Talk of The Town

ออมสินนําร่องลดดอกเบี้ย กดดันแบงก์อื่นให้ลดตาม


12 มกราคม 2567
บทวิเคราะห์จาก บล.เคจีไอ ระบุว่า GSB หรือธนาคารออมสิน ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สําหรับลูกค้ารายย่อย MRR ลง 15 bps เหลือ 6.845% โดย GSB เป็นธนาคาร แรกท่ีนําร่องลดดอกเบี้ย MRR ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงของสินเชื่อผู้บริโภครายย่อย โดยเฉพาะ สินเช่ือที่อยู่อาศัย ท้ังน้ี ก่อนท่ีจะลด MRR ลง 15 bps อัตราดอกเบี้ย MRR ของ GSB ก็ต่ำที่สุดในระดับอยู่ แล้ว โดยอยู่ท่ี 6.99% (MRR เฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่อยู่ท่ี 7.3%) นอกจากน้ี การลดดอกเบี้ยรอบนี้อาจจะ ทําให้ ธปท. ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงบ้าง ท้ังน้ี ถ้าหากธนาคาร พาณิชย์อื่น ๆ ยังยืนยันท่ีจะคงอัตราดอกเบี้ย MRR เอาไว้เท่าเดิม หากมองในมุมของธนาคารรัฐ ก็อาจจะ ทําให้ KTB ถูกกดดันมากท่ีสุด

ออมสินนําร่องลดดอกเบี้ย.jpg

น่าจะเห็นการลดดอกเบี้ยสินเชื่อบางประเภทเร็วขึ้น
นับต้ังแต่ทิศทางดอกเบี้ยขาข้ึนในกลางปี 2565 มีการปรับข้ึนอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 2% (จาก 0.5% เป็น 2.5%) ส่งผลให้ธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MOR +1.7%, MLR +1.8% และ MRR +1.35% ใน ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า โดยอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เพิ่มข้ึนเพียง +5-10bps, อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจําสามเดือน +0.75% และ เงินฝากประจํา 12 เดือน +1.25% ทั้งน้ี เนื่องจากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากน้อยมาก ทําให้ NIM ของธนาคารเพิ่มขึ้น 50bps ตลอดช่วง ดอกเบี้ยขาขึ้น หรือ +90bps ถ้าตัดต้นทุนการประกันเงินฝากออกไป ทั้งน้ี MRR ท่ีต่างกันมากขึ้นระหว่าง ของธนาคารพาณิชย์ (7.3%) และธนาคารรัฐท่ี 6.845% ทําให้เกิดมีแรงกดดันให้ธนาคารลดดอกเบี้ย

ธนาคารที่มีการปล่อยกู้สินเชื่อจดจํานองสูงจะถูกกดดันมากกว่า
เนื่องจาก MRR เป็นดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงสําหรับสินเชื่อจดจํานอง และ SME ขนาดกลาง เราจึงคิดว่า ประเด็นน้ีจะกดดัน SCB, KBANK, TTB และ KTB (figure xx) ท้ังนี้ เมื่อใชส้ มมติฐานว่ามีการลด MRR ลง10bps จะกระทบกับสินเช่ือจดจํานองท้ังหมด และ กระทบกับสินเชื่อ SME 50% ของพอร์ต ซึ่งจะกระทบกับกําไรของ SCB และ TTB 1.7% ในขณะท่ีกระทบกับกําไรของ KBANK 1.6% และของ KTB 1.2%

Risks
NPLs เพิ่มข้ึน และต้ังสํารองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง.