ถล่มขาย เกิดอะไรขึ้นกับ "KTB " หรือเป็นเพราะเหตุตั้งสำรองลูกค้ารายใหญ่ ที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระ
เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ นัก เมื่อหุ้นธนาคารขนาดใหญ่อย่าง KTB หรือธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะโดนนักลงทุนเทขายหุ้นในวันเดียวแบบถล่มทลาย โดยวันที่ 22 มกราคม 2567 ราคาปรับตัวลงทันทีกว่า 10% ลงไปทำจุดต่ำสุดระหว่างวันที่ 15.60 บาท คิดเป็นมูลค่าบริษัทที่หายไปกว่า 26,000 ล้านบาท ภายในวันเดียว
สาเหตุหลักของการขายหุ้น KTB รอบนี้ มาจากความกังวลเรื่องผลประกอบการของบริษัท มีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ (Expected Credit Loss หรือ ECL) มากกว่าที่คาด และให้เหตุผลว่ามาจากองค์กรรายใหญ่ 1 รายที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระ กลายเป็นประเด็นให้ตลาดตกใจ!
ถล่มขาย KTB
ปกติแล้วทุกธนาคารต่างก็มีลูกหนี้ของตัวเองทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากการปล่อยสินเชื่อ และสิ่งที่มาพร้อมกับการมีลูกหนี้ ก็คือความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะเก็บหนี้คืนไม่ได้ นั่นจึงเป็นที่มาของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า ECL เพื่อเป็นการนำความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สะท้อนเข้ามาในงบการเงินของบริษัท
แน่นอนว่าการตั้ง ECL สูงขึ้น แสดงถึงความระมัดระวังที่มากขึ้นในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร ก็มาจากการพิจารณาโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของบริษัทที่กู้ยืมเงินไป
KTB ตั้งสำรองหนี้ 13,070 ล้านบาท
ในไตรมาส 4 ของปี 2566 ที่ผ่านมา KTB ได้สำรองหนี้อยู่ที่ระดับ 13,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 8,157 ล้านบาท ในไตรมาส 3/22566 โดยในรายงานงบการเงินของบริษัทระบุว่า การตั้งสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับผลกระทบจากลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน ธนาคารจึงตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อยังคงรักษา Coverage ratio ในระดับสูงถึง 181.2% ตามหลักความระมัดระวัง
ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2566 และภาพรวมปี 2566 ออกมาต่ำกว่าคาด โดย KTB รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 4/2566 อยู่ที่ 6,111 ล้านบาท (-41% QoQ, -25% YoY) และกำไรรวมทั้งปีอยู่ที่ 36,616 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 8.7% จากปีก่อน
ผลงานดังกล่าวถือว่าต่ำกว่า Consensus คาดไว้ แม้ KTB จะมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) มากขึ้น ขณะที่แหล่งรายได้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยก็เติบโตได้ดี แต่ตัวเลขบรรทัดสุดท้ายกลับโดนกดดันอย่างหนักจากความไม่แน่นอนของคุณภาพสินทรัพย์และภาวะเศรษฐกิจ
Negative Surprise ครั้งใหญ่ในรอบ 2 ปี
ช่วง 2 ปีมานี้ ราคาหุ้น KTB วิ่งเข้าสู่ขาขึ้นมาตลอด ตามวัฏจักรดอกเบี้ยที่ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ว่าประเด็นนี้ได้กลายเป็น Negative surprise ที่เกิดแรงขายหนักๆ จนหุ้นเสียทรงอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะซึมซับข่าวลบต่อเนื่อง เพราะตอนนี้เริ่มเข้าสู่ปลายทางวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ประกอบกับหลายบทวิเคราะห์เริ่มปรับลดประมาณการกำไรของ KTB จากแนวทางการดำเนินธุรกิจที่อนุรักษ์นิยมขึ้น
สุดท้ายนี้ จะเห็นว่าในเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2566 ไม่ใช่แค่ KTB รายเดียวที่ราคาปรับลดลง แต่หุ้นธนาคารไทยอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบเชิงลบไปด้วย จากการตั้งสำรองลูกหนี้รายใหญ่ เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น KBANK, SCB, BAY, TISCO และ KKP เป็นต้น ซึ่งเขาว่ากันว่าทิศทางผลประกอบการของกลุ่มธนาคาร จะเป็นตัวชี้นำแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ในขณะนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างที่ชวนตั้งคำถามแล้ว !?
ที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/3NrGWpP
เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ นัก เมื่อหุ้นธนาคารขนาดใหญ่อย่าง KTB หรือธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะโดนนักลงทุนเทขายหุ้นในวันเดียวแบบถล่มทลาย โดยวันที่ 22 มกราคม 2567 ราคาปรับตัวลงทันทีกว่า 10% ลงไปทำจุดต่ำสุดระหว่างวันที่ 15.60 บาท คิดเป็นมูลค่าบริษัทที่หายไปกว่า 26,000 ล้านบาท ภายในวันเดียว
สาเหตุหลักของการขายหุ้น KTB รอบนี้ มาจากความกังวลเรื่องผลประกอบการของบริษัท มีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ (Expected Credit Loss หรือ ECL) มากกว่าที่คาด และให้เหตุผลว่ามาจากองค์กรรายใหญ่ 1 รายที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระ กลายเป็นประเด็นให้ตลาดตกใจ!
ถล่มขาย KTB
ปกติแล้วทุกธนาคารต่างก็มีลูกหนี้ของตัวเองทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากการปล่อยสินเชื่อ และสิ่งที่มาพร้อมกับการมีลูกหนี้ ก็คือความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะเก็บหนี้คืนไม่ได้ นั่นจึงเป็นที่มาของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า ECL เพื่อเป็นการนำความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สะท้อนเข้ามาในงบการเงินของบริษัท
แน่นอนว่าการตั้ง ECL สูงขึ้น แสดงถึงความระมัดระวังที่มากขึ้นในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร ก็มาจากการพิจารณาโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของบริษัทที่กู้ยืมเงินไป
KTB ตั้งสำรองหนี้ 13,070 ล้านบาท
ในไตรมาส 4 ของปี 2566 ที่ผ่านมา KTB ได้สำรองหนี้อยู่ที่ระดับ 13,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 8,157 ล้านบาท ในไตรมาส 3/22566 โดยในรายงานงบการเงินของบริษัทระบุว่า การตั้งสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับผลกระทบจากลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน ธนาคารจึงตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อยังคงรักษา Coverage ratio ในระดับสูงถึง 181.2% ตามหลักความระมัดระวัง
ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2566 และภาพรวมปี 2566 ออกมาต่ำกว่าคาด โดย KTB รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 4/2566 อยู่ที่ 6,111 ล้านบาท (-41% QoQ, -25% YoY) และกำไรรวมทั้งปีอยู่ที่ 36,616 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 8.7% จากปีก่อน
ผลงานดังกล่าวถือว่าต่ำกว่า Consensus คาดไว้ แม้ KTB จะมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) มากขึ้น ขณะที่แหล่งรายได้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยก็เติบโตได้ดี แต่ตัวเลขบรรทัดสุดท้ายกลับโดนกดดันอย่างหนักจากความไม่แน่นอนของคุณภาพสินทรัพย์และภาวะเศรษฐกิจ
Negative Surprise ครั้งใหญ่ในรอบ 2 ปี
ช่วง 2 ปีมานี้ ราคาหุ้น KTB วิ่งเข้าสู่ขาขึ้นมาตลอด ตามวัฏจักรดอกเบี้ยที่ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ว่าประเด็นนี้ได้กลายเป็น Negative surprise ที่เกิดแรงขายหนักๆ จนหุ้นเสียทรงอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะซึมซับข่าวลบต่อเนื่อง เพราะตอนนี้เริ่มเข้าสู่ปลายทางวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ประกอบกับหลายบทวิเคราะห์เริ่มปรับลดประมาณการกำไรของ KTB จากแนวทางการดำเนินธุรกิจที่อนุรักษ์นิยมขึ้น
สุดท้ายนี้ จะเห็นว่าในเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2566 ไม่ใช่แค่ KTB รายเดียวที่ราคาปรับลดลง แต่หุ้นธนาคารไทยอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบเชิงลบไปด้วย จากการตั้งสำรองลูกหนี้รายใหญ่ เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น KBANK, SCB, BAY, TISCO และ KKP เป็นต้น ซึ่งเขาว่ากันว่าทิศทางผลประกอบการของกลุ่มธนาคาร จะเป็นตัวชี้นำแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ในขณะนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างที่ชวนตั้งคำถามแล้ว !?
ที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/3NrGWpP