จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : “ทำความรู้จักปูนไลม์ ทำความรู้จัก CMAN บริษัทคนไทยในเวทีโลก”


06 กุมภาพันธ์ 2567
บมจ.เคมีแมน หรือ CMAN ผู้ผลิตและจำหน่ายปูนไลม์และผลิตภัณฑ์เคมีต่อเนื่องรายใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้ แบรนด์ 'CHEMEMAN' ปัจจุบันขึ้นแท่นผู้นำระดับ Top 10 ของโลก ด้วยกำลังการผลิตปูนไลม์รวมกว่า 1,200,000 ตันต่อปี วางแผนก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำธุรกิจปูนไลม์ระดับ Top 5 ของโลก 

รายงานพิเศษ “ทำความรู้จักปูนไลม์ ทำความรู.jpg
ว่าแต่... ปูนไลม์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และอะไรที่ทำให้ CMAN บริษัทสัญชาติไทยอายุเพียง 20 ปี ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตปูนไลม์ชั้นนำหนึ่งใน 10 ของโลก เมื่อเทียบกับผู้ผลิตปูนไลม์ยักษ์ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ได้อย่างไร วันนี้ 'สำนักข่าว Share2Trade' จะมาย่อยเรื่องราวธุรกิจของเคมีแมนให้นักลงทุนเข้าใจง่ายขึ้น....
*** เคมีแมนผู้ผลิตและจำหน่ายปูนไลม์และผลิตภัณฑ์เคมีต่อเนื่องชั้นนำ 
ปูนไลม์เกิดขึ้นจากวัตถุดิบที่ธรรมชาติให้มา  มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลากหลายอย่าง มีฤทธิ์เป็นด่าง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการค้นพบหลักฐานที่บอกว่ามนุษย์รู้จักปูนไลม์มานานมากๆ แล้ว ตัวอย่างเช่น สิ่งก่อสร้างหลายอย่างของยุคโรมันโบราณซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000 ปีนั้น ถูกสร้างขึ้นจากส่วนผสมระหว่างปูนไลม์และเถ้าภูเขาไฟ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคำว่า “ปูนไลม์ คือ เคมีพื้นฐานที่อยู่รอบตัวเรา”       
'ปูนไลม์' หรือ 'Lime' คือ ‘เคมีพื้นฐานสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรม ผลิตจากวัตถุดิบหลักที่เรียกว่า ‘หินปูนเคมี’ หรือ ‘Chemical Grade Limestone’ นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ด้วยความร้อนสูง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “ปูนควิกไลม์” และเมื่อนำปูนไลม์มาผสมกับน้ำด้วยเครื่องไฮเดรเตอร์ จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า “ปูนไฮเดรตไลม์”
‘หินปูน’ หรือ ‘Limestone’ คือ หินตะกอนที่มีแร่แคลไซต์หรือแคลเซียมคาร์บอเนต โดยหินปูนมีหลายเกรด ซึ่งหินปูนที่เคมีแมนใช้ผลิตปูนไลม์จะเป็นหินปูนเคมีที่มีแคลเซียมในปริมาณที่สูงกว่า 95% ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลักของเคมีแมนแบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1. หินปูนเคมี 2. ปูนควิกไลม์ และ 3. ปูนไฮเดรตไลม์
‘ชั้นนำ’ คือ การเป็นผู้นำตลาด CMAN มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว เพราะมีเหมืองหินปูนเคมีคุณภาพสูง 2 แห่งในประเทศไทยและประเทศเวียดนามเป็นของตัวเอง มีฐานการผลิตปูนไลม์ในประเทศไทย เวียดนาม และอินเดีย รวมทั้งสิ้น 6 โรงงาน มีกำลังการผลิตรวมกันกว่า 1.2 ล้านตัน สูงเป็นอันดับหนึ่งในสิบของโลก พร้อมทั้งยังมีศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ 1 แห่ง ในประเทศออสเตรเลีย ทำให้เคมีแมนสามารถควบคุมทั้งคุณภาพ ปริมาณ และต้นทุนของวัตถุดิบไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูปได้ตลอดกระบวนการ จนกระทั่งการส่งมอบสินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าชั้นนำที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและการส่งมอบที่ตรงเวลาสม่ำเสมอ เรียกได้ว่า CMAN มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของลูกค้าระดับโลกเลยทีเดียว
*** มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าปูนไลม์ หรือ Lime มีความพิเศษอย่างไร ทำไมถึงมีกำลังการผลิตกว่า 1,200,000 ตันต่อปี และทำให้ CMANขึ้นเป็นระดับ Top 10 ของโลก
ปูนไลม์ของ CMAN มีคุณสมบัติที่โดดเด่น มีปริมาณแคลเซียมถึงเกินกว่า 90% ถือได้ว่ามีสิ่งเจือปนน้อยมาก คุณภาพและผลจากการใช้ปูนไลม์ที่มีสิ่งเจือปนน้อยสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า และสร้างมูลค่าได้มากกว่า จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าชั้นนำระดับโลกหลายรายไว้วางใจและเลือกปูนไลม์ของเคมีแมน 
ปูนไลม์เอาไปทำอะไร กลุ่มลูกค้าเป็นใคร ตัวอย่างเช่น  

- เหมืองแร่: ใช้ปูนไลม์ในการกำจัดกรดที่เกิดขึ้นในการถลุง/สกัดแร่ กำจัดสิ่งปนเปื้อนในแร่ ป้องกันการเกิดก๊าซพิษในการผลิต ตัวอย่างเช่น เหมืองอลูมิเนียม (ใช้ผลิตสินค้าจำนวนมาก เช่น โครงสร้างและชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องบิน เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น) เหมืองทอง Rare earths (ใช้ผลิตจอคอมพิวเตอร์ ทีวีจอแบน) นิกเกิล และลิเทียม (ใช้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก)  

- เหล็ก และเหล็กกล้า: ใช้หินปูน/ปูนไลม์ ขจัดสิ่งเจือปนในการถลุงแร่เหล็ก 

- กระดาษและเยื่อกระดาษ: ใช้ปูนไลม์เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารฟอกกระดาษและสารเติมแต่งกระดาษ และเพื่อแปรสภาพสารเคมีให้กลับมาใช้ใหม่ได้ 

- ก่อสร้าง: ใช้ปูนไลม์เป็นวัตถุดิบในการผลิตอิฐมวลเบา ปูนฉาบ ปูนก่อ แอสฟอลต์คอนกรีต และใช้ปรับปรุงคุณภาพของดินให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง  

- น้ำตาล: ใช้ปูนไลม์ไปกำจัดกรดที่เกิดขึ้นในการผลิต ช่วยแยกชั้น และกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากน้ำอ้อย และปรับให้น้ำอ้อยมีสีใสขึ้นก่อนเข้ากระบวนการผลิตเป็นน้ำตาล 

- แก้ว ขวดแก้ว ใยแก้ว: ใช้ปูนไลม์เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อเพิ่มความทนทาน และลดการแตกของเส้นใยแก้ว

- อาหาร: ใช้ปูนไลม์เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเติมแต่งอาหาร เช่น กรดมะนาว เป็นต้น 

- อาหารสัตว์: ใช้หินปูนเป็นส่วนผสมแคลเซียมในอาหารไก่  

- การเกษตร: ใช้ปูนไลม์ในการปรับปรุงดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูก ปรับปรุงคุณภาพของน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ใช้หมักพืชทางการเกษตรก่อนที่จะนำไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ  

- โรงไฟฟ้า และโรงกำจัดขยะ: ใช้ปูนไลม์ไปดูดซับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และซัลเฟอร์ที่ปล่อยออกมา เพื่อกำจัดมลพิษทางอากาศ 

- การบำบัดน้ำเสีย: ใช้ปูนไลม์เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต  
เป็นต้น
จะเห็นว่าได้ ‘ปูนไลม์’ มีบทบาทในแทบทุกอุตสาหกรรมที่อยู่รอบตัวเรา และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตสินค้าในชีวิตประจำวัน ดังความหมายที่สะท้อนอยู่ในโลโก้ของ CMAN ที่เขียนว่า “human chemical” หากไม่มีปูนไลม์แล้ว หลายอุตสาหกรรมอาจต้องหยุดชะงัก และส่งผลกระทบต่อไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นวงกว้าง ทำให้ปูนไลม์เป็นที่ต้องการในตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร การเติบโตของเมืองใหญ่ การขยายโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ด้วยศักยภาพของบริษัทและกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ระยะยาว เราเชื่อมั่นว่า CMAN สามารถเติบโตต่อเนื่อง และเป็นบริษัทของคนไทยที่กำลังก้าวสู่ระดับโลกในอนาคตอันใกล้ เพื่อส่งต่อผลตอบแทนที่ดีสู่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน