Wealth Sharing
ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร AJD กับพวกรวม 4 ราย ต่อ DSI กรณีทุจริต ยักยอกเบียดบังทรัพย์สิน ทำให้ AJD เสียหาย
24 มกราคม 2567
ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหารของบริษัท คราวน์ เทค แอดวานซ์ จำกัด (มหาชน) (AJD) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (AJA) กับพวกรวม 4 ราย ได้แก่ (1) นายอมร มีมะโน (2) นายพิภัทร์ ปฏิเวทภิญโญ (3) บริษัท วินซาวด์ (ประเทศไทย) จำกัด (วินซาวด์ (ไทย)) และ (4) นายธนชาต ศิริภานุเขม ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกันกระทำการทุจริต ยักยอกเบียดบังเงินของ AJD จำนวน 145 ล้านบาท เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ทำให้ AJD เสียหาย
ในกรณีการสร้างราคาหุ้น AJD* สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน 2557 นายอมร (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการของ AJD) และนายพิภัทร์ (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและกรรมการของ AJD) ได้ร่วมกันตัดสินใจ อนุมัติ และลงนามในเช็คเพื่อสั่งจ่ายเงินของ AJD จำนวน 145 ล้านบาท ระบุชื่อผู้รับเงินคือ วินซาวด์ (ไทย) โดยอ้างว่าเป็นค่ามัดจำในการสั่งซื้อสินค้า Set Top Box จากบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศจีน แต่จากการตรวจสอบไม่พบการจ่ายค่ามัดจำสินค้าให้แก่บริษัทในประเทศจีนแต่อย่างใด กลับพบเงินถูกถอนหรือโอนออกจากบัญชีเงินฝากธนาคารของ วินซาวด์ (ไทย) โดยนายธนชาต กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและลงนามผูกพันของวินซาวด์ (ไทย) เพื่อเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของนายอมร นายพิภัทร์ และบุคคลอื่นอีกหลายรายซึ่งมีความสัมพันธ์กับนายอมรและ/หรือนายพิภัทร์
การกระทำของนายอมรและนายพิภัทร์ เป็นการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ยักยอกเบียดบังทรัพย์สิน แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองและพวก อันเป็นการเสียหายแก่บริษัท เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 และมาตรา 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยมีวินซาวด์ (ไทย) และนายธนชาต เป็นผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิด จึงเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 315 ประกอบมาตรา 307 มาตรา 308 และมาตรา 311 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษผู้กระทำผิดทั้ง 4 รายข้างต้นต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ยังได้แจ้งการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ข้างต้น ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตามความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรม ตามลำดับ ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อไป และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว
ในกรณีการสร้างราคาหุ้น AJD* สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน 2557 นายอมร (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการของ AJD) และนายพิภัทร์ (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและกรรมการของ AJD) ได้ร่วมกันตัดสินใจ อนุมัติ และลงนามในเช็คเพื่อสั่งจ่ายเงินของ AJD จำนวน 145 ล้านบาท ระบุชื่อผู้รับเงินคือ วินซาวด์ (ไทย) โดยอ้างว่าเป็นค่ามัดจำในการสั่งซื้อสินค้า Set Top Box จากบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศจีน แต่จากการตรวจสอบไม่พบการจ่ายค่ามัดจำสินค้าให้แก่บริษัทในประเทศจีนแต่อย่างใด กลับพบเงินถูกถอนหรือโอนออกจากบัญชีเงินฝากธนาคารของ วินซาวด์ (ไทย) โดยนายธนชาต กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและลงนามผูกพันของวินซาวด์ (ไทย) เพื่อเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของนายอมร นายพิภัทร์ และบุคคลอื่นอีกหลายรายซึ่งมีความสัมพันธ์กับนายอมรและ/หรือนายพิภัทร์
การกระทำของนายอมรและนายพิภัทร์ เป็นการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริต ยักยอกเบียดบังทรัพย์สิน แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองและพวก อันเป็นการเสียหายแก่บริษัท เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 311 และมาตรา 313 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยมีวินซาวด์ (ไทย) และนายธนชาต เป็นผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำผิด จึงเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 315 ประกอบมาตรา 307 มาตรา 308 และมาตรา 311 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษผู้กระทำผิดทั้ง 4 รายข้างต้นต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ยังได้แจ้งการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ข้างต้น ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตามความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อนึ่ง การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรม ตามลำดับ ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อไป และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว