จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : กกพ.เตรียมประกาศชื่อ “ผ่านเกณฑ์”ผลิตไฟ “EP” พร้อมทำงานทุกมิติ
21 กุมภาพันธ์ 2566
กกพ.ประกาศให้ 318 โรงไฟฟ้า คิดเป็นพลังงานหมุนเวียน 7,729.08 MW ผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิค ซึ่งผู้บริหาร EP มั่นใจบริษัทมีความพร้อมในทุกมิติ หากผ่านเกณฑ์
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กกพ. เมื่อวันที่ 25 ม.ค.66 เห็นชอบรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน ตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 มีผู้ผ่านการพิจารณาจำนวน 318 ราย แบ่งเป็น
- พลังงานลม ผ่าน 20 ราย ปริมาณเสนอขาย 1,291.30 เมกะวัตต์ (MW)
- พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System:BESS) ผ่าน 31 ราย ปริมาณเสนอขาย 1,253.60 เมกะวัตต์
- พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ผ่าน 267 ราย ปริมาณเสนอขาย 5,184.18 เมกะวัตต์
ส่วนประเภทก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) ไม่มีผู้ผ่านการพิจารณา
สำหรับเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม คณะกรรมการ กกพ. เห็นชอบรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ ตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน (Pass/Fail Basis) ตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับขยะอุตสาหกรรมมีผู้ผ่านการพิจารณา 18 ราย ปริมาณเสนอขายรวม 142 เมกะวัตต์
"ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail Basis) สามารถใช้สิทธิการยื่นอุทธรณ์พร้อมเอกสารหลักฐานต่อ กกพ. ได้ภายใน 7 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผล โดยสำนักงาน กกพ. จะประกาศผลการพิจารณาอุทธรณ์ความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail Basis) สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงภายในวันที่ 1 มี.ค.66 และขยะอุตสหกรรมภายในวันที่ 22 ก.พ.66 ซึ่งจะเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์สานักงาน กกพ. www.erc.or.th ต่อไป" นายคมกฤช กล่าว
ซึ่ง บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ได้ผ่านคุณสมบัติรอบแรกของกกพ. โดย “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ประธานกรรมการบริหาร EP เปิดเผยว่า บริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกและผ่านคุณสมบัติในรอบแรกในการจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ให้กับ กกพ. จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น บริษัท เอ็ปโก้ กรีน พาวเวอร์ พลัส จำกัด 4 โครงการ และบริษัท อีเทอร์นิตี้ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) 4 โครงการ
EP มั่นใจอย่างมากว่าบริษัทฯ มีความพร้อมในทุกมิติที่จะทำงานหากได้รับเลือกอย่างเป็นทางการจาก กกพ. ซึ่งจะมีการประกาศผลภายในวันที่ 15 มี.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม การผ่านการคัดเลือกในรอบแรกสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของบริษัทฯ ซึ่งมีทั้งประสบการณ์การทำงานที่มีมายาวนาน และที่สำคัญกลุ่มบริษัทมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะสามารถดำเนินงานตามแผนงานที่เสนอได้ทุกโครงการ
ที่ผ่านมามีโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่ EP ดำเนินการอยู่ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ประเทศเวียดนามจำนวน 160 mw ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเตรียม COD กับทางการเวียดนาม
ส่วนแหล่งเงินทุนบริษัทมีความแข็งแกร่ง โดย EP ได้เสนอขายหุ้นกู้มูลค่าไม่เกิน 1,150 ล้านบาท อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 5.65-5.75 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม พ.ศ.2566 ผ่านผู้จัดการการจัดจาหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บล. เอเซีย พลัส และ บล.ดาโอ (ประเทศไทย)
อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ "BBB-" แนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" โดยบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กกพ. เมื่อวันที่ 25 ม.ค.66 เห็นชอบรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน ตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 มีผู้ผ่านการพิจารณาจำนวน 318 ราย แบ่งเป็น
- พลังงานลม ผ่าน 20 ราย ปริมาณเสนอขาย 1,291.30 เมกะวัตต์ (MW)
- พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System:BESS) ผ่าน 31 ราย ปริมาณเสนอขาย 1,253.60 เมกะวัตต์
- พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ผ่าน 267 ราย ปริมาณเสนอขาย 5,184.18 เมกะวัตต์
ส่วนประเภทก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) ไม่มีผู้ผ่านการพิจารณา
สำหรับเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม คณะกรรมการ กกพ. เห็นชอบรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ ตามเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่าน (Pass/Fail Basis) ตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับขยะอุตสาหกรรมมีผู้ผ่านการพิจารณา 18 ราย ปริมาณเสนอขายรวม 142 เมกะวัตต์
"ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail Basis) สามารถใช้สิทธิการยื่นอุทธรณ์พร้อมเอกสารหลักฐานต่อ กกพ. ได้ภายใน 7 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผล โดยสำนักงาน กกพ. จะประกาศผลการพิจารณาอุทธรณ์ความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail Basis) สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงภายในวันที่ 1 มี.ค.66 และขยะอุตสหกรรมภายในวันที่ 22 ก.พ.66 ซึ่งจะเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์สานักงาน กกพ. www.erc.or.th ต่อไป" นายคมกฤช กล่าว
ซึ่ง บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ได้ผ่านคุณสมบัติรอบแรกของกกพ. โดย “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ประธานกรรมการบริหาร EP เปิดเผยว่า บริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกและผ่านคุณสมบัติในรอบแรกในการจำหน่ายพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ให้กับ กกพ. จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวม 61.625 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น บริษัท เอ็ปโก้ กรีน พาวเวอร์ พลัส จำกัด 4 โครงการ และบริษัท อีเทอร์นิตี้ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) 4 โครงการ
EP มั่นใจอย่างมากว่าบริษัทฯ มีความพร้อมในทุกมิติที่จะทำงานหากได้รับเลือกอย่างเป็นทางการจาก กกพ. ซึ่งจะมีการประกาศผลภายในวันที่ 15 มี.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม การผ่านการคัดเลือกในรอบแรกสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของบริษัทฯ ซึ่งมีทั้งประสบการณ์การทำงานที่มีมายาวนาน และที่สำคัญกลุ่มบริษัทมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะสามารถดำเนินงานตามแผนงานที่เสนอได้ทุกโครงการ
ที่ผ่านมามีโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่ EP ดำเนินการอยู่ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ประเทศเวียดนามจำนวน 160 mw ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเตรียม COD กับทางการเวียดนาม
ส่วนแหล่งเงินทุนบริษัทมีความแข็งแกร่ง โดย EP ได้เสนอขายหุ้นกู้มูลค่าไม่เกิน 1,150 ล้านบาท อายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 5.65-5.75 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม พ.ศ.2566 ผ่านผู้จัดการการจัดจาหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บล. เอเซีย พลัส และ บล.ดาโอ (ประเทศไทย)
อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ "BBB-" แนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" โดยบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565