จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : “แผงโซลาร์” บูมหนุน Solar โต ความต้องการใช้พุ่ง - ราคาลง
28 ธันวาคม 2566
การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ยังเติบโตได้ดีจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มราคาที่ปรับลดลง ส่งผลดีต่อธุรกิจ บมจ.โซลาร์ตรอน (Solar) ที่พลิกกับมาเติบโตเป็นบวก
SCB EIC วิเคราะห์ความต้องการใช้แผงโซลาร์ทั่วโลกเติบโตได้ดีตามตลาดการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยในปี 67 ขยายตัวราว 24%YOY และขยายตัวได้ต่อเนื่องในระยะกลาง โดยเฉพาะตลาด Self consumption ที่กำลังเพิ่มบทบาทมากขึ้นและขยายตัวได้ดีกว่าตลาดโรงไฟฟ้า
ส่วนแนวโน้มราคาแผงโซลาร์ในปี 67 คาดว่ายังคงลดลงต่อเนื่อง เป็นผลมาจาก
1. ราคา Polysilicon ที่ลดลงจากกำลังการผลิตต้นทุนต่ำที่มีมากขึ้น
2. การแข่งขันที่มากขึ้นจากผู้เล่นรายใหญ่ที่กำลังกินส่วนแบ่งการตลาด
3. การเข้าสู่ช่วงกลางของเทคโนโลยี (ช่วงที่การผลิตขนาดใหญ่ หรือ Mass-production level) ทำให้ต้นทุนต่อ Watt ต่ำลง ในระยะกลาง คาดว่าราคาจะลดลงต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอลง ตามกำลังการผลิตที่เติบโตในอัตราที่ชะลอลง ผนวกกับแนวโน้มนโยบายกีดกันการค้าที่มีมากขึ้น
ความท้าทายของภาพรวมธุรกิจแผงโซลาร์
1.นโยบายกีดกันทางการค้าที่อาจมีมากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ใช้ภาษีนำเข้าเพื่อลดการเข้ามาแข่งขันของแผงโซลาร์นำเข้าจากจีนหรือจากประเทศที่จีนใช้เป็นฐานการผลิต เช่น ไทย และนำมาสู่การลงทุนและการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่มากขึ้น
2.ข้อจำกัดบางประการที่อาจส่งผลให้ตลาดเติบโตได้จำกัด อาทิ Grid bottleneck, การขาดแคลนแรงงานและพื้นที่สำหรับติดตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ราคาที่ดินอยู่ในระดับสูง (เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรป)
3.การแข่งขันที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่อง (ทำให้ผู้ผลิตที่บริหารต้นทุนได้ดีกว่า ผนวกกับการกระจายตัวตลาดผู้ซื้อที่มากกว่าจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้)
ซึ่งแนวโน้มแผงโซลาร์ ที่ปรับตัวดีขึ้น สนับสนุนผลงาน บมจ.โซลาร์ตรอน (Solar) ที่ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ และให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ทั้งในและต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
สะท้อนจากผลการดำเนินงานไตรมาส 3/66 ที่ผ่านมา ที่บริษัทมีกำไรสุทธิ 5.9 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.00 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 51.49 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.05 บาท และยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เน้นการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น
SCB EIC วิเคราะห์ความต้องการใช้แผงโซลาร์ทั่วโลกเติบโตได้ดีตามตลาดการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยในปี 67 ขยายตัวราว 24%YOY และขยายตัวได้ต่อเนื่องในระยะกลาง โดยเฉพาะตลาด Self consumption ที่กำลังเพิ่มบทบาทมากขึ้นและขยายตัวได้ดีกว่าตลาดโรงไฟฟ้า
ส่วนแนวโน้มราคาแผงโซลาร์ในปี 67 คาดว่ายังคงลดลงต่อเนื่อง เป็นผลมาจาก
1. ราคา Polysilicon ที่ลดลงจากกำลังการผลิตต้นทุนต่ำที่มีมากขึ้น
2. การแข่งขันที่มากขึ้นจากผู้เล่นรายใหญ่ที่กำลังกินส่วนแบ่งการตลาด
3. การเข้าสู่ช่วงกลางของเทคโนโลยี (ช่วงที่การผลิตขนาดใหญ่ หรือ Mass-production level) ทำให้ต้นทุนต่อ Watt ต่ำลง ในระยะกลาง คาดว่าราคาจะลดลงต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอลง ตามกำลังการผลิตที่เติบโตในอัตราที่ชะลอลง ผนวกกับแนวโน้มนโยบายกีดกันการค้าที่มีมากขึ้น
ความท้าทายของภาพรวมธุรกิจแผงโซลาร์
1.นโยบายกีดกันทางการค้าที่อาจมีมากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ใช้ภาษีนำเข้าเพื่อลดการเข้ามาแข่งขันของแผงโซลาร์นำเข้าจากจีนหรือจากประเทศที่จีนใช้เป็นฐานการผลิต เช่น ไทย และนำมาสู่การลงทุนและการจ้างงานในสหรัฐฯ ที่มากขึ้น
2.ข้อจำกัดบางประการที่อาจส่งผลให้ตลาดเติบโตได้จำกัด อาทิ Grid bottleneck, การขาดแคลนแรงงานและพื้นที่สำหรับติดตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ราคาที่ดินอยู่ในระดับสูง (เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรป)
3.การแข่งขันที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่อง (ทำให้ผู้ผลิตที่บริหารต้นทุนได้ดีกว่า ผนวกกับการกระจายตัวตลาดผู้ซื้อที่มากกว่าจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้)
ซึ่งแนวโน้มแผงโซลาร์ ที่ปรับตัวดีขึ้น สนับสนุนผลงาน บมจ.โซลาร์ตรอน (Solar) ที่ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ และให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ทุกรูปแบบ ทั้งในและต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
สะท้อนจากผลการดำเนินงานไตรมาส 3/66 ที่ผ่านมา ที่บริษัทมีกำไรสุทธิ 5.9 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.00 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 51.49 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.05 บาท และยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เน้นการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น