จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ยอดผลิตรถยนต์ปีนี้ลุ้นแตะ 1.95 ล้านคัน หนุนผลงาน IHL โต 5-10%
20 กุมภาพันธ์ 2566
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดปี 66 จะมีกำลังการผลิตรถยนต์ 1.95 ล้านคัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.53% จาก 1,883515 คันในปีก่อน โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1.05 ล้านคัน และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9 แสนคัน
โดยการส่งออกรถยนต์ในปีนี้มีปัจจัยบวก จากไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะอาจไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากนัก, จีนเปิดประเทศส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและการส่งออก, ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลง ซึ่งคาดว่าปัญหาจะหมดไปในปี 69, อาจมีการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มผลิตได้ในปลายปีนี้
ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์, การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด, การจัดทำ FTA ยังไม่มีความคืบหน้า, เงินบาทแข็งค่า
ขณะที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย คาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 900,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.0% โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปีนี้ จะยังคงกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด จากทิศทางที่ดีในการลดระดับโควิด-19 สู่โรคติดต่อเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้การดำเนินชีวิตผู้คนเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ พร้อมกับการเปิดประเทศส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่มีส่วนช่วยเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตก็จะค่อยๆ คลี่คลายลงเช่นกัน
โดยมีปัจจัยบวกจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และการส่งออกที่เริ่มเติบโตดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ตลอดจนสถานการณ์ของโควิด-19 ที่มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศของภาครัฐ รวมถึงการทยอยฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจากการเปิดประเทศมีส่วนช่วยให้สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ดียิ่งขึ้น
ขณะที่ยังคงมีปัจจัยด้านลบอื่นๆที่ส่งผลกระทบอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดัคเตอร์ที่ยังคงยืดเยื้อส่งผลกระทบกับภาคการผลิตในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงปัจจัยอื่นๆ จากสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวม อาทิ ปัญหาด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศจากต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรืออยู่ในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
ส่วนเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ความผันผวนของสถานการณ์การเงินโลก ราคาพลังงานและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและการส่งออก รวมถึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทย แต่ในภาพรวมแล้วยังถือว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
สถานการณ์การผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลดีต่อธุรกิจหลักของ บมจ.อินเตอร์ไฮด์ (IHL) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายหนังสำหรับเบาะรถยนต์ หนังหุ้มเบาะรถยนต์ หัวเกียร์ และพวงมาลัยรถยนต์ ชิ้นงานหนังตัดขึ้นรูป เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า โดยใช้หนังโค กระบือและสุกรโดยผ่านกรรมวิธีการฟอกย้อมและนำมาตัดหรือเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่องมือเครื่องจักรอันทันสมัย รวมถึงการนำวัตถุคงเหลือมารีไซเคลเป็นโปรตีนเพื่ออุตสาหกรรมและการเกษตร
ซึ่งนายองอาจ ดำรงสกุลวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร IHL เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4/2565 คาดว่าจะเติบโตได้ดีขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์กลับมาฟื้นตัว
ส่วนปี 2566 ผู้บริหาร IHL ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 เติบโต 5-10% และเตรียมรับลูกค้าใหม่เบาะหนังเพิ่มปีนี้ 1 ราย จากปัจจุบันมีลูกค้ารายใหญ่ 3 ราย
โดยการส่งออกรถยนต์ในปีนี้มีปัจจัยบวก จากไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะอาจไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากนัก, จีนเปิดประเทศส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวและการส่งออก, ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลง ซึ่งคาดว่าปัญหาจะหมดไปในปี 69, อาจมีการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มผลิตได้ในปลายปีนี้
ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์, การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด, การจัดทำ FTA ยังไม่มีความคืบหน้า, เงินบาทแข็งค่า
ขณะที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย คาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 900,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.0% โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปีนี้ จะยังคงกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด จากทิศทางที่ดีในการลดระดับโควิด-19 สู่โรคติดต่อเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้การดำเนินชีวิตผู้คนเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ พร้อมกับการเปิดประเทศส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่มีส่วนช่วยเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตก็จะค่อยๆ คลี่คลายลงเช่นกัน
โดยมีปัจจัยบวกจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และการส่งออกที่เริ่มเติบโตดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ตลอดจนสถานการณ์ของโควิด-19 ที่มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศของภาครัฐ รวมถึงการทยอยฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจากการเปิดประเทศมีส่วนช่วยให้สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ดียิ่งขึ้น
ขณะที่ยังคงมีปัจจัยด้านลบอื่นๆที่ส่งผลกระทบอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดัคเตอร์ที่ยังคงยืดเยื้อส่งผลกระทบกับภาคการผลิตในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงปัจจัยอื่นๆ จากสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวม อาทิ ปัญหาด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศจากต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรืออยู่ในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
ส่วนเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ความผันผวนของสถานการณ์การเงินโลก ราคาพลังงานและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและการส่งออก รวมถึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทย แต่ในภาพรวมแล้วยังถือว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
สถานการณ์การผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลดีต่อธุรกิจหลักของ บมจ.อินเตอร์ไฮด์ (IHL) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายหนังสำหรับเบาะรถยนต์ หนังหุ้มเบาะรถยนต์ หัวเกียร์ และพวงมาลัยรถยนต์ ชิ้นงานหนังตัดขึ้นรูป เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า โดยใช้หนังโค กระบือและสุกรโดยผ่านกรรมวิธีการฟอกย้อมและนำมาตัดหรือเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่องมือเครื่องจักรอันทันสมัย รวมถึงการนำวัตถุคงเหลือมารีไซเคลเป็นโปรตีนเพื่ออุตสาหกรรมและการเกษตร
ซึ่งนายองอาจ ดำรงสกุลวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร IHL เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4/2565 คาดว่าจะเติบโตได้ดีขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์กลับมาฟื้นตัว
ส่วนปี 2566 ผู้บริหาร IHL ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 เติบโต 5-10% และเตรียมรับลูกค้าใหม่เบาะหนังเพิ่มปีนี้ 1 ราย จากปัจจุบันมีลูกค้ารายใหญ่ 3 ราย