บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) และบริษัทย่อย จัดสรรงบประมาณลงทุน 5 ปี (ปี 67-71) รวม 32,575 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นรายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) 20,747 ล้านเหรียญสหรัฐ และรายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure) 11,828 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 70 งบลงทุน 5,772 ล้านเหรียญสหรัฐ
และ ปี 71 งบลงทุน 5,305 ล้านเหรียญสหรัฐ
PTTEP คาดการณ์ปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวันจากโครงการปัจจุบัน ในช่วง 5 ปี (ปี 67-71)
ปี 67 ที่ 5.05 แสนบาร์เรล/วัน
ปี 68 ที่ 5.23 แสนบาร์เรล/วัน
ปี 69 ที่ 5.34 แสนบาร์เรล/วัน
ปี 70 ที่ 5.31 แสนบาร์เรล/วัน
และ ปี 71 ที่ 5.87 แสนบาร์เรล/วัน
สำหรับแผนการดำเนินงานประจำปี 67 อยู่ภายใต้แผนกลยุทธ์ Drive-Decarbonize-Diversify เพื่อขับเคลื่อนและเพิ่มมูลค่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 93 (ค.ศ. 2050) รวมถึงขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition Strategy) โดยจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 6,721 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นรายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) และรายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure)จำนวน 4,316 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 2,405 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ
เป้าหมายการดำเนินงานในปี 67 จะให้ความสำคัญกับแผนงานหลัก ดังนี้
1. การเพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียม รวมถึงเร่งกิจกรรมสำรวจ พัฒนาและผลิตเพิ่มเติมจากโครงการปัจจุบัน โครงการผลิตหลักที่สำคัญเพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ได้แก่ โครงการ จี1/61 (แหล่งเอราวัณ) โครงการ จี 2/61 (แหล่งบงกช) โครงการอาทิตย์โครงการเอส 1 โครงการ คอนแทร็ค 4 โครงการในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย โครงการซอติก้าในประเทศเมียนมา ที่มีการนำก๊าซฯที่ผลิตได้เข้ามาใช้ในประเทศไทย รวมถึงโครงการผลิตหลักในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย และโอมาน โดยได้จัดสรรรายจ่ายลงทุน จำนวน 3,202 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีแผนงานสำหรับกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 93 โดยครอบคลุม Scope 1 และ Scope 2 ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่กลุ่ม PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ (Operational Control) พร้อมตั้งเป้าหมายระหว่างทางในการลดปริมาณความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission Intensity) ลงจากปีฐาน 63 ให้ได้ไม่น้อยกว่า 30% และ 50% ภายในปี 73 และ 83 ตามลำดับ โดยกลุ่ม PTTEP ได้ตั้งงบประมาณสำหรับกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 67 ทั้งสิ้นจำนวน 109 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. การเร่งผลักดันโครงการหลักที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้แก่ โครงการพัฒนาในมาเลเซีย แหล่ง ลัง เลอบาห์ และโครงการโมซัมบิก แอเรีย 1 ให้สามารถเริ่มการผลิตได้ตามแผน โดยบริษัทได้จัดสรร รายจ่ายลงทุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 762 ล้านเหรียญสหรัฐ
3. การเร่งดำเนินการสำรวจในโครงการสำรวจและโครงการที่ดำเนินการผลิตแล้วที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว โดยได้จัดสรรรายจ่ายลงทุนจำนวน 220 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการศึกษาทางธรณีวิทยาและการเจาะหลุมสำรวจและประเมินผลสำหรับโครงการในประเทศมาเลเซีย ประเทศโอมาน ประเทศไทยและประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กลุ่ม PTTEP ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้เริ่มดำเนินการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition Business) ซึ่งได้สำรองงบประมาณเพิ่มเติมอีก 2,022 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปี 67-71 เพื่อรองรับการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนนอกชายฝั่ง ธุรกิจดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS as a Service) ธุรกิจเชื้อเพลิงไฮโดรเจน และการต่อยอดเทคโนโลยีที่บริษัทมีอยู่ไปสู่ธุรกิจเชิงพาณิชย์ รวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมขององค์กรในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำในอนาคต พร้อมกับการดูแลสังคมและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท เพื่อสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย