จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : I2 บุกตลาดเทคโนโลยีพลังงานสะอาด สอดรับนโยบายรัฐเดินหน้า "ไฟฟ้าสีเขียว"
26 มกราคม 2567
รัฐบาลสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในประเทศ ทั้งกระบวนการผลิต การรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและการนำเทคโนโลยีมาใช้ หวังเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ขจัดอุปสรรคด้านการค้า การลงทุน จากภาษีคาร์บอนข้ามแดน (CBAMC)
พลังงานสะอาดนอกจากจะมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ในส่วนของกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดก็มีความสำคัญมากเช่นกัน สะท้อนจากกระทรวงการพลังงานที่ระบุว่า มีความพร้อมในการจัดหา "ไฟฟ้าสีเขียว" (Utility Green Tarif) หรือไฟฟ้าที่มีกระบวนการผลิตจากพลังงานสะอาดอย่างมีมาตรฐาน พร้อมด้วยกลไกการรับรองมาตรฐานแหล่งที่มา ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมั่นใจว่า "ไฟฟ้าสีเขียว" จะมีปริมาณเพียงพอสนองตอบต่อความต้องการ และรองรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเร่งรัดและเพิ่มปริมาณการลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment : FDI) จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
"เป็นครั้งแรกที่ไทยจะมีกระบวนการผลิต จัดหา และรับรองไฟฟ้าสีเขียวใช้ มั่นใจว่าประเทศไทย มีความพร้อมด้านการให้บริการไฟฟ้าสีเขียว เพื่อรองรับความต้องการพลังงานของธุรกิจ หรือบริษัทข้ามชาติที่ต้องการขยายการลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ทั้งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ขจัดอุปสรรคด้านการค้า การลงทุน จากภาษีคาร์บอนข้ามแดน (CBAMC) ได้เป็นอย่างดี" นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าว
สำหรับการให้บริการจะมี 2 รูปแบบ ทั้งแบบที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสีเขียวไม่สามารถเจาะจงแหล่งที่มาของไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในสัญญาบริการ และแบบที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเจาะจงแหล่งที่มาได้
โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการไฟฟ้าสีเขียว เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถรับรู้แหล่งที่มาของไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในสัญญาบริการได้ พร้อมระบบใบรับรองการผลิตไฟฟ้าสีเขียวที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าสีเขียวทุกกลุ่ม
ขณะที่ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดหาไฟฟ้าสีเขียว ด้วยกระบวนการรับรองอย่างมีมาตรฐาน และมีปริมาณเพียงพอรองรับแนวโน้มความต้องการพลังงานสะอาด ของความภาคอุตสาหกรรมไทยและต่างชาติ นอกจากจะเป็นการการยกระดับภาคการผลิตของอุตสาหกรรมไทย ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว ยังจะเป็นการสร้างความได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ สร้างโอกาสให้กับประเทศในการเป็นฐานการผลิต รองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่จากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
แนวทางการพัฒนาพลังงานสะอาดและไฟฟ้าสีเขียวของรัฐบาล สนับสนุนทิศทางการขยายธุรกิจของบมจ.ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ (I2) จากการที่บริษัทได้ต่อยอดเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสะอาด โดย “อธิพร ลิ่มเจริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร I2 ได้ลงนามสัญญาจับมือเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักในประเทศไทยกับ นายจิม สวี ผู้จัดการทั่วไปประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค บริษัท โจลีวูด (ไท่โจว) โซลาร์ เทคโนโลยี จำกัด หรือ Jolywood โดยทั้งสองบริษัทมีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดมานำเสนอต่อกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ในไทย เพื่อช่วยในการผลักดันทุกโครงการภาครัฐและเอกชนให้ใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนลดการใช้พลังงานฟอสซิลตอบรับนโยบายรัฐ เพื่อลดก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์โดยเร็วที่สุด โดยตั้งเป้ากวาดงานได้มูลค่า 1,000 ล้านบาท
ขณะที่ นายลู เฉา ประธานใหญ่บริษัทโจลีวูด ได้ร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในการลงนามสำคัญครั้งนี้อีกด้วย ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างมุ่งมั่น และจริงจังในทุกด้าน เพื่อให้กลุ่มลูกค้าในไทยทุกรายมั่นใจในระบบเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ได้ติดตั้งไปสามารถใช้งานไปได้ยาวนานด้วยคุณภาพประสิทธิภาพ และการรับประกันที่ยาวนาน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร I2 มั่นใจว่า ในความร่วมมือกับโจลีวูดที่จะเป็นพันธมิตรสำคัญในทุกโครงการด้านพลังงานที่จะนำเสนอโซลูชั่นให้กับลูกค้าทุกราย เพื่อให้เกิดความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายตลอดปีนี้ และเพื่อให้ประเทศไทยได้ร่วมกันใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับโจลีวูด ก่อตั้งขึ้นในปี 2008 เป็นองค์กรเทคโนโลยีขั้นสูงระดับชาติ ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2014 (รหัสหุ้น: 300393) บริษัทมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาที่เป็นนวัตกรรมและการผลิตวัสดุเสริมชนิดพิเศษ เซลล์แสงอาทิตย์และโมดูล การบูรณาการระบบ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ คุณภาพสูง ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูล แบบสองหน้าเทคโนโลยี N-Type รายใหญ่ของโลก ด้วยกำลังการผลิต 10GW+20GW และผู้ผลิต Backsheet รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยส่วนแบ่งตลาด 30% โจลีวูดยังได้รับรางวัล Financial Health Top3 จาก Photon
พลังงานสะอาดนอกจากจะมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ในส่วนของกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดก็มีความสำคัญมากเช่นกัน สะท้อนจากกระทรวงการพลังงานที่ระบุว่า มีความพร้อมในการจัดหา "ไฟฟ้าสีเขียว" (Utility Green Tarif) หรือไฟฟ้าที่มีกระบวนการผลิตจากพลังงานสะอาดอย่างมีมาตรฐาน พร้อมด้วยกลไกการรับรองมาตรฐานแหล่งที่มา ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมั่นใจว่า "ไฟฟ้าสีเขียว" จะมีปริมาณเพียงพอสนองตอบต่อความต้องการ และรองรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเร่งรัดและเพิ่มปริมาณการลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment : FDI) จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
"เป็นครั้งแรกที่ไทยจะมีกระบวนการผลิต จัดหา และรับรองไฟฟ้าสีเขียวใช้ มั่นใจว่าประเทศไทย มีความพร้อมด้านการให้บริการไฟฟ้าสีเขียว เพื่อรองรับความต้องการพลังงานของธุรกิจ หรือบริษัทข้ามชาติที่ต้องการขยายการลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ทั้งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ขจัดอุปสรรคด้านการค้า การลงทุน จากภาษีคาร์บอนข้ามแดน (CBAMC) ได้เป็นอย่างดี" นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าว
สำหรับการให้บริการจะมี 2 รูปแบบ ทั้งแบบที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสีเขียวไม่สามารถเจาะจงแหล่งที่มาของไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในสัญญาบริการ และแบบที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเจาะจงแหล่งที่มาได้
โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการไฟฟ้าสีเขียว เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถรับรู้แหล่งที่มาของไฟฟ้าสีเขียวจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในสัญญาบริการได้ พร้อมระบบใบรับรองการผลิตไฟฟ้าสีเขียวที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าสีเขียวทุกกลุ่ม
ขณะที่ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า การจัดหาไฟฟ้าสีเขียว ด้วยกระบวนการรับรองอย่างมีมาตรฐาน และมีปริมาณเพียงพอรองรับแนวโน้มความต้องการพลังงานสะอาด ของความภาคอุตสาหกรรมไทยและต่างชาติ นอกจากจะเป็นการการยกระดับภาคการผลิตของอุตสาหกรรมไทย ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว ยังจะเป็นการสร้างความได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ สร้างโอกาสให้กับประเทศในการเป็นฐานการผลิต รองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่จากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
แนวทางการพัฒนาพลังงานสะอาดและไฟฟ้าสีเขียวของรัฐบาล สนับสนุนทิศทางการขยายธุรกิจของบมจ.ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ (I2) จากการที่บริษัทได้ต่อยอดเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสะอาด โดย “อธิพร ลิ่มเจริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร I2 ได้ลงนามสัญญาจับมือเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักในประเทศไทยกับ นายจิม สวี ผู้จัดการทั่วไปประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค บริษัท โจลีวูด (ไท่โจว) โซลาร์ เทคโนโลยี จำกัด หรือ Jolywood โดยทั้งสองบริษัทมีความมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดมานำเสนอต่อกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ในไทย เพื่อช่วยในการผลักดันทุกโครงการภาครัฐและเอกชนให้ใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนลดการใช้พลังงานฟอสซิลตอบรับนโยบายรัฐ เพื่อลดก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์โดยเร็วที่สุด โดยตั้งเป้ากวาดงานได้มูลค่า 1,000 ล้านบาท
ขณะที่ นายลู เฉา ประธานใหญ่บริษัทโจลีวูด ได้ร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในการลงนามสำคัญครั้งนี้อีกด้วย ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจะนำไปสู่ความสำเร็จอย่างมุ่งมั่น และจริงจังในทุกด้าน เพื่อให้กลุ่มลูกค้าในไทยทุกรายมั่นใจในระบบเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ได้ติดตั้งไปสามารถใช้งานไปได้ยาวนานด้วยคุณภาพประสิทธิภาพ และการรับประกันที่ยาวนาน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร I2 มั่นใจว่า ในความร่วมมือกับโจลีวูดที่จะเป็นพันธมิตรสำคัญในทุกโครงการด้านพลังงานที่จะนำเสนอโซลูชั่นให้กับลูกค้าทุกราย เพื่อให้เกิดความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายตลอดปีนี้ และเพื่อให้ประเทศไทยได้ร่วมกันใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับโจลีวูด ก่อตั้งขึ้นในปี 2008 เป็นองค์กรเทคโนโลยีขั้นสูงระดับชาติ ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2014 (รหัสหุ้น: 300393) บริษัทมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาที่เป็นนวัตกรรมและการผลิตวัสดุเสริมชนิดพิเศษ เซลล์แสงอาทิตย์และโมดูล การบูรณาการระบบ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ คุณภาพสูง ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูล แบบสองหน้าเทคโนโลยี N-Type รายใหญ่ของโลก ด้วยกำลังการผลิต 10GW+20GW และผู้ผลิต Backsheet รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยส่วนแบ่งตลาด 30% โจลีวูดยังได้รับรางวัล Financial Health Top3 จาก Photon