จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : เศรษฐกิจดิจิทัลดันยอดใช้อินเตอร์เน็ต กระตุ้นผลงาน INET
12 มกราคม 2567
เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตอย่างก้าวกระโดด คาดปี 2573 ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มเป็นมากกว่า 8 พันล้านราย คิดเป็น 90% ของประชากรโลก หนุนผลงาน บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) เติบโตต่อเนื่อง
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การเงินและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจดิจิทัลปี 2567 หรือ ค.ศ.2024 จะก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดด้วยการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี Generative AI หรือ "เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์" สามารถทำงานสร้างสรรค์ได้ด้วยการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดย AI
การแข่งขันกันนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Generative AI ในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ของบริษัทไฮเทคจะพลิกผัน หรือ Disrupt ธุรกิจอุตสาหกรรมเดิม ให้พลิกโฉมไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะจะมีทางเลือกใหม่ สินค้าใหม่ บริการใหม่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย บางกิจการจะถูกเข้ามาแทนที่ ถดถอย และหายไปจากตลาด บางกิจการจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดพร้อมผลิตภาพและกำไรสูงขึ้น
นอกจากนี้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งเป็นแหล่งรวมงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ หากควอนตัมคอมพิวติ้ง (Quantum Computing) สามารถนำมาใช้ในอนาคตอันใกล้ จะทำให้การประมวลผลรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพขึ้นไปอีก ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้านี้ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนอีกมากมาย
ภายในปี 2573 ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มเป็นมากกว่า 8 พันล้านราย คิดเป็น 90% ของประชากรโลก ในปัจจุบันนี้มีประชาชนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ประมาณ 5 พันกว่าล้านราย ทำให้ช่องว่างดิจิทัลยังมีอยู่มาก อุปสรรคสำคัญ คือ การเข้าถึงได้ในราคาถูก และง่ายต่อการใช้งาน ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงดิจิทัล จะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในระบบทุนนิยมโลกเพิ่มขึ้นอีก
และเมื่อโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้การผลิตด้วยระบบอัตโนมัติและการทำงานจากการควบคุมทางไกล ส่งผลต่อระบบการบริหารงานคลังสินค้าครบวงจรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อเกิดขึ้นแบบไร้รอยต่อ
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมุ่งวางรากฐานอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ประเทศ รองรับการเติบโตของเทคโนโลยีในอนาคต โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่นวัตกรรมสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้จัดทำโครงการ d-startup ระยะเริ่มต้น (Early Stage) S2 "พาธุรกิจไทย เติบโตไกลสู่ระดับโลก" ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เปิดรับสมัครบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล พร้อมผลักดัน Digital Startup ของไทยให้มีศักยภาพการเติบโตเชิงธุรกิจ ครอบคลุมสายงานต่าง ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 8 สาขา ได้แก่ บริการภาครัฐ สุขภาพ ท่องเที่ยว การเกษตร การศึกษา การบริการ การเงิน และ เมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
ที่ผ่านมา ดีป้าส่งเสริมธุรกิจ Digital Startup ของไทยแล้วจำนวน 160 ธุรกิจ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 15,000 ล้านบาท โดยในปี 2567 นี้ โครงการดังกล่าวดำเนินการภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลสู่ตลาดเชิงพาณิชย์
และยังสนับสนุนผลงานของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. บริการ Cloud Solutions 2. บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access ) 3. บริการ Co-Location
ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากไตรมาส 3/66 ที่บริษัทมีกำไรสุทธิ 58.35 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.12 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 42.09 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การเงินและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจดิจิทัลปี 2567 หรือ ค.ศ.2024 จะก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดด้วยการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี Generative AI หรือ "เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์" สามารถทำงานสร้างสรรค์ได้ด้วยการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดย AI
การแข่งขันกันนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Generative AI ในธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ของบริษัทไฮเทคจะพลิกผัน หรือ Disrupt ธุรกิจอุตสาหกรรมเดิม ให้พลิกโฉมไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะจะมีทางเลือกใหม่ สินค้าใหม่ บริการใหม่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย บางกิจการจะถูกเข้ามาแทนที่ ถดถอย และหายไปจากตลาด บางกิจการจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดพร้อมผลิตภาพและกำไรสูงขึ้น
นอกจากนี้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งเป็นแหล่งรวมงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ หากควอนตัมคอมพิวติ้ง (Quantum Computing) สามารถนำมาใช้ในอนาคตอันใกล้ จะทำให้การประมวลผลรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพขึ้นไปอีก ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้านี้ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนอีกมากมาย
ภายในปี 2573 ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มเป็นมากกว่า 8 พันล้านราย คิดเป็น 90% ของประชากรโลก ในปัจจุบันนี้มีประชาชนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ประมาณ 5 พันกว่าล้านราย ทำให้ช่องว่างดิจิทัลยังมีอยู่มาก อุปสรรคสำคัญ คือ การเข้าถึงได้ในราคาถูก และง่ายต่อการใช้งาน ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงดิจิทัล จะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในระบบทุนนิยมโลกเพิ่มขึ้นอีก
และเมื่อโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้ถูกพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้การผลิตด้วยระบบอัตโนมัติและการทำงานจากการควบคุมทางไกล ส่งผลต่อระบบการบริหารงานคลังสินค้าครบวงจรระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อเกิดขึ้นแบบไร้รอยต่อ
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมุ่งวางรากฐานอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ประเทศ รองรับการเติบโตของเทคโนโลยีในอนาคต โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่นวัตกรรมสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้จัดทำโครงการ d-startup ระยะเริ่มต้น (Early Stage) S2 "พาธุรกิจไทย เติบโตไกลสู่ระดับโลก" ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เปิดรับสมัครบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล พร้อมผลักดัน Digital Startup ของไทยให้มีศักยภาพการเติบโตเชิงธุรกิจ ครอบคลุมสายงานต่าง ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 8 สาขา ได้แก่ บริการภาครัฐ สุขภาพ ท่องเที่ยว การเกษตร การศึกษา การบริการ การเงิน และ เมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
ที่ผ่านมา ดีป้าส่งเสริมธุรกิจ Digital Startup ของไทยแล้วจำนวน 160 ธุรกิจ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 15,000 ล้านบาท โดยในปี 2567 นี้ โครงการดังกล่าวดำเนินการภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลสู่ตลาดเชิงพาณิชย์
และยังสนับสนุนผลงานของ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจร แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. บริการ Cloud Solutions 2. บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Access ) 3. บริการ Co-Location
ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากไตรมาส 3/66 ที่บริษัทมีกำไรสุทธิ 58.35 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.12 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 42.09 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท