คำว่าหนี้สินมักจะให้ความรู้สึกเป็นเชิงลบ ทว่าในโลกแห่งความจริงการประกอบธุรกิจมักเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องขยายธุรกิจจากเงินกู้ยืมบ้างเพื่อเร่งการเติบโต
ในงบการเงินนั้นอัตราส่วนที่สะท้อนเรื่องหนี้สินมีอยู่หลายตัว โดย 1 ตัวที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนเพื่อนำไปวิเคราะห์หุ้นต่อได้แก่ IBD/E
IBD/E Ratio ย่อมาจาก Interest Bearing Debt to Equity Ratio แปลเป็นไทยว่า เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดภาระหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยของบริษัท เทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนนี้บ่งบอกถึง "ความเสี่ยงทางการเงิน" ของบริษัท
โดยปกติหากมีค่าออกมา ต่ำ ย่อมจะดีกว่าค่าระดับสูง
ประโยชน์ของ IBD/E
นักลงทุน ใช้เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทก่อนตัดสินใจลงทุน
นักวิเคราะห์ ใช้เพื่อเปรียบเทียบบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ตัวบริษัทเอง ใช้เพื่อติดตามความเสี่ยงทางการเงินของตัวเอง และหาแนวทางในการลดภาระหนี้สิน
ตัวอย่างการใช้งาน
บริษัท A มี IBD/E Ratio 0.5 หมายความว่าบริษัท A มีหนี้สิน 50 บาท ต่อเงินทุนของตัวเอง 100 บาท
บริษัท B มี IBD/E Ratio 1.0 หมายความว่าบริษัท B มีหนี้สิน 100 บาท ต่อเงินทุนของตัวเอง 100 บาท
จากข้อมูลนี้ บริษัท A มีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่าบริษัท B
อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจด้วยว่าค่า IBD/E ไม่ได้สะท้อนถึงสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท ไม่ได้สะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไร รวมถึงไม่ได้สะท้อนถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจได้ชัดเจน
อีกสิ่งที่จำต้องคำนึงของการเอาค่า IBD/E มาใช้เปรียบเทียบก็คือ ช่วงระหว่างที่งบยังออกไม่เต็มปี และ/หรือรวมไปถึงช่วงที่มีการทยอยประกาศงบการเงินนั้น เราอาจหาตัวเลขจากงบฐานเดียวกันจากหุ้นหลายๆ ตัว และ/หรือกลุ่มเดียวกันทั้งอุตสาหกรรมมาเปรียบเทียบได้ลำบากจำต้องรอเนิ่นนานกว่าจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้
ดังนั้นวิธีที่ง่ายกว่าก็คือการ คัดเฉพาะหุ้นที่เราสนใจเพียงไม่กี่ตัวที่ทำธุรกิจเหมือนกันมาเทียบกันเลย ซึ่งจะลดความคลาดเคลื่อนได้จากเหตุที่ระบุไปข้างต้น
อ้างอิงจากระบบ SET Smart ค้นหาจากฐานข้อมูล ณ ทั้งตลาด SET และ mai สิ้นวันที่้ 26 /1/ 2024 พบหลักทรัพย์ที่ค่าหนี้มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (อัตราส่วน IBD/E) แบบกำหนดค่าเป็น Yearly/2566 ได้รวม 31 หลักทรัพย์ดังนี้
ในงบการเงินนั้นอัตราส่วนที่สะท้อนเรื่องหนี้สินมีอยู่หลายตัว โดย 1 ตัวที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนเพื่อนำไปวิเคราะห์หุ้นต่อได้แก่ IBD/E
IBD/E Ratio ย่อมาจาก Interest Bearing Debt to Equity Ratio แปลเป็นไทยว่า เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดภาระหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยของบริษัท เทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนนี้บ่งบอกถึง "ความเสี่ยงทางการเงิน" ของบริษัท
โดยปกติหากมีค่าออกมา ต่ำ ย่อมจะดีกว่าค่าระดับสูง
ประโยชน์ของ IBD/E
นักลงทุน ใช้เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทก่อนตัดสินใจลงทุน
นักวิเคราะห์ ใช้เพื่อเปรียบเทียบบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ตัวบริษัทเอง ใช้เพื่อติดตามความเสี่ยงทางการเงินของตัวเอง และหาแนวทางในการลดภาระหนี้สิน
ตัวอย่างการใช้งาน
บริษัท A มี IBD/E Ratio 0.5 หมายความว่าบริษัท A มีหนี้สิน 50 บาท ต่อเงินทุนของตัวเอง 100 บาท
บริษัท B มี IBD/E Ratio 1.0 หมายความว่าบริษัท B มีหนี้สิน 100 บาท ต่อเงินทุนของตัวเอง 100 บาท
จากข้อมูลนี้ บริษัท A มีความเสี่ยงทางการเงินน้อยกว่าบริษัท B
อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจด้วยว่าค่า IBD/E ไม่ได้สะท้อนถึงสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท ไม่ได้สะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไร รวมถึงไม่ได้สะท้อนถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจได้ชัดเจน
อีกสิ่งที่จำต้องคำนึงของการเอาค่า IBD/E มาใช้เปรียบเทียบก็คือ ช่วงระหว่างที่งบยังออกไม่เต็มปี และ/หรือรวมไปถึงช่วงที่มีการทยอยประกาศงบการเงินนั้น เราอาจหาตัวเลขจากงบฐานเดียวกันจากหุ้นหลายๆ ตัว และ/หรือกลุ่มเดียวกันทั้งอุตสาหกรรมมาเปรียบเทียบได้ลำบากจำต้องรอเนิ่นนานกว่าจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้
ดังนั้นวิธีที่ง่ายกว่าก็คือการ คัดเฉพาะหุ้นที่เราสนใจเพียงไม่กี่ตัวที่ทำธุรกิจเหมือนกันมาเทียบกันเลย ซึ่งจะลดความคลาดเคลื่อนได้จากเหตุที่ระบุไปข้างต้น
อ้างอิงจากระบบ SET Smart ค้นหาจากฐานข้อมูล ณ ทั้งตลาด SET และ mai สิ้นวันที่้ 26 /1/ 2024 พบหลักทรัพย์ที่ค่าหนี้มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (อัตราส่วน IBD/E) แบบกำหนดค่าเป็น Yearly/2566 ได้รวม 31 หลักทรัพย์ดังนี้