อุตสาหกรรมรถยนต์ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการส่งออกรถยนต์เดือน ม.ค. 66 ที่เติบโต 24.28% และมีโอกาสที่การส่งออกปีนี้จะทะลุเป้า 1.05 ล้านคัน ส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องโดยเฉพาะการผลิตเบาะหนังของบริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT)
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แจ้งยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน ม.ค.66 อยู่ที่ 86,786 คัน เพิ่มขึ้น 24.28% จากเดือน ม.ค.65 ผลจากวิกฤตโควิด-19 คลี่คลาย ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ได้รับการส่งมอบเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) จากผู้ผลิตเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค.65 เนื่องจากความต้องการใช้ในการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่บ้าน (Work Form Home-WFH) ลดลง
ซึ่งยอดส่งออกรถยนต์เดือนแรกของปีนี้ที่ดีขึ้น ขณะที่ทั่วโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะถดถอย ทำให้คาดว่าปีนี้น่าจะส่งออกไปเกินเป้า 1.05 ล้านคัน
ขณะที่จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือน ม.ค.66 มีทั้งสิ้น 157,844 คัน เพิ่มขึ้น 4.02% จากเดือน ม.ค.65 เนื่องจากได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อส่งออกและผลิตขายในประเทศเพิ่มขึ้น 32.57% และ 0.69% ตามลำดับ และผลิตรถกระบะขายในประเทศเพิ่มขึ้น 1.15% แต่ลดลง 0.48% จากเดือน ธ.ค.65
ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือน ม.ค.66 มีจำนวน 65,579 คัน ลดลง 20.80% จากเดือน ธ.ค.65 เนื่องจากยังขาดแคลนชิปในบางรุ่น
สำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในปี 65 มีจำนวน 92,746 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 34.93% ยอดขาย 72,158 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 86.58% และยอดส่งออก 9,515 คัน เพิ่มขึ้น 100% โดยตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวมาก ซึ่งยอดขายปีนี้น่าจะสูงกว่า 3.5-4 หมื่นคัน ขณะที่มีผู้จำหน่ายหน้าใหม่เข้ามา และการเริ่มผลิตในประเทศตามข้อตกลงเรื่องการลดหย่อนภาษีของภาครัฐ
การส่งออกและผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะธุรกิจเบาะหนัง ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของบริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ทำธุรกิจผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ เช่น Toyota Honda Nissan Isuzu Mazda และ Mitsubishi
ซึ่ง “วีระพล ไชยธีรัตต์” กรรมการผู้จัดการ CWT มั่นใจแนวโน้มผลการดำเนินธุรกิจในปี 2566 จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจเบาะหนังบริษัทฯ มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง และมีแผนการส่งมอบงานอย่างชัดเจน
นอกจากนี้บริษัทยังมีรายได้จากธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้าที่จะเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนธุรกิจ SKC มีแผนการส่งมอบงานตามกำหนดเช่นกัน ทำให้บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าผลงานในปีนี้จะสามารถสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องจากปีก่อน
ทั้งนี้ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีโรงไฟฟ้าที่ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) 1 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ รูปแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว และมีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาคือ โรงคัดแยกขยะเป็นเชื้อเพลิง RDF อยู่ระหว่างพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้า ปัจจุบันได้สัญญาบริหารจัดการขยะแล้ว 25 ปี
และล่าสุดได้รับคัดเลือกจากการยื่นข้อเสนอการดำเนินการคัดเลือกเอกชนดำเนินการก่อสร้างระบบการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลกมลาไสย กำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แจ้งยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน ม.ค.66 อยู่ที่ 86,786 คัน เพิ่มขึ้น 24.28% จากเดือน ม.ค.65 ผลจากวิกฤตโควิด-19 คลี่คลาย ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ได้รับการส่งมอบเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) จากผู้ผลิตเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค.65 เนื่องจากความต้องการใช้ในการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่บ้าน (Work Form Home-WFH) ลดลง
ซึ่งยอดส่งออกรถยนต์เดือนแรกของปีนี้ที่ดีขึ้น ขณะที่ทั่วโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะถดถอย ทำให้คาดว่าปีนี้น่าจะส่งออกไปเกินเป้า 1.05 ล้านคัน
ขณะที่จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือน ม.ค.66 มีทั้งสิ้น 157,844 คัน เพิ่มขึ้น 4.02% จากเดือน ม.ค.65 เนื่องจากได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อส่งออกและผลิตขายในประเทศเพิ่มขึ้น 32.57% และ 0.69% ตามลำดับ และผลิตรถกระบะขายในประเทศเพิ่มขึ้น 1.15% แต่ลดลง 0.48% จากเดือน ธ.ค.65
ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือน ม.ค.66 มีจำนวน 65,579 คัน ลดลง 20.80% จากเดือน ธ.ค.65 เนื่องจากยังขาดแคลนชิปในบางรุ่น
สำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในปี 65 มีจำนวน 92,746 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 34.93% ยอดขาย 72,158 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 86.58% และยอดส่งออก 9,515 คัน เพิ่มขึ้น 100% โดยตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวมาก ซึ่งยอดขายปีนี้น่าจะสูงกว่า 3.5-4 หมื่นคัน ขณะที่มีผู้จำหน่ายหน้าใหม่เข้ามา และการเริ่มผลิตในประเทศตามข้อตกลงเรื่องการลดหย่อนภาษีของภาครัฐ
การส่งออกและผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะธุรกิจเบาะหนัง ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของบริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) ที่ทำธุรกิจผลิตภัณฑ์เบาะหนังและชิ้นส่วนหนังสำหรับรถยนต์ เช่น Toyota Honda Nissan Isuzu Mazda และ Mitsubishi
ซึ่ง “วีระพล ไชยธีรัตต์” กรรมการผู้จัดการ CWT มั่นใจแนวโน้มผลการดำเนินธุรกิจในปี 2566 จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจเบาะหนังบริษัทฯ มีคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง และมีแผนการส่งมอบงานอย่างชัดเจน
นอกจากนี้บริษัทยังมีรายได้จากธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้าที่จะเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนธุรกิจ SKC มีแผนการส่งมอบงานตามกำหนดเช่นกัน ทำให้บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าผลงานในปีนี้จะสามารถสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องจากปีก่อน
ทั้งนี้ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีโรงไฟฟ้าที่ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) 1 โครงการ ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ รูปแบบโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว และมีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาคือ โรงคัดแยกขยะเป็นเชื้อเพลิง RDF อยู่ระหว่างพัฒนาเป็นโรงไฟฟ้า ปัจจุบันได้สัญญาบริหารจัดการขยะแล้ว 25 ปี
และล่าสุดได้รับคัดเลือกจากการยื่นข้อเสนอการดำเนินการคัดเลือกเอกชนดำเนินการก่อสร้างระบบการจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (RDF) และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลกมลาไสย กำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์