Talk of The Town
ผู้ถือหุ้น NUSA รวมตัวร้อง “ดีเอสไอ” ตรวจสอบมติบอร์ดขายสินทรัพย์ 1.1 หมื่นลบ. ไม่โปร่งใส
26 ธันวาคม 2566
ผู้ถือหุ้นรายย่อย NUSA สุดทน รวมตัว ร้อง “ดีเอสไอ” ตรวจสอบมติคณะกรรมการขายทรัพย์สินบริษัทออก 1.1 หมื่นล้านบาท แทบหมดบริษัท แต่ไม่รายงานหรือจัดประชุมผู้ถือหุ้นเข้าข่ายปกปิดธุรกรรมสำคัญ หลอกลวงนักลงทุน วอนหน่วยงานรัฐจัดการโดยเร็ว ก่อนเกิดความเสียหาย เกินเยียวยา แก่นักลงทุนรายย่อยเกือบ 1 หมื่นคน เชื่อหลายธุรกรรมที่ถูกเรียกชี้แจง มีส่วนทำบริษัทขาดทุนรวด 8 ปี รวมขาดทุนสะสมกว่า 3 พันล้านบาท
นายเสรี หัตถะรัชต์ ตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้น รายย่อยที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนใน บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) (NUSA) เปิดเผยหลังนำผู้ถือหุ้นรายย่อยรวม 30 คน เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า นักลงทุนรายย่อยรวมตัวกันมาขอความช่วยเหลือจากดีเอสไอ ให้ตรวจสอบการดำเนินการที่เชื่อว่าไม่โปร่งใสของคณะกรรมการ NUSA ที่อนุมัติ ให้ผู้บริหารขายทรัพย์สินของบริษัทออกไป 6 รายการเป็นเงินกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท หรือ เกือบ 70% ของทรัพย์สินทั้งหมดบริษัท 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะกระทบต่อบริษัทอย่างมหาศาล โดยไม่ได้แจ้งหรือจัดการประชุม ให้ผู้ถือหุ้น ในฐานะเจ้าของบริษัทตัวจริงได้รับทราบหรืออนุมัติ เชื่อว่าเป็นการปกปิดธุรกรรมอันมีสาระสำคัญในการดำเนินงานอาจจะเข้าข่ายหลอกลวง
“ถ้าหน่วยงานรัฐไม่ช่วยยับยั้งการกระทำดังกล่าวโดยเร็ว หากเกิดความเสียหายจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะมีผู้ถือหุ้นรายย่อยใน NUSA เกือบ 1 หมื่นราย ในจำนวนนี้มีผู้ถือหุ้นมากมายที่เข้ามาลงทุนใน NUSA เพราะเชื่อตามที่ฝ่ายบริหารนำเสนอว่า บริษัทจะเข้าสู่ธุรกิจพลังงาน จะมีรายได้ที่มั่นคง นักลงทุนก็คล้อยตาม เพราะช่วงไวรัสโควิด -19 ระบาด ธุรกิจพลังงานแทบไม่ได้รับผลกระทบ จึงพากันเข้ามาลงทุน แต่มาวันนี้กลับมีมติขายธุรกิจพลังงานทิ้งทั้งหมด โดยไม่แจ้งผู้ถือหุ้น แบบนี้เข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุนหรือไม่”
นายเสรี กล่าวว่า นอกจากขายทรัพย์สินออกไปครั้งมโหฬาร กลุ่มนักลงทุนรายย่อยก็ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการขายทรัพย์สินว่าจะเป็นไปอย่างโปร่งใสหรือไม่ เพราะจากเหตุการณ์ที่ผ่านมามักถูกหน่วยงานกำกับดูแลทั้งผู้ตรวจสอบบัญชี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรียกชี้แจงบ่อยครั้ง เช่น กรณีล่าสุดที่ผู้บริหาร NUSA นำโครงการอสังหาฯ ของบริษัท ไปขายให้กับบริษัทที่มีญาติตัวเองเป็นกรรมการกรรมการ ในราคาต่ำกว่าตลาด พอถูก ตลท. เรียกชี้แจง ก็อ้างว่าทำไปเพราะเข้าใจคลาดเคลื่อนโดยสุจริต ทั้งที่เป็นผู้บริหารมานานมาอ้างแบบนี้ฟังขึ้นหรือไม่ขึ้นหรือไม่ จนวันนี้บริษัทก็ยังตอบคำถามได้ไม่ชัดเจนว่าการเข้าซื้อเข้าซื้อธุรกิจโรงแรมธุรกิจโรงแรม Panacee Grand Hotel Roemerbad ในประเทศเยอรมนี จ่ายเงินไปแล้ว 711 ล้านบาท จากทั้งหมด 740 ล้านบาท ผู้รับเงินไม่ใช่เจ้าของโรงแรมมันผิดปกติหรือไม่หรือไม่ ภายหลังมาประกาศเปลี่ยนจากซื้อธุรกิจโรงแรมไปซื้อหุ้นบริษัทที่เป็นเจ้าของโรงแรมแทน ทั้งที่จ่ายเงินไปแล้ว ผลลัพธ์ตอนนี้ NUSA เลยได้หุ้นบริษัทเยอรมันที่มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 407 ล้านบาท คือได้บริษัทที่หนี้ท่วมเข้ามา ส่วนตัวโรงแรมที่ได้มาก็ยังเปิดบริการไม่ได้เลยไม่มีรายได้ เรื่องนี้สร้างความเสียหายแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง”
นายเสรี กล่าวอีกว่า เชื่อว่าการดำเนินธุรกรรมหลายรายการที่ผ่านมาอาจเข้าข่ายไม่โปร่งใส จนถูกเรียกชี้แจงบ่อยครั้ง และเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านั้นอาจอาจมีส่วนทำให้ NUSA ขาดทุนติดต่อกันยาวนานถึง 8 ปี มีขาดทุนสะสมมากกว่า 3 พันล้านบาท สร้างความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นมาโดยตลอด ดังนั้นเพื่อความชอบธรรมกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของ NUSA จะเดินหน้าร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อรักษารักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะผู้ถือหุ้นภายใต้กรอบกฎหมายอย่างถึงที่สุด
นายเสรี หัตถะรัชต์ ตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้น รายย่อยที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนใน บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) (NUSA) เปิดเผยหลังนำผู้ถือหุ้นรายย่อยรวม 30 คน เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า นักลงทุนรายย่อยรวมตัวกันมาขอความช่วยเหลือจากดีเอสไอ ให้ตรวจสอบการดำเนินการที่เชื่อว่าไม่โปร่งใสของคณะกรรมการ NUSA ที่อนุมัติ ให้ผู้บริหารขายทรัพย์สินของบริษัทออกไป 6 รายการเป็นเงินกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท หรือ เกือบ 70% ของทรัพย์สินทั้งหมดบริษัท 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะกระทบต่อบริษัทอย่างมหาศาล โดยไม่ได้แจ้งหรือจัดการประชุม ให้ผู้ถือหุ้น ในฐานะเจ้าของบริษัทตัวจริงได้รับทราบหรืออนุมัติ เชื่อว่าเป็นการปกปิดธุรกรรมอันมีสาระสำคัญในการดำเนินงานอาจจะเข้าข่ายหลอกลวง
“ถ้าหน่วยงานรัฐไม่ช่วยยับยั้งการกระทำดังกล่าวโดยเร็ว หากเกิดความเสียหายจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะมีผู้ถือหุ้นรายย่อยใน NUSA เกือบ 1 หมื่นราย ในจำนวนนี้มีผู้ถือหุ้นมากมายที่เข้ามาลงทุนใน NUSA เพราะเชื่อตามที่ฝ่ายบริหารนำเสนอว่า บริษัทจะเข้าสู่ธุรกิจพลังงาน จะมีรายได้ที่มั่นคง นักลงทุนก็คล้อยตาม เพราะช่วงไวรัสโควิด -19 ระบาด ธุรกิจพลังงานแทบไม่ได้รับผลกระทบ จึงพากันเข้ามาลงทุน แต่มาวันนี้กลับมีมติขายธุรกิจพลังงานทิ้งทั้งหมด โดยไม่แจ้งผู้ถือหุ้น แบบนี้เข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุนหรือไม่”
นายเสรี กล่าวว่า นอกจากขายทรัพย์สินออกไปครั้งมโหฬาร กลุ่มนักลงทุนรายย่อยก็ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการขายทรัพย์สินว่าจะเป็นไปอย่างโปร่งใสหรือไม่ เพราะจากเหตุการณ์ที่ผ่านมามักถูกหน่วยงานกำกับดูแลทั้งผู้ตรวจสอบบัญชี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรียกชี้แจงบ่อยครั้ง เช่น กรณีล่าสุดที่ผู้บริหาร NUSA นำโครงการอสังหาฯ ของบริษัท ไปขายให้กับบริษัทที่มีญาติตัวเองเป็นกรรมการกรรมการ ในราคาต่ำกว่าตลาด พอถูก ตลท. เรียกชี้แจง ก็อ้างว่าทำไปเพราะเข้าใจคลาดเคลื่อนโดยสุจริต ทั้งที่เป็นผู้บริหารมานานมาอ้างแบบนี้ฟังขึ้นหรือไม่ขึ้นหรือไม่ จนวันนี้บริษัทก็ยังตอบคำถามได้ไม่ชัดเจนว่าการเข้าซื้อเข้าซื้อธุรกิจโรงแรมธุรกิจโรงแรม Panacee Grand Hotel Roemerbad ในประเทศเยอรมนี จ่ายเงินไปแล้ว 711 ล้านบาท จากทั้งหมด 740 ล้านบาท ผู้รับเงินไม่ใช่เจ้าของโรงแรมมันผิดปกติหรือไม่หรือไม่ ภายหลังมาประกาศเปลี่ยนจากซื้อธุรกิจโรงแรมไปซื้อหุ้นบริษัทที่เป็นเจ้าของโรงแรมแทน ทั้งที่จ่ายเงินไปแล้ว ผลลัพธ์ตอนนี้ NUSA เลยได้หุ้นบริษัทเยอรมันที่มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 407 ล้านบาท คือได้บริษัทที่หนี้ท่วมเข้ามา ส่วนตัวโรงแรมที่ได้มาก็ยังเปิดบริการไม่ได้เลยไม่มีรายได้ เรื่องนี้สร้างความเสียหายแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง”
นายเสรี กล่าวอีกว่า เชื่อว่าการดำเนินธุรกรรมหลายรายการที่ผ่านมาอาจเข้าข่ายไม่โปร่งใส จนถูกเรียกชี้แจงบ่อยครั้ง และเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านั้นอาจอาจมีส่วนทำให้ NUSA ขาดทุนติดต่อกันยาวนานถึง 8 ปี มีขาดทุนสะสมมากกว่า 3 พันล้านบาท สร้างความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นมาโดยตลอด ดังนั้นเพื่อความชอบธรรมกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของ NUSA จะเดินหน้าร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อรักษารักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะผู้ถือหุ้นภายใต้กรอบกฎหมายอย่างถึงที่สุด