จิปาถะ

IMF คาด ปัญญาประดิษฐ์จะส่งผลกระทบต่องานทั่วโลกเกือบ 40%


15 มกราคม 2567
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เปิดเผยผลการวิเคราะห์ฉบับใหม่เกี่ยวกับภัยคุกคามของปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ต่อตลาดแรงงาน โดยคาดว่า การเข้ามาของเอไอจะส่งผลกระทบต่องานทั่วโลกเกือบ 40%

IMF คาด.jpg

คริสตาลีนา จอร์จีว กรรมการผู้จัดการ IMF กล่าวว่า “ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ เอไอมีแนวโน้มที่จะทำให้ความไม่เท่าเทียมกันโดยรวมแย่ลง ... ผู้กำหนดนโยบายควรจัดการกับแนวโน้มที่น่าหนักใจนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่มความตึงเครียดทางสังคม”

“ยูทูบ” ซุ่มพัฒนาเอไอ ช่วยให้ครีเอเตอร์ร้องเพลงเสียงเหมือนศิลปินดัง

นักวิจัยไทยแนะ พัฒนา “เอไอ” เพื่อยกระดับมนุษย์ ไม่ใช่เหนือกว่าและละทิ้งมนุษย์

ครั้งแรก! หุ่นยนต์เอไอร่วมแถลงข่าว ยันไม่คิดก่อกบฏ-แย่งงานมนุษย์

ทั้งนี้ คำว่า “ส่งผลกระทบ” ไม่ได้หมายความว่าเอไอจะเข้ามาแทนทีมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่อาจหมายความรวมถึงการเพิ่มอาจเป็นตัวช่วยประสิทธิภาพการทำงานจากปกติ หรืออาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงานก็ได้

IMF กล่าวว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เอไออาจจะส่งผลกระทบต่องานถึง 60% แต่ครึ่งหนึ่งของกรณีเหล่านี้ คาดว่าจะเป็นผลกระทยในแง่ที่พนักงานได้รับประโยชน์จากการบูรณาการนำเอไอมาใช้ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขา

แต่ในกรณีที่เหลือ คาดว่าเอไอจะมีความสามารถในการทำงานสำคัญที่มนุษย์ทำอยู่ในปัจจุบันได้ ซึ่งอาจทำให้ความต้องการแรงงานลดลง ส่งผลกระทบต่อค่าจ้าง และแม้กระทั่งอาจเกิดการเลิกจ้างงาน

ในขณะเดียวกัน IMF คาดการณ์ว่าเทคโนโลยีเอไอนี้จะส่งผลกระทบต่องานในประเทศที่มีรายได้น้อยเพียง 26% เท่านั้น

จอร์จีวากล่าวว่า “หลายประเทศเหล่านี้ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือแรงงานที่มีทักษะในการใช้ประโยชน์จากเอไอ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงเมื่อเวลาผ่านไป โดยเทคโนโลยีอาจทำให้ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศแย่ลง”

IMF เชื่อว่า โดยทั่วไปแล้ว คนงานที่มีรายได้สูงและอายุน้อยกว่าอาจพบว่าค่าจ้างของพวกเขาเพิ่มขึ้นอย่างไม่สมส่วนหลังจากนำเอไอมาใช้ ส่วนผู้มีรายได้น้อยและแรงงานสูงอายุอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

“เป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่ครอบคลุม และเสนอโครงการฝึกอบรมใหม่สำหรับคนงานที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง (รายได้น้อย สูงอายุ)” จอร์จีวากล่าว

เธอเสริมว่า “ในการทำเช่นนั้น เราจะทำให้การเปลี่ยนแปลงของเอไอมีความครอบคลุมมากขึ้น ปกป้องวิถีการดำรงชีวิตและควบคุมระดับความไม่เท่าเทียมกัน”

ที่มา : https://www.pptvhd36.com/cover/bnh-th-2
IMF