จิปาถะ

ย้อนเส้นทาง ITV ทำพิธาสั่นคลอน


24 มกราคม 2567

ย้อนเส้นทาง ITV โด่งดัง ก่อนเป็นหนี้แสนล้าน หมากตัวใหญ่สั่นคลอน 'พิธา'

ย้อนเส้นทาง ITV ทำพิธาสั่นคลอน.jpg

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี หรือ"itv" ถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้งหลังจากทีปิดสถานีและไม่มีการออกอากาศไปตั้งแต่ปี 2550 เป็นเวลานับกว่า 16 ปี ที่ประชาชนแทบจะไม่มีใครพูดถึง "itv" สถานีโทรทัศน์ที่เคยโด่งดังในยุคนั้นมาก่อน จนกระทั้งหลังเลือกตั้ง 2566 เสร็จสิ้น ปรากฎว่าพรรคก้าวไกลชนะการเลือก หลังจากนั้นมีการออกมาเปิดเผยว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แคนดิเดตนายก ถือ หุ้นitv มากถึง 42,000 กว่าหุ้น ประเด็นดังกล่าวสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้นายพิธา อดเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 กันเลยก็ว่าได้

เรื่องราวโยงใยทางการเมืองระหว่างการถือหุ้นitv และปมที่ยังมีการตั้งคำถามว่า "itv" ยังเป็นสื่ออยู่หรือไม่กลายเป็นข้อสงสัยอย่างมาก เพราะตัวสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเองหยุดการออกอากาศไปกว่า 10 ปี แต่หากย้อนกลับไปในอดีต หลายคนยังจำสถานีโทรทัศน์ "itv" เป็นสถานีโทรทัศน์ที่โด่งดังและมีชื่อเสียงอีกหนึ่งช่องที่ในยุคนั้นใครไม่ดูคงไม่ได้ "itv"ยังเป็นช่องแรกที่มีการนำเสนอข่าวในช่วงต่างๆ โดยไม่มีคำว่าภาค ในรายการข่าว สำหรับเส้นทางของ"itv" ในยุคนั้นนับว่าเป็นยุครุ่งเรืองอย่างมาก เพราะเป็นสถานีโทรทัศน์เสรีช่องแรกๆ ก่อนที่จะปิดตัวไปเพราะมีหนีสินค้างจ่าย และสุดท้ายตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง

จุดเริ่มต้น สถานีโทรทัศน์ "itv" ทีวีเสรี
สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์พฤษาทมิฬ ในปี 2535 สื่อโทรทัศน์ถูกควบคุมและกำกับภายใต้การดูแลของรัฐบาลทั้งหมด ซึ่งสุ่มเสี่ยงทำให้เกิดการบิดเบือนในการนำเสนอข่าวได้ ดังนั้นในช่วงรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งนำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ และเมื่อวันที่ 3 ก.ค. ปี 2538 พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ

"itv" เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2539 เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ข่าวภาคค่ำประจำวัน เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรก ที่เรียกรายการข่าวโดยไม่มีคำว่าภาคและมีชื่อสถานีเรียกทุกครั้ง เช่น ข่าวเช้าไอทีวี ข่าวเที่ยงไอทีวี ข่าวค่ำไอทีวี โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานี คือ กิตติ สิงหาปัด และ เทพชัย หย่อง ออกอากาศทางช่อง หมายเลข 26 ต่อมาได้ย้ายไปออกอากาศทางช่อง 29 โดยมีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นเจ้าของคลื่นความถี่

ยื่นจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนก่อนเปลี่ยนหลายมือจนถึงวันสิ้นสุดออกอากาศ
1.ปี 2541 บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และในราวปี 2542 ภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29

2.ปี 2543 บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของ "itv" ในช่วงเปลี่ยนผ่านได้สร้างความไม่พอใจแก่พนักงานค่อนข้างมาก ส่งผลให้นายเทพ หย่อง ผู้อำนวยการสถานี ขณะนั้นตัดสินใจลาออก หลังจากนั้นนายไตรภพ ลิมปพัทธ์ และบริษัท กันตนา กรุ๊ป ได้ทำ MOU และเข้าถือหุ้มใน "itv" ร้อยละ 10 ส่งผลให้ นายไตรภพ กลายเป็นผู้อำนวยการสถานีในทันที ในช่วงนั้นเรียกต้องบอกว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานีโทรทัศน์ไอทีวีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการขยับเวลาออกอากาศข่าวค่ำ การปรับผังรายการต่างๆ แต่ท้ายที่สุดบจก.บอร์น ซึ่งมีนายไตรภพเป็นกรรมการผู้จัดการคณะนั้น และ บมจ.กันตนา กรุ๊ป ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตกลงไว้ในบันทึกความเข้าใจได้ ส่งผลให้กลายเป็นแค่ผู้เช่าช่องสถานีออกกาศและนายไตรภพก็ถือว่าสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการช่องด้วย

3.ปี 2549 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องชดเชยความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท ปรับลดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญา 230 ล้านบาท ปรับลดเงินรับประกันผลประโยชน์ขั้นต่ำ และให้คืนเงินผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำที่ผู้คัดค้านได้ชำระระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตลอดจนการปรับเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงในผังรายการ และรายการข่าว 50:50 รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดยสปน. แต่ศาล ปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดให้ สปน.ลดค่าสัมปทานเป็นเงิน

4.13 ธ.ค. ปี 2549 ศาลปกครองสูงสุดก็พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับเช่าเวลาออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับผังรายการเป็นสาระและบันเทิง 70:30 "itv" ยังต้องเสียค่าปรับจากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี

5.หลังจากปรับผังรายการออกอากสส่งผลให้เรตติ้งของ "itv" ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2549 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงินรวม 464 ล้าน 5 แสนบาท กรณีทำผิดสัญญาเรื่องปรับผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท รวมเงินที่ "itv" ต้องจ่ายให้สำนักปลัดเป็นกว่า 1 แสนล้านบาท

6.ปี 2550 มีการพยายามเจรจาต่อรองกันหลายรอบ แต่ท้ายที่สุดวันที่ 7 มี.ค. 2550 คณะรัฐมนตรีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 00.00 น. รวมระยะเวลาการออกอากาศทั้งสิ้น 10 ปี 8 เดือน 6 วัน 5 ชั่วโมง

7.การต่อสู้ระหว่าง itv และ สปน.ยังไม่จบแต่การปิดสถานีเท่านั้น เพราะยังมีข้อพิพาทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนท้ายที่สุดในปี 2559 คณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาดว่า สปน.บอกเลิกสัญญาสัมปทานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ itv และ itv ต้องชำระค่าตอบแทนส่วนต่างเช่นกัน คำชี้ขาดจึงสรุปว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีหนี้ที่ต้องชำระต่อกัน

ทำเนียบผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ "itv"
-ยุคแรก นายเทพชัย หย่อง เป็นผู้อำนวยการสถานีในปี 2538-2543
-ยุคที่สอง นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ เป็นผู้อำนวยการสถานีในปี 2546
-ยุคสุดท้ายก่อนปิดสถานี นายทรงศักดิ์ เปรมสุข และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เข้ามาเป็นผู้บริหารสถานี

ที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/GgyWQwR