คำว่า ROA เป็นอีก 1 ศัพท์ที่นักลงทุนไม่ว่าเก่าหรือใหม่ต้องเคยผ่านตากันมาเมื่อมีความสนใจศึกษาข้อมูลพื้นฐานธุรกิจต่างๆ ประโยชน์ของมันสามารถเป็นตัวช่วยในการคัดเลือกบริษัทเพื่อลงทุน โดยพิจารณาเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกัน หากค่านี้อยู่ในเกณฑ์ดีย่อมมีโอกาสสูงมากที่หุ้นตัวนั้นๆ จะสร้างผลตอบแทนที่ดีตามไปด้วยได้
ROA ย่อมาจาก Return on Assets แปลเป็นไทยว่า "อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์" เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกความสามารถในการใช้สินทรัพย์ของบริษัทว่าเก่งแค่ไหน
โดยคำนวณจากการเอากำไรสุทธิมาหารด้วยสินทรัพย์รวม (ROA = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม แล้วเอาผลที่ได้มาคูณ 100) วัดผลออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ (%)
ทั่ว ๆ ไปสำหรับการลงทุนหุ้นโดยพิจารณาค่า ROA ค่าที่ได้ควรสูงถึงจะดีกว่า เนื่องจาก ROA เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกความสามารถในการใช้สินทรัพย์ของบริษัท โดยหาก ROA สูงแสดงว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรสุทธิได้มาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของบริษัท ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นได้
ปกติแล้ว ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบได้ หาก ROA ของบริษัทสูงกว่า ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ แสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการใช้สินทรัพย์ในการสร้างกำไรสุทธิได้ดี ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นได้
ยกตัวอย่างเช่น ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมค้าปลีกอยู่ที่ประมาณ 5% หากบริษัท A มี ROA เท่ากับ 10% แสดงว่าบริษัท A มีความสามารถในการใช้สินทรัพย์ในการสร้างกำไรสุทธิได้ดีกว่าบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัท A ปรับตัวสูงขึ้นได้
ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง ก็ควรพิจารณาบริษัทที่มี ROA สูงมากกว่าบริษัทที่มี ROA ต่ำ
อย่างไรก็ตามปัญหาอย่างหนึ่งของการเอาค่า % ROA มาใช้เปรียบเทียบก็คือ ช่วงระหว่างที่งบยังออกไม่เต็มปี และ/หรือรวมไปถึงช่วงที่มีการทยอยประกาศงบการเงินนั้น เราอาจหาตัวเลขจากงบฐานเดียวกันจากหุ้นกลุ่มเดียวกันทั้งอุตสาหกรรมมาเปรียบเทียบได้ลำบากจำต้องรอเนิ่นนานกว่าจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้
ดังนั้นวิธีที่ง่ายกว่าก็คือการ คัดเฉพาะหุ้นที่เราสนใจเพียงไม่กี่ตัวที่ทำธุรกิจเหมือนกันมาเทียบกันเลย ซึ่งจะลดความคลาดเคลื่อนได้จากเหตุที่ระบุไปข้างต้น
หรืออีกวิธีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายก็คือ การดูพัฒนาการของ ROA ว่าค่านี้ในงบที่ผ่านๆ มาดีขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ เช่นเอาค่าล่าสุดไปเทียบกับงบไตรมาสก่อนหน้า หรือช่วงเดียวกันของปีก่อนก็ได้ซึ่งหากดีกว่ากันมากๆ ก็เท่ากับน่าสนใจลงทุน
ยกตัวอย่างหลักทรัพย์จากทั้งตลาด SET และ mai ที่มีค่า อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (% ROA) เปลี่ยนแปลงแบบ QoQ มากที่สุดอิงงบไตรมาส 3/2023 โดยค่าสูงกว่า 100% มีราว 30 อันดับแรกดังนี้
จากข้อมูลตารางนี้ หลายตัวดูดีมากๆ แต่ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่าหุ้นเหล่านี้จะร้อนแรงหรือไม่ การลงทุนหุ้นในเชิงพื้นฐานควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย เช่น การเติบโตของรายได้ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน แนวโน้มของอุตสาหกรรม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นต้น และที่อยากจะนำเสนอเพิ่มเติมคือคำว่า คำว่า ROE ซึ่งเป็นอีก 1 ศัพท์ที่มักมาคู่กันกับ ROA หากค่านี้อยู่ในเกณฑ์ดีย่อมจะเน้นย้ำชี้วัดหุ้นตัวนั้นๆ จะสร้างผลตอบแทนที่ดีตามไปด้วยได้โดยในรายละเอียดนั้นติดตามได้ใน Share2Trade.com แห่งนี้
ROA ย่อมาจาก Return on Assets แปลเป็นไทยว่า "อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์" เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกความสามารถในการใช้สินทรัพย์ของบริษัทว่าเก่งแค่ไหน
โดยคำนวณจากการเอากำไรสุทธิมาหารด้วยสินทรัพย์รวม (ROA = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม แล้วเอาผลที่ได้มาคูณ 100) วัดผลออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ (%)
ทั่ว ๆ ไปสำหรับการลงทุนหุ้นโดยพิจารณาค่า ROA ค่าที่ได้ควรสูงถึงจะดีกว่า เนื่องจาก ROA เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกความสามารถในการใช้สินทรัพย์ของบริษัท โดยหาก ROA สูงแสดงว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรสุทธิได้มาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของบริษัท ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นได้
ปกติแล้ว ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบได้ หาก ROA ของบริษัทสูงกว่า ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ แสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการใช้สินทรัพย์ในการสร้างกำไรสุทธิได้ดี ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นได้
ยกตัวอย่างเช่น ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมค้าปลีกอยู่ที่ประมาณ 5% หากบริษัท A มี ROA เท่ากับ 10% แสดงว่าบริษัท A มีความสามารถในการใช้สินทรัพย์ในการสร้างกำไรสุทธิได้ดีกว่าบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัท A ปรับตัวสูงขึ้นได้
ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง ก็ควรพิจารณาบริษัทที่มี ROA สูงมากกว่าบริษัทที่มี ROA ต่ำ
อย่างไรก็ตามปัญหาอย่างหนึ่งของการเอาค่า % ROA มาใช้เปรียบเทียบก็คือ ช่วงระหว่างที่งบยังออกไม่เต็มปี และ/หรือรวมไปถึงช่วงที่มีการทยอยประกาศงบการเงินนั้น เราอาจหาตัวเลขจากงบฐานเดียวกันจากหุ้นกลุ่มเดียวกันทั้งอุตสาหกรรมมาเปรียบเทียบได้ลำบากจำต้องรอเนิ่นนานกว่าจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้
ดังนั้นวิธีที่ง่ายกว่าก็คือการ คัดเฉพาะหุ้นที่เราสนใจเพียงไม่กี่ตัวที่ทำธุรกิจเหมือนกันมาเทียบกันเลย ซึ่งจะลดความคลาดเคลื่อนได้จากเหตุที่ระบุไปข้างต้น
หรืออีกวิธีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายก็คือ การดูพัฒนาการของ ROA ว่าค่านี้ในงบที่ผ่านๆ มาดีขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่ เช่นเอาค่าล่าสุดไปเทียบกับงบไตรมาสก่อนหน้า หรือช่วงเดียวกันของปีก่อนก็ได้ซึ่งหากดีกว่ากันมากๆ ก็เท่ากับน่าสนใจลงทุน
ยกตัวอย่างหลักทรัพย์จากทั้งตลาด SET และ mai ที่มีค่า อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (% ROA) เปลี่ยนแปลงแบบ QoQ มากที่สุดอิงงบไตรมาส 3/2023 โดยค่าสูงกว่า 100% มีราว 30 อันดับแรกดังนี้
จากข้อมูลตารางนี้ หลายตัวดูดีมากๆ แต่ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่าหุ้นเหล่านี้จะร้อนแรงหรือไม่ การลงทุนหุ้นในเชิงพื้นฐานควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย เช่น การเติบโตของรายได้ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน แนวโน้มของอุตสาหกรรม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นต้น และที่อยากจะนำเสนอเพิ่มเติมคือคำว่า คำว่า ROE ซึ่งเป็นอีก 1 ศัพท์ที่มักมาคู่กันกับ ROA หากค่านี้อยู่ในเกณฑ์ดีย่อมจะเน้นย้ำชี้วัดหุ้นตัวนั้นๆ จะสร้างผลตอบแทนที่ดีตามไปด้วยได้โดยในรายละเอียดนั้นติดตามได้ใน Share2Trade.com แห่งนี้