นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เปิดเผยว่า ในปี 2565 CKPower มีผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องในทุกมิติของการดำเนินงาน ทั้งในด้านรายได้ กำไร สินทรัพย์ และส่วนแบ่งผลกำไรจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ หนี้สินของบริษัทฯ ลดลงตามแนวทางการบริหารจัดการทางการเงิน โดยในปีที่ผ่านมา มีรายได้รวม 11,418.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้ 9,334.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2,083.6 ล้านบาท คิดเป็น 22.3% เป็นรายได้สูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯและเป็นครั้งแรกที่มีรายได้รวมเกิน 10,000 ล้านบาท
ส่วนกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของ CKPower ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยในปี 2565 บริษัท มีกำไร 2,436.2 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิที่สูงที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไร 2,179.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 257.2 ล้านบาท คิดเป็น 11.8% ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 39.3% จากปีก่อน เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี (XPCL) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ยมากกว่าปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และผลประกอบการของ XPCL ในภาพรวมเติบโตกว่าปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับฐานะทางการเงินของ CKPower ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯ มีสินทรัพย์ 69,846.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.3% ขณะเดียวกัน มีหนี้สินรวม 31,906.6 ล้านบาท ลดลง 2.9% จากการทยอยชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระ ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม (Net Interest-bearing Debt to Equity Ratio) ปรับตัวลดลงจากปีก่อน โดย ณ สิ้นปี 2565 อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ 0.59 เท่า
นายธนวัฒน์ กล่าวว่า “CKPower มีผลประกอบการที่ดี แม้จะต้องเผชิญสถานการณ์ค่าพลังงานที่สูงตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก ทั้งนี้เป็นผลมาจากกลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งลดการพึ่งพิงเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีราคาผันผวน เราตั้งเป้าที่จะเข้าไปขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ในภูมิภาค ซึ่งทุกโครงการจะใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด โดยจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดจากเดิม 89% เป็น 95% ภายในปี 2567 นอกจากนี้ แม้ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ CKPower ในปี 2566 แต่ทั้งนี้ หนี้สินระยะยาวตามงบการเงินรวมของ CKPower ร้อยละ 83 เป็นหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และในส่วนของบริษัทร่วม XPCL ก็มีนโยบายบริหารความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยผ่านการทำ Interest Rate Swap และการออกหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ โดยมีการติดตามการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยและบริหารจัดการหนี้สินระยะยาวให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง”
ในปี 2565 CKPower มีอันดับเครดิตองค์กร (ทริสเรตติ้ง) ที่ “A” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” และ ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น ‘หุ้นยั่งยืน’ ประจำปี 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และได้รับรางวัล Rising Star Sustainability Awards จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้รับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ (CG Score) ในระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย รวมถึง ได้รับรางวัล ASEAN CG Scorecard (ACGS) ประจำปี 2564 ประเภท ASEAN Asset Class จาก ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)
“จากความสำเร็จของ CKPower ในด้านผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องอย่างมั่นคงและยั่งยืนในฐานะผู้พัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพิสูจน์แล้วจากรางวัลที่บริษัทได้รับจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทยังคงยืนหยัดที่จะสร้างความมั่นคงในธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป เพื่อก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค” นายธนวัฒน์กล่าว
CKPower มุ่งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG emissions) ภายในปี 2593 และในปี 2565 โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในเครือของ CKPower ผลิตไฟฟ้าสะอาดได้ถึง 9,921 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ซึ่งเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ส่วนกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของ CKPower ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยในปี 2565 บริษัท มีกำไร 2,436.2 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิที่สูงที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไร 2,179.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 257.2 ล้านบาท คิดเป็น 11.8% ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 39.3% จากปีก่อน เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี (XPCL) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ยมากกว่าปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และผลประกอบการของ XPCL ในภาพรวมเติบโตกว่าปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับฐานะทางการเงินของ CKPower ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯ มีสินทรัพย์ 69,846.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.3% ขณะเดียวกัน มีหนี้สินรวม 31,906.6 ล้านบาท ลดลง 2.9% จากการทยอยชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระ ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม (Net Interest-bearing Debt to Equity Ratio) ปรับตัวลดลงจากปีก่อน โดย ณ สิ้นปี 2565 อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ 0.59 เท่า
นายธนวัฒน์ กล่าวว่า “CKPower มีผลประกอบการที่ดี แม้จะต้องเผชิญสถานการณ์ค่าพลังงานที่สูงตามสถานการณ์พลังงานในตลาดโลก ทั้งนี้เป็นผลมาจากกลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งลดการพึ่งพิงเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีราคาผันผวน เราตั้งเป้าที่จะเข้าไปขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ในภูมิภาค ซึ่งทุกโครงการจะใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด โดยจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดจากเดิม 89% เป็น 95% ภายในปี 2567 นอกจากนี้ แม้ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ CKPower ในปี 2566 แต่ทั้งนี้ หนี้สินระยะยาวตามงบการเงินรวมของ CKPower ร้อยละ 83 เป็นหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ และในส่วนของบริษัทร่วม XPCL ก็มีนโยบายบริหารความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยผ่านการทำ Interest Rate Swap และการออกหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ โดยมีการติดตามการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยและบริหารจัดการหนี้สินระยะยาวให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง”
ในปี 2565 CKPower มีอันดับเครดิตองค์กร (ทริสเรตติ้ง) ที่ “A” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” และ ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น ‘หุ้นยั่งยืน’ ประจำปี 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และได้รับรางวัล Rising Star Sustainability Awards จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้รับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ (CG Score) ในระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย รวมถึง ได้รับรางวัล ASEAN CG Scorecard (ACGS) ประจำปี 2564 ประเภท ASEAN Asset Class จาก ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)
“จากความสำเร็จของ CKPower ในด้านผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องอย่างมั่นคงและยั่งยืนในฐานะผู้พัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพิสูจน์แล้วจากรางวัลที่บริษัทได้รับจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทยังคงยืนหยัดที่จะสร้างความมั่นคงในธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป เพื่อก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค” นายธนวัฒน์กล่าว
CKPower มุ่งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG emissions) ภายในปี 2593 และในปี 2565 โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในเครือของ CKPower ผลิตไฟฟ้าสะอาดได้ถึง 9,921 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ซึ่งเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี