“ทรีนีตี้” มองหุ้นเดือนก.พ. แกว่ง Sideways ตลาดยังขาดสภาพคล่อง เงินยังไม่ไหลเข้า ให้กรอบดัชนีแนวรับอยู่ที่ระดับ 1340 จุด และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 1410 จุด จับตากำไรบจ.งวดไตรมาส 4 จุดเปลี่ยนมุมมองกำไรตลาด แนะ 3 กลุ่มน่าสนใจ หุ้นปันผลสูง ADVANC, AP, BCH, INTUCH, PTT, SIRI, TISCO หุ้นอิงการบริโภค CPALL, CPAXT, BJC, MASTER และกลุ่มคล้ายพันธบัตร เช่น REIT, IFF และ Utilities
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่า สำหรับภาพตลาดหุ้นไทยในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะแกว่ง Sideways โดยปัจจัยที่ยังขาดอยู่สำหรับหุ้นไทยก็คือสภาพคล่อง ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนผ่านการเติบโตของ M2 ที่อยู่เพียงระดับ 2% โดยเงินส่วนใหญ่ยังคงกองอยู่ในบัญชีเงินรับฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งตราบใดที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯยังคงอยู่ในระดับสูง เงินก้อนใหญ่จะยังคงอยู่ในบัญชีนี้ต่อไป จนทำให้ตลาดหุ้นยังคงขาดแคลนสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าว นอกจากนั้น อาจต้องติดตามปัจจัยการเมืองที่อาจเป็น Noise ระหว่างทาง อาทิเช่น การมีผู้นำผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาไปยื่นต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อเอาผิดพรรคก้าวไกลและนำไปสู่กระบวนการตัดสินยุบพรรคหรือรวมถึงความเป็นไปได้ในการยื่นฟ้องป.ป.ช.เพื่อเอาผิดด้านจริยธรรมของคุณพิธาและส.ส.ท่านอื่น เป็นต้น
ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET ในเดือนนี้จะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 1340 จุด และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 1410 จุด มองปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของดัชนีในเดือนนี้ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาส 4/66 ที่จะประกาศออกมา ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนประมาณการกำไรในตลาดได้ ทั้งนี้ ประเมินกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ 1. หุ้นปันผลสูงที่อยู่ในช่วง High season ได้แก่ ADVANC, AP, BCH, INTUCH, PTT, SIRI, TISCO 2. หุ้นที่อิงกับการบริโภคภายในประเทศ ได้แก่ CPALL, CPAXT, BJC, MASTER และ 3. หุ้นปลอดภัยที่มีคุณลักษณะคล้ายพันธบัตร เช่น กลุ่ม REIT, IFF และกลุ่มสาธารณูปโภค
สำหรับปัจจัยสำคัญอื่นๆที่น่าติดตามในเดือนกุมภาพันธ์ ได้แก่ 1.โมเมนตัมของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งหากจะลดทอนความกังวล Recession fear ของตลาด จำเป็นต้องออกมาดีกว่าตลาดคาดเป็นส่วนใหญ่ เริ่มตั้งแต่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะออกมาในวันที่ 2 ก.พ.นี้ 2. การประชุมกนง.ในวันที่ 7 ก.พ. ซึ่งคาดว่าจะมีมติคงดอกเบี้ยต่อไปที่ระดับ 2.5% และ 3. พัฒนาการความขัดแย้งในทะเลแดง ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าระวางเรืออยู่ในระดับสูงต่อไป ส่งผลกดดันต่อผู้ส่งออกในระดับสูงขึ้น
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่า สำหรับภาพตลาดหุ้นไทยในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะแกว่ง Sideways โดยปัจจัยที่ยังขาดอยู่สำหรับหุ้นไทยก็คือสภาพคล่อง ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนผ่านการเติบโตของ M2 ที่อยู่เพียงระดับ 2% โดยเงินส่วนใหญ่ยังคงกองอยู่ในบัญชีเงินรับฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ ซึ่งตราบใดที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯยังคงอยู่ในระดับสูง เงินก้อนใหญ่จะยังคงอยู่ในบัญชีนี้ต่อไป จนทำให้ตลาดหุ้นยังคงขาดแคลนสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าว นอกจากนั้น อาจต้องติดตามปัจจัยการเมืองที่อาจเป็น Noise ระหว่างทาง อาทิเช่น การมีผู้นำผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาไปยื่นต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อเอาผิดพรรคก้าวไกลและนำไปสู่กระบวนการตัดสินยุบพรรคหรือรวมถึงความเป็นไปได้ในการยื่นฟ้องป.ป.ช.เพื่อเอาผิดด้านจริยธรรมของคุณพิธาและส.ส.ท่านอื่น เป็นต้น
ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET ในเดือนนี้จะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 1340 จุด และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 1410 จุด มองปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของดัชนีในเดือนนี้ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาส 4/66 ที่จะประกาศออกมา ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนประมาณการกำไรในตลาดได้ ทั้งนี้ ประเมินกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ 1. หุ้นปันผลสูงที่อยู่ในช่วง High season ได้แก่ ADVANC, AP, BCH, INTUCH, PTT, SIRI, TISCO 2. หุ้นที่อิงกับการบริโภคภายในประเทศ ได้แก่ CPALL, CPAXT, BJC, MASTER และ 3. หุ้นปลอดภัยที่มีคุณลักษณะคล้ายพันธบัตร เช่น กลุ่ม REIT, IFF และกลุ่มสาธารณูปโภค
สำหรับปัจจัยสำคัญอื่นๆที่น่าติดตามในเดือนกุมภาพันธ์ ได้แก่ 1.โมเมนตัมของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งหากจะลดทอนความกังวล Recession fear ของตลาด จำเป็นต้องออกมาดีกว่าตลาดคาดเป็นส่วนใหญ่ เริ่มตั้งแต่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะออกมาในวันที่ 2 ก.พ.นี้ 2. การประชุมกนง.ในวันที่ 7 ก.พ. ซึ่งคาดว่าจะมีมติคงดอกเบี้ยต่อไปที่ระดับ 2.5% และ 3. พัฒนาการความขัดแย้งในทะเลแดง ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าระวางเรืออยู่ในระดับสูงต่อไป ส่งผลกดดันต่อผู้ส่งออกในระดับสูงขึ้น