โลกอนาคตเป็นยุคของการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ทำให้การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ที่ผลงานเติบโตต่อเนื่องและบริษัทฯยังวางเป้าหมายเป็นผู้นำ Local Platform ต่อยอดการใช้บริการ Cloud อย่างครบวงจร
เป็นประจำทุกปีที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะสำรวจแนวโน้มอนาคตของธุรกิจ ซึ่งปี2567 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์ฯ ระบุ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง - ดาวร่วง ปี 2567 จะพบว่าในปีหน้า ธุรกิจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) ขึ้นนำเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจดาวรุ่ง ร่วมกับธุรกิจ Content, Youtuber, รีวิวสินค้า และ Influencer เหตุผลจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยนิยมซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น
นอกจากนี้ เทรนด์การทำ Content ส่งผลให้เกิด Content Creator ที่ผลิตเนื้อหาที่ช่วยให้ธุรกิจนำเสนอสินค้าและบริการ รวมถึงโน้มน้าวใจผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งธุรกิจ E-Commerce ในปีก่อนอยู่อันดับ 2 ส่วนธุรกิจทำ Content ในปีก่อน อยู่อันดับ 4
และหากดู 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2567 จะพบว่า 3 อันดับแรกจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี โดยธุรกิจที่เป็นดาวรุ่งอันดับ 1 ในปี 67 ได้แก่
- ธุรกิจ E-Commerce เนื่องจากผู้บริโภคปรับลดพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านหน้าร้าน เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ไปเป็นการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น เพราะสะดวกสบาย สามารถเปรียบเทียบราคาและบริการได้
- ธุรกิจทำ Content, Youtuber, รีวิวสินค้า และ Influencer เนื่องจากหลังโควิด-19 คนหันมาใช้บริการผ่านออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้เกิดการเติบโตต่อเนื่อง อีกทั้งมีต้นทุนต่ำ พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของคนในปัจจุบัน เป็นการรับรู้ผ่านออนไลน์มากขึ้น และสามารถโน้มน้าวให้เกิดการตัดสินใจซื้อ
ส่วนอับดับ 2 ได้แก่
- ธุรกิจการแพทย์และความงาม เนื่องจากไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งคนในปัจจุบันมีความสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ และจากนโยบายของรัฐที่อยากให้ไทยเป็น Medical Hub จึงมีกระแสการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
- ธุรกิจโฆษณา และสื่อออนไลน์ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้เวลา และใช้จ่ายผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น การผลิตสื่อออนไลน์มีต้นทุนต่ำ และมีแนวโน้มจะขึ้นมาเป็นสื่อหลักที่ใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
- ธุรกิจโทรคมนาคมสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สัญญาณสื่อสารต่างๆ เนื่องจากเมกะเทรนด์ของธุรกิจในอนาคต มีการใช้ IoT และปรับสู่ระบบ Smart Solution มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนโครงการต่างๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล, สมาร์ทซิตี้ ในขณะที่ภาคเอกชน มีแนวโน้มลงทุนขยายโครงข่ายและพัฒนาบริการเพื่อตอบสนองฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
และอันดับ 3 ได้แก่
- Social Media และ Online Entertainment เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงาน ซื้อขายสินค้า การศึกษา และความบันเทิง ซึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์ สามารพเข้าถึงได้ทั่วทุกมุมโลก
- ธุรกิจด้านการเงินธนาคาร Fintech การชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี เพราะพฤติกรรมการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ประกอบกับการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในยุคสังคมไร้เงินสด และนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล ที่จะออกมาในปี 2567
- ธุรกิจ Cloud Service และ Cyber Security อัตราการเติบโตของ Digital Economy ทั่วโลกรวมถึงไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็มีเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากการโจรกรรมข้อมูล การหลอกลวงออนไลน์ จึงทำให้หน่วยงานต้องมีการใช้บริการ Cyber Security มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง
ทิศทางดังกล่าวสนับสนุนการเติบโตของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ซึ่ง “วัลล์ชัย เวชชีวะดำรง” รองกรรมการผู้จัดการ นำเสนอผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2566 และแผนการดำเนินธุรกิจที่เหลือของปีนี้ ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน Opportunity Day ผ่านระบบ Video Conference โดยระบุว่า บริษัทฯ มุ่งสู่การเป็นผู้นำ Local Platform เพื่อต่อยอดการใช้งานของบริการ Cloud อย่างครบวงจร พร้อมเร่งการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เทคโนโลยีเป็นของบริษัทเอง เพื่อทดแทนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รองรับลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับผลงานของ INET ในไตรมาส 3/66 มีกำไรสุทธิ 58.35 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.12 บาท ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 42.09 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท
เป็นประจำทุกปีที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะสำรวจแนวโน้มอนาคตของธุรกิจ ซึ่งปี2567 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์ฯ ระบุ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง - ดาวร่วง ปี 2567 จะพบว่าในปีหน้า ธุรกิจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) ขึ้นนำเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจดาวรุ่ง ร่วมกับธุรกิจ Content, Youtuber, รีวิวสินค้า และ Influencer เหตุผลจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยนิยมซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น
นอกจากนี้ เทรนด์การทำ Content ส่งผลให้เกิด Content Creator ที่ผลิตเนื้อหาที่ช่วยให้ธุรกิจนำเสนอสินค้าและบริการ รวมถึงโน้มน้าวใจผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งธุรกิจ E-Commerce ในปีก่อนอยู่อันดับ 2 ส่วนธุรกิจทำ Content ในปีก่อน อยู่อันดับ 4
และหากดู 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2567 จะพบว่า 3 อันดับแรกจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี โดยธุรกิจที่เป็นดาวรุ่งอันดับ 1 ในปี 67 ได้แก่
- ธุรกิจ E-Commerce เนื่องจากผู้บริโภคปรับลดพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านหน้าร้าน เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ไปเป็นการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น เพราะสะดวกสบาย สามารถเปรียบเทียบราคาและบริการได้
- ธุรกิจทำ Content, Youtuber, รีวิวสินค้า และ Influencer เนื่องจากหลังโควิด-19 คนหันมาใช้บริการผ่านออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้เกิดการเติบโตต่อเนื่อง อีกทั้งมีต้นทุนต่ำ พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของคนในปัจจุบัน เป็นการรับรู้ผ่านออนไลน์มากขึ้น และสามารถโน้มน้าวให้เกิดการตัดสินใจซื้อ
ส่วนอับดับ 2 ได้แก่
- ธุรกิจการแพทย์และความงาม เนื่องจากไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งคนในปัจจุบันมีความสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ และจากนโยบายของรัฐที่อยากให้ไทยเป็น Medical Hub จึงมีกระแสการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
- ธุรกิจโฆษณา และสื่อออนไลน์ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้เวลา และใช้จ่ายผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น การผลิตสื่อออนไลน์มีต้นทุนต่ำ และมีแนวโน้มจะขึ้นมาเป็นสื่อหลักที่ใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
- ธุรกิจโทรคมนาคมสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สัญญาณสื่อสารต่างๆ เนื่องจากเมกะเทรนด์ของธุรกิจในอนาคต มีการใช้ IoT และปรับสู่ระบบ Smart Solution มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนโครงการต่างๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล, สมาร์ทซิตี้ ในขณะที่ภาคเอกชน มีแนวโน้มลงทุนขยายโครงข่ายและพัฒนาบริการเพื่อตอบสนองฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
และอันดับ 3 ได้แก่
- Social Media และ Online Entertainment เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงาน ซื้อขายสินค้า การศึกษา และความบันเทิง ซึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์ สามารพเข้าถึงได้ทั่วทุกมุมโลก
- ธุรกิจด้านการเงินธนาคาร Fintech การชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี เพราะพฤติกรรมการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ประกอบกับการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในยุคสังคมไร้เงินสด และนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล ที่จะออกมาในปี 2567
- ธุรกิจ Cloud Service และ Cyber Security อัตราการเติบโตของ Digital Economy ทั่วโลกรวมถึงไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็มีเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากการโจรกรรมข้อมูล การหลอกลวงออนไลน์ จึงทำให้หน่วยงานต้องมีการใช้บริการ Cyber Security มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง
ทิศทางดังกล่าวสนับสนุนการเติบโตของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ซึ่ง “วัลล์ชัย เวชชีวะดำรง” รองกรรมการผู้จัดการ นำเสนอผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2566 และแผนการดำเนินธุรกิจที่เหลือของปีนี้ ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน Opportunity Day ผ่านระบบ Video Conference โดยระบุว่า บริษัทฯ มุ่งสู่การเป็นผู้นำ Local Platform เพื่อต่อยอดการใช้งานของบริการ Cloud อย่างครบวงจร พร้อมเร่งการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เทคโนโลยีเป็นของบริษัทเอง เพื่อทดแทนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รองรับลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับผลงานของ INET ในไตรมาส 3/66 มีกำไรสุทธิ 58.35 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.12 บาท ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 42.09 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท