จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : “ลดค่าธรรมเนียม-ดอกเบี้ยทรงตัว” หนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้น
16 มกราคม 2567
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา หลังรัฐบาลออกมาตรการลดภาระต้นทุนการโอน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวและมีโอกาสที่จะปรับลดลง ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและตลาดอสังหาริมทรัพย์
โดยในส่วนของมาตรการจากภาครัฐ กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์
ได้แก่ การลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ และห้องชุด (ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2) เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
ขณะเดียวกันต้นทุนจากดอกเบี้ยที่เคยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่หลังการระบาดของโควิด 19 ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นมิตรกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยวิจัยกรุงศรี คาดว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2567 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงไว้ที่ 2.50% ตลอดทั้งปี 2567 เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้อยู่ภายในกรอบเป้าหมาย และเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวกลับเข้าสู่แนวโน้มระยะยาว ขณะเดียวกัน ยังเป็นการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (Policy space) เพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีอยู่มากในอนาคต
แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะมีแนวโน้มปรับดีขึ้น แต่อัตราการเติบโตยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า GDP ของกลุ่มประเทศอาเซียน-5 จะเติบโตที่ 4.5% ในปี 2567 เร่งขึ้นเล็กน้อยจาก 4.2% ในปี 2566
แต่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยก็มีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ตามแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์” มีมุมมองว่า การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ผ่านมาเร็วและแรงเกินไป จนกระทบต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และยอมรับว่า เป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงที่เงินเฟ้อติดลบ อาจสะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ซึ่งจากปัจจัยบวกที่เกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งบมจ.ริชี่ เพลซ 2002 (RICHY) ที่สนับสนุนให้รัฐบาลต่ออายุลดค่าจดทะเบียนการโอน-จดจำนองมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และมั่นใจว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งบริษัทเตรียมทำตลาดโดยการส่ง 13 โครงการบ้าน – คอนโดฯ ให้ลูกค้าได้ตัดสินใจซื้อ
โดยในส่วนของมาตรการจากภาครัฐ กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์
ได้แก่ การลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ และห้องชุด (ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2) เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
ขณะเดียวกันต้นทุนจากดอกเบี้ยที่เคยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่หลังการระบาดของโควิด 19 ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นมิตรกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยวิจัยกรุงศรี คาดว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2567 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงไว้ที่ 2.50% ตลอดทั้งปี 2567 เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้อยู่ภายในกรอบเป้าหมาย และเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวกลับเข้าสู่แนวโน้มระยะยาว ขณะเดียวกัน ยังเป็นการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (Policy space) เพื่อรองรับความเสี่ยงที่มีอยู่มากในอนาคต
แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะมีแนวโน้มปรับดีขึ้น แต่อัตราการเติบโตยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า GDP ของกลุ่มประเทศอาเซียน-5 จะเติบโตที่ 4.5% ในปี 2567 เร่งขึ้นเล็กน้อยจาก 4.2% ในปี 2566
แต่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยก็มีโอกาสที่จะปรับลดลงได้ตามแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง “จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์” มีมุมมองว่า การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ผ่านมาเร็วและแรงเกินไป จนกระทบต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และยอมรับว่า เป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงที่เงินเฟ้อติดลบ อาจสะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ซึ่งจากปัจจัยบวกที่เกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งบมจ.ริชี่ เพลซ 2002 (RICHY) ที่สนับสนุนให้รัฐบาลต่ออายุลดค่าจดทะเบียนการโอน-จดจำนองมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และมั่นใจว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งบริษัทเตรียมทำตลาดโดยการส่ง 13 โครงการบ้าน – คอนโดฯ ให้ลูกค้าได้ตัดสินใจซื้อ