Smart Investment

"นิติ โอสถานุเคราะห์" โผล่ถือหุ้น IRC


10 มกราคม 2567

ภาพรวมตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่2 ของปี2567 ดัชนีหุ้นกระเตื้องมาได้เล็กน้อยราว 0.86% ขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลในช่วงนี้น่าจะเป็นเรื่องของการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย สำหรับ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยยังมีประเด็น Overhang กดดัน Fund Flow ชะลอ ช่วงนี้ เปิดปีใหม่ 2567 มา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ดีในสัปดาห์แรกของปี แต่เริ่มย่อตัวใน สัปดาห์นี้ พร้อมกับ Fund Flow ที่เริ่มกลับมาไหลออก โดยต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย - 3.3 พันล้านบาท (ytd)

 smart investment ส่องพอร์ตหุ้น นิติ โอสถานุเคราะห์ มู.jpg

ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดหุ้นที่ถูกขายสูงสุดในภูมิภาคในปีนี้ (ytd) -96.2 ล้าน เหรียญ ตามมาด้วยเวียดนาม -22 ล้านเหรียญ สวนทางกับประเทศส่วนใหญ่ที่ถูกซื้อ สุทธิ อาทิ ตลาดหุ้นอินเดีย +567 ล้านเหรียญ, เกาหลีใต้ +484 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย +259 ล้านเหรียญ, มาเลเซีย +120 ล้านเหรียญ, ไต้หวัน +46 ล้านเหรียญ , ฟิลิปปินส์ 44 ล้านเหรียญ

ประเด็นที่กดดันตลาดหุ้นไทยให้เกิด Overhang ในช่วงนี้ ความกังวลเรื่องผิดนัดชำระ หนี้ของบริษัท และเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ยังขาดความชัดเจน โดยฝ่าย วิจัยทำการค้นหาข้อมูลมูลค่าหุ้นกู้ในระบบอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านบาท (จำนวน 2015 Issues) โดยเป็นหุ้นกู้ที่ครบกำหนดอายุในปีนี้ 8.8 แสนล้านบาท (จำนวน 551 Issues , 193 บริษัท)รายละเอียดอื่นๆ จะนำเสนอต่อในระยะถัดไป

นอกจากนี้ยังมีประเด็นรอความชัดเจนจากโครงการกระเป๋าตังค์ดิจิตอล รวมถึง ความต่อเนื่องของนโยบายการลดค่าไฟฟ้าจะเป็นอย่างไร กลยุทธ์แนะนำมีหุ้นสถานะ การเงินแข็งแกร่งปันผลสูงติดพอร์ตในช่วงนี้ SCCC มี Dividend Yield 5.8% AP 5.8%, INTUCH 6.3%, MAJOR 5.1%, TISCO 8.0%

ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในส่วนการลงทุนของ "นิติ โอสถานุเคราะห์" นักลงทุนรายใหญ่ ทายาทอาณาจักรโอสถสภา ซึ่งได้ขึ้นแท่นฐานะเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 2 ในปี 2566 โดยล่าสุดมีการถือครองหุ้น จำนวน 9 บริษัท มีมูลค่าการถือครองรวม 57,989 ล้านบาทเทียบกับ มูลค่าการถือครองหุ้นช่วงต้นปี 2566 อยู่ที่ 68,038 ล้านบาท ประกอบด้วย

 

หุ้น

จำนวน(หุ้น)

%การถือหุ้น

BKI

2,224,362

2.09

CENTEL

41,314,611

3.06

CPALL

138,986,600

1.55

CPN

83,234,500

1.85

HMPRO

665,764,862

5.06

IRC

2,838,000

1.48

MINT

537,090,652

9.6

OSP

723,097,300

24.07

WHA

436,438,690

2.92

 

จากข้อมูลในตาราง พบว่า  "นิติ โอสถานุเคราะห์"ได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นIRC หรือ บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยถือหุ้นจำนวน 2,838,000 หุ้น คิดเป็น1.48% หากนำไปเปรียบเทียบกับการปิดสมุดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นในครั้งก่อนไม่ปรากฎการถือหุ้นในรายชื่อ 10 อันดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทดังกล่าว

สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นIRC ณ วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ดังนี้

 

ผู้ถือหุ้น

จำนวนหุ้น (หุ้น)

%หุ้น

บริษัท อีโนเว รับเบอร์ จำกัด

68,600,000

35.69

บริษัท โสภากนกอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

50,666,000

26.36

นาย วิชรัตน์ ชวาลอัมพร

8,149,999

4.24

นาง พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล

5,568,575

2.9

นาง พรทิพย์ เศรษฐีวรรณ

4,884,875

2.54

นาย อภิชาต ลี้อิสสระนุกูล

4,697,700

2.44

นาย ทนง ลี้อิสสระนุกูล

4,370,500

2.27

นาง พรดี ลี้อิสสระนุกูล

3,200,000

1.66

นาย วิริยะ ตรังอดิศัยกุล

3,091,200

1.61

นาย นิติ โอสถานุเคราะห์

2,838,000

1.48

 

ส่วนการเคลื่อนไหวราคาหุ้นIRC ในช่วงตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ถึง 5 ม.ค. 2567 ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.22% จากราคา 13.40 บาท เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่14.10 บาท และเป็นราคาสูงสุด ดังนั้นน่าจะสะท้อนให้เห็นว่า บุคคลดังกล่าวจะมีมูลค่าการถือครองเพิ่มขึ้นในทันที

อนึ่ง บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอีลาสโตเมอร์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ และธุรกิจด้านการผลิตยางนอก-ยางในของรถจักรยานยนต์ที่มีคุณภาพสูงมาตรฐานโลก

ที่ผ่านมาได้มีการเซ็นMOU ร่วมลงนามกับ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)ในโครงการการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในกระบวนการกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

"พิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกู" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ IRC กล่าวว่า วิสัยทัศน์และแนวทางการปฏิบัติงานของ IRC คือการเป็นองค์กรที่บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนและสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจภายในปี 2050 ซึ่งที่ผ่านมาทางบริษัทได้มีนโยบายลดโลกร้อนด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการทำกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน รวมถึงการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเริ่มดำเนินการทำเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรทั้ง Scope I และ Scope II ตั้งแต่ปี 2022-2024 สำหรับ Scope III เป็นเรื่องเกี่ยวกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ หรือเน้นทำกับ Supply Chain เช่น วัตถุดิบตั้งต้นที่ซื้อมา การขนส่งจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเดินทางของลูกค้าและผู้มาติดต่อ เป็นต้น ความร่วมมือระหว่าง IRC กับ DPU ครั้งนี้ จะมีการศึกษาเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คาร์บอนเครดิตพร้อมทำการประเมิน Scope III ร่วมกัน เพื่อให้เข้าใกล้เป้าหมายสู่การเป็น Net Zero

IRC