บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (“ปตท.”) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เรื่องมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ ปตท. ประกอบด้วย (1) การปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ (2) การส่งผ่านราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย กรณีผู้ผลิตไม่ สามารถส่งมอบก๊าซฯ ได้ตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขายก๊าซฯ (“Shortfall”)
โดยการปรับโครงสร้างราคาก๊าซฯ ตามมาตรการข้างต้นส่งผลให้ต้นทุนของโรงแยกก๊าซฯ เปลี่ยนแปลงจาก ก๊าซฯ ในอ่าวไทยเป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยก๊าซฯ จากทุกแหล่ง ได้แก่ อ่าวไทย พม่า และก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas: LNG) (“Pool Gas”) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่จะปรับสูงขึ้น ยกเว้นก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในประเทศ ทั้งนี้มาตรการข้างต้น เป็นมาตรการระยะสั้นจนกว่าจะมีการ กำหนดโครงสร้างราคาก๊าซฯ อย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (“กกพ.”) แล้วเสร็จ โดยจากการประมาณการผลกระทบเบื้องต้นในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2567 จะทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมของ ธุรกิจก๊าซฯ ของ ปตท. ปรับตัวลดลงประมาณ 6,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปตท. ได้วางแผนเพื่อหามาตรการในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การปรับแผนการเดินเครื่องของ โรงแยกก๊าซฯ (Optimization) การเสนอแนวทางการจัดหา LNG เพื่อให้บรรลุเป้าหมายกรอบราคาค่าไฟฟ้าตามนโยบายภาครัฐ รวมถึง ปตท. จะหารือกับกระทรวงพลังงานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซฯ ในภาพรวมทุกด้าน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน
ในส่วนของ Shortfall ซึ่ง กกพ. ได้มีคำสั่งว่า ปตท. คำนวณราคา Pool Gas ไม่ถูกต้อง และให้ ปตท. นำ Shortfall ช่วงเดือนตุลาคม 2563 - ธันวาคม 2565 มูลค่ารวมประมาณ 4,300 ล้านบาท มาคำนวณในราคา Pool Gas นั้น ปตท. เชื่อว่า ปตท. ได้คำนวณราคา Pool Gas ถูกต้องและเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (“กพช.”) และประกาศ กกพ. ที่เกี่ยวของ รวมทั้งถูกต้องตามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ มาโดยตลอด ปตท. จึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อ กกพ. ต่อมาปรากฏว่า กกพ. ได้มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของ ปตท. โดยให้ ปตท. ปฏิบัติตามคำสั่งทันที และหาก ปตท. ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของ กกพ. ปตท. มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง หรือยื่นเรื่องต่อ สำนักงานอัยการสูงสุดตามระเบียบสำนกนายกรัฐมนตรีว่าดัวยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงาน ของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. 2561 ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ กกพ.
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งของ กกพ. คณะกรรมการ ปตท. ในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 จึงได้มีมติอนุมัติให้ ปตท. ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ กกพ. โดย ปตท. จะพิจารณาแนวทางดำเนินการหรือการใช้สิทธิตามกฎหมายที่จำเป็นและสมควรต่อไป
โดยการปรับโครงสร้างราคาก๊าซฯ ตามมาตรการข้างต้นส่งผลให้ต้นทุนของโรงแยกก๊าซฯ เปลี่ยนแปลงจาก ก๊าซฯ ในอ่าวไทยเป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยก๊าซฯ จากทุกแหล่ง ได้แก่ อ่าวไทย พม่า และก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas: LNG) (“Pool Gas”) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่จะปรับสูงขึ้น ยกเว้นก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในประเทศ ทั้งนี้มาตรการข้างต้น เป็นมาตรการระยะสั้นจนกว่าจะมีการ กำหนดโครงสร้างราคาก๊าซฯ อย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (“กกพ.”) แล้วเสร็จ โดยจากการประมาณการผลกระทบเบื้องต้นในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2567 จะทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมของ ธุรกิจก๊าซฯ ของ ปตท. ปรับตัวลดลงประมาณ 6,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปตท. ได้วางแผนเพื่อหามาตรการในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การปรับแผนการเดินเครื่องของ โรงแยกก๊าซฯ (Optimization) การเสนอแนวทางการจัดหา LNG เพื่อให้บรรลุเป้าหมายกรอบราคาค่าไฟฟ้าตามนโยบายภาครัฐ รวมถึง ปตท. จะหารือกับกระทรวงพลังงานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซฯ ในภาพรวมทุกด้าน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน
ในส่วนของ Shortfall ซึ่ง กกพ. ได้มีคำสั่งว่า ปตท. คำนวณราคา Pool Gas ไม่ถูกต้อง และให้ ปตท. นำ Shortfall ช่วงเดือนตุลาคม 2563 - ธันวาคม 2565 มูลค่ารวมประมาณ 4,300 ล้านบาท มาคำนวณในราคา Pool Gas นั้น ปตท. เชื่อว่า ปตท. ได้คำนวณราคา Pool Gas ถูกต้องและเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (“กพช.”) และประกาศ กกพ. ที่เกี่ยวของ รวมทั้งถูกต้องตามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ มาโดยตลอด ปตท. จึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อ กกพ. ต่อมาปรากฏว่า กกพ. ได้มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของ ปตท. โดยให้ ปตท. ปฏิบัติตามคำสั่งทันที และหาก ปตท. ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของ กกพ. ปตท. มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง หรือยื่นเรื่องต่อ สำนักงานอัยการสูงสุดตามระเบียบสำนกนายกรัฐมนตรีว่าดัวยการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงาน ของรัฐและการดำเนินคดี พ.ศ. 2561 ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ กกพ.
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งของ กกพ. คณะกรรมการ ปตท. ในการประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 จึงได้มีมติอนุมัติให้ ปตท. ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ กกพ. โดย ปตท. จะพิจารณาแนวทางดำเนินการหรือการใช้สิทธิตามกฎหมายที่จำเป็นและสมควรต่อไป