ตำรวจ ทหาร ที่มีหนี้กับสถาบันการเงินและหนี้บัตรเครดิต ผ่านการลดดอกเบี้ยไม่ให้สูงเกินไป โอนหนี้ไปที่เดียวเช่นที่สหกรณ์เพื่อตัดเงินเดือนนำมาชำระหนี้ได้สะดวก แต่หักไม่เกิน 70% ของเงินเดือน ปรับโครงสร้างหนี้ผ่าน ‘คลีนิคแก้หนี้’ ผ่อนได้นาน 10 ปี และลดดอกเบี้ยเหลือ 3.5% ต่อปีแนวทางแก้ไขหนี้ครูประมาณ 9 แสนคน

3) กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอนทำให้ชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ เกษตรกร ลกหนี้เช่า ซื้อ และลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยการพักชำระหนี้ชั่วคราวลดดอกเบี้ย ลดเงินผ่อนชำระต่องวด ถอนอายัติบัญชี ให้ผู้ค้ำประกันหลุดจากการค้ำประกัน ทั้งนี้รัฐบาลได้มีโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรแล้ว โดยพักทั้งหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย3ปี ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมแล้วกว่า 1.5 ล้านราย และหนี้นักเรียนกยศ.
ประมาณ 5 ล้านคน สำหรับแนวทางแก้หนี้เช่าซื้อ สคบ.จะกำหนดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์และรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกิน 10%

4) กลุ่มหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินของรัฐมาเป็นระยะเวลานาน กลุ่มนี้ จะโอนไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐและบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยการปรับโครงสร้างหนี้

ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี ระบุว่าไม่มีผลกระทบหุ้นกลุ่มแบงก์แต่คาดผลกระทบเล็กน้อยต่อกลุ่ม Finance เนื่องจากโครงการนี้มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธกส. และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI) จึงมองผลกระทบจำกัดต่อ KTB หรือแทบจะไม่มีผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มแบงก์นอกจากนี้ลูกค้าในกลุ่มแบงก์ยังเป็นคนละกลุ่มกับที่ทางภาครัฐเข้าให้การช่วยเหลือ สำหรับด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถใหม่ที่จะมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ย เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารไม่เกินระดับเพดานที่กำหนดอยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบ แต่อาจจะมีผลกระทบทางลบเล็กน้อยต่อกลุ่ม Finance

ทั้งนี้มีมุมมอง Neutral ต่อกลุ่มธนาคาร เรามองการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ทั่ว โลกจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงไปยังหุ้นกู้ระยะยาว จึงทำให้หุ้นกลุ่มแบงก์underperformed รวมถึงตลาดหุ้นไทยโดยรวมด้วย เนื่องจากความไม่แน่นอนทาง เศรษฐกิจ อัตราส่วนหนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะ หนี้เอกชนในระดับสูงต่อ GDP และความเสี่ยงทางด้านนโยบายของภาครัฐ นอกจากนี้เราคาดการณ์การเติบโตของ สินเชื่อจะเติบโตเพียงเล็กน้อย ขณะที่ NIM อาจจะทรงตัวหรือลดลงตามกลยุทธ์ของแต่ละแบงก์ อย่างไรก็ดีกลุ่มธนาคารไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านของสภาพ คล่อง การตั้งสำรองที่สูง เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูง คุณภาพสินทรัพย์ที่จัดการได้และมีนโยบายที่เข้มงวด valuation ที่ไม่แพงและอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ด