จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : “ผลผลิตน้อย-ความต้องการเพิ่ม” หนุน ราคายางพาราพุ่งดันผลงาน TEGH แกร่ง
15 ธันวาคม 2566
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เชื่อสถานการณ์ราคายางไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้น จากผลผลิตที่มีน้อยลงจากผลกระทบปรากฏการณ์เอลนีโญ ขณะที่ความต้องการใช้ปรับเพิ่มขึ้น กระตุ้นราคายางพาราและผลงาน บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ไตรมาส 4 โตต่อเนื่อง
น.ส.อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง วิเคราะห์สถานการณ์ยางว่า สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) คาดการณ์ว่า ผลผลิตยางธรรมชาติทั่วโลกปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 2.0% แต่น้อยกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2.5% เป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยลง และเวียดนามขาดแคลนแรงงานกรีดยาง ส่วนมาเลเซียและอินโดนีเซียมีการโค่นยางเพื่อปลูกปาล์มมากขึ้น
ขณะที่คาดการณ์ความต้องการใช้ยางโลกเพิ่มขึ้น 0.17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่ขยายตัวในประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อย่างจีนและอินเดีย โดยเฉพาะรถยนต์ EV ของจีนที่เติบโตสูง IMF จึงคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนและอินเดียจะเพิ่ม 5.6% และ 6.3% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจึงพบว่า ความต้องการใช้ยางโลกมากกว่าผลผลิตยางที่ 0.678 ล้านตัน คิดเป็น 4.4% ส่งผลให้เกิด Over Demand ในอุตสาหกรรมยางโลก เป็นปัจจัยบวกต่อราคายาง
สำหรับการส่งออกยางโลกในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค.66 ประเทศสมาชิก ANRPC ส่งออกลดลง 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ไทยยังคงรักษา Market Share ได้ที่ 43% คาดว่าในไตรมาส 4 ปริมาณส่งออกยางธรรมชาติจะอยู่ที่ 1,125,945 ตัน เพิ่มขึ้น 0.48% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้น
"จากปัจจัยบวกด้านผลผลิตยางที่น้อยกว่าคาดการณ์เดิม สวนทางกับความต้องการใช้ยางโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะประเทศผู้ใช้ยางมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายของรัฐบาล กระทรวงเกษตรฯ ที่มุ่งผลักดันมูลค่าสินค้าเกษตร การจัดการข้อมูลยางพารา เพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการให้เกิดสมดุลยางในประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางอย่างจริงจัง จนราคายางปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและสูงสุดในรอบ 15 เดือน จึงคาดว่าทิศทางราคายาง ไตรมาส 4/66 มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น" น.ส.อธิวีณ์ กล่าว
ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ที่เชื่อว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/66 จะฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังจากที่ลูกค้าทางฝั่งยุโรปเริ่มกลับมา และบริษัทฯได้ปรับการขายไปยังกลุ่มลูกค้าอินเดียกับจีนมากขึ้น เนื่องจากมองว่าปริมาณสต็อกยางในประเทศจีนเริ่มทยอยลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าลูกค้าทั้งจีนและยุโรปจะกลับมาเพิ่มสต็อกยางในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท พร้อมประเมินว่าราคายางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/66
นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้ขยายการลงทุนเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงผู้ผลิตยางล้อที่มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตตามมาด้วย มองว่าจะสนับสนุนความต้องการการใช้ยางแท่งในประเทศให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดการณ์แนวโน้มปริมาณขายยางแท่งในปีนี้ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 200,000 ตัน โดย 9 เดือนแรกทำได้แล้ว 150,000 ตัน แบ่งเป็นสัดส่วนขายภายในประเทศ 52% และส่งออก 48%
ทั้งนี้ บริษัทฯได้มีการเตรียมความพร้อมรองรับมาตรการ EUDR แล้ว โดยปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าเข้ามาให้ความสนใจยางแท่งเกรด EUDR ของบริษัท และคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อในปีหน้า โดยเฉพาะจากลูกค้าฝั่งยุโรป ทั้งนี้กลุ่มสินค้าเกรดดังกล่าวจะมีราคาที่ดีกว่าราคาขายยางแท่งเกรดพรีเมี่ยมปกติ
น.ส.อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง วิเคราะห์สถานการณ์ยางว่า สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) คาดการณ์ว่า ผลผลิตยางธรรมชาติทั่วโลกปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 2.0% แต่น้อยกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2.5% เป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตรายสำคัญ ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยลง และเวียดนามขาดแคลนแรงงานกรีดยาง ส่วนมาเลเซียและอินโดนีเซียมีการโค่นยางเพื่อปลูกปาล์มมากขึ้น
ขณะที่คาดการณ์ความต้องการใช้ยางโลกเพิ่มขึ้น 0.17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่ขยายตัวในประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อย่างจีนและอินเดีย โดยเฉพาะรถยนต์ EV ของจีนที่เติบโตสูง IMF จึงคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนและอินเดียจะเพิ่ม 5.6% และ 6.3% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจึงพบว่า ความต้องการใช้ยางโลกมากกว่าผลผลิตยางที่ 0.678 ล้านตัน คิดเป็น 4.4% ส่งผลให้เกิด Over Demand ในอุตสาหกรรมยางโลก เป็นปัจจัยบวกต่อราคายาง
สำหรับการส่งออกยางโลกในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค.66 ประเทศสมาชิก ANRPC ส่งออกลดลง 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ไทยยังคงรักษา Market Share ได้ที่ 43% คาดว่าในไตรมาส 4 ปริมาณส่งออกยางธรรมชาติจะอยู่ที่ 1,125,945 ตัน เพิ่มขึ้น 0.48% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้น
"จากปัจจัยบวกด้านผลผลิตยางที่น้อยกว่าคาดการณ์เดิม สวนทางกับความต้องการใช้ยางโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะประเทศผู้ใช้ยางมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายของรัฐบาล กระทรวงเกษตรฯ ที่มุ่งผลักดันมูลค่าสินค้าเกษตร การจัดการข้อมูลยางพารา เพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการให้เกิดสมดุลยางในประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางอย่างจริงจัง จนราคายางปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและสูงสุดในรอบ 15 เดือน จึงคาดว่าทิศทางราคายาง ไตรมาส 4/66 มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น" น.ส.อธิวีณ์ กล่าว
ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ที่เชื่อว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/66 จะฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังจากที่ลูกค้าทางฝั่งยุโรปเริ่มกลับมา และบริษัทฯได้ปรับการขายไปยังกลุ่มลูกค้าอินเดียกับจีนมากขึ้น เนื่องจากมองว่าปริมาณสต็อกยางในประเทศจีนเริ่มทยอยลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าลูกค้าทั้งจีนและยุโรปจะกลับมาเพิ่มสต็อกยางในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท พร้อมประเมินว่าราคายางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/66
นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้ขยายการลงทุนเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงผู้ผลิตยางล้อที่มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตตามมาด้วย มองว่าจะสนับสนุนความต้องการการใช้ยางแท่งในประเทศให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดการณ์แนวโน้มปริมาณขายยางแท่งในปีนี้ จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 200,000 ตัน โดย 9 เดือนแรกทำได้แล้ว 150,000 ตัน แบ่งเป็นสัดส่วนขายภายในประเทศ 52% และส่งออก 48%
ทั้งนี้ บริษัทฯได้มีการเตรียมความพร้อมรองรับมาตรการ EUDR แล้ว โดยปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าเข้ามาให้ความสนใจยางแท่งเกรด EUDR ของบริษัท และคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อในปีหน้า โดยเฉพาะจากลูกค้าฝั่งยุโรป ทั้งนี้กลุ่มสินค้าเกรดดังกล่าวจะมีราคาที่ดีกว่าราคาขายยางแท่งเกรดพรีเมี่ยมปกติ