บล.บัวหลวง ระบุว่า ประเด็นลดดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง หลังฟากรัฐบาลออกมากดดัน ธปท. อีกระลอก ทั้งนี้ BLS เคยประเมิน Sensitivity ไว้ว่า หากดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงทุกๆ 25bps (เงินฝากลด 15bps) กระทบกำไรกลุ่มธนาคารเฉลี่ย 3.8%
ขณะที่ บล.เอเซียพลัส ประเมินว่า กระแสดอกเบี้ยขาลงในบ้านเราร้อนแรงขึ้น สวนทางดอกเบี้ยโลก ซึ่งการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ครั้งแรกในปี 2567 Consensus ประเมินว่าจะยังคงเห็นแบงก์ชาติส่วนใหญ่ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมอยู่ อย่างไรก็ตาม บ้านเรากลับเริ่มมีกระแสดอกเบี้ยขาลงที่ร้อนแรงมากขึ้น หลังความเห็นต่อภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีมุมมองที่ต่างกันระหว่างรัฐบาล (มอง ศก. ไทยโตต่ำ) และ ธปท. (มอง ศก. ไทยกำลังฟื้นตัว)
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลง เปรียบเสมือนเป็นการส่งสัญญาณเร่งให้ กนง. ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังไทย เดือน ธ.ค.66 ว่ามีการชะลอตัวลงในหลายๆ ภาคส่วน ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่น ภาคอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังสะท้อนได้จากช่วงเงินเฟ้อไทยชะลอตัว มักจะทำให้เศรษฐกิจที่โตได้ไม่สูง มาก และตามมาด้วยการปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่เงินเฟ้อไทยในช่วง 4Q66 ติดลบ 3 เดือนติดต่อกันสวนทางกับดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง เมื่อมองในมุมของตลาด การเงิน ค่อนข้างที่จะความเห็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลว่าจะเห็นการปรับลด ดอกเบี้ยในไม่ช้านี้ สะท้อนจากผลต่าง Bond Yield 10Y – Policy Rate ของไทย มี Gap ที่แคบลงเรื่อยๆ
สรุป หาก กนง. มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของไทย ก่อนที่ Fed จะลดปรับ ดอกเบี้ย จะทำให้ส่วนต่างระหว่าง ดอกเบี้ยสหรัฐ – ไทย แคบลง อาจกดดันให้เงินบาท อ่อนค่าลง และอาจตามมาด้วย Fund Flow ที่ยังไม่กลับเข้ามาในบ้านเรา
ขณะที่ บล.เอเซียพลัส ประเมินว่า กระแสดอกเบี้ยขาลงในบ้านเราร้อนแรงขึ้น สวนทางดอกเบี้ยโลก ซึ่งการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ครั้งแรกในปี 2567 Consensus ประเมินว่าจะยังคงเห็นแบงก์ชาติส่วนใหญ่ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมอยู่ อย่างไรก็ตาม บ้านเรากลับเริ่มมีกระแสดอกเบี้ยขาลงที่ร้อนแรงมากขึ้น หลังความเห็นต่อภาพรวม เศรษฐกิจไทยมีมุมมองที่ต่างกันระหว่างรัฐบาล (มอง ศก. ไทยโตต่ำ) และ ธปท. (มอง ศก. ไทยกำลังฟื้นตัว)
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลง เปรียบเสมือนเป็นการส่งสัญญาณเร่งให้ กนง. ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังไทย เดือน ธ.ค.66 ว่ามีการชะลอตัวลงในหลายๆ ภาคส่วน ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่น ภาคอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังสะท้อนได้จากช่วงเงินเฟ้อไทยชะลอตัว มักจะทำให้เศรษฐกิจที่โตได้ไม่สูง มาก และตามมาด้วยการปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่เงินเฟ้อไทยในช่วง 4Q66 ติดลบ 3 เดือนติดต่อกันสวนทางกับดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง เมื่อมองในมุมของตลาด การเงิน ค่อนข้างที่จะความเห็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลว่าจะเห็นการปรับลด ดอกเบี้ยในไม่ช้านี้ สะท้อนจากผลต่าง Bond Yield 10Y – Policy Rate ของไทย มี Gap ที่แคบลงเรื่อยๆ
สรุป หาก กนง. มีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของไทย ก่อนที่ Fed จะลดปรับ ดอกเบี้ย จะทำให้ส่วนต่างระหว่าง ดอกเบี้ยสหรัฐ – ไทย แคบลง อาจกดดันให้เงินบาท อ่อนค่าลง และอาจตามมาด้วย Fund Flow ที่ยังไม่กลับเข้ามาในบ้านเรา