รศ.ดร.พรชนก คัมภีรยส คูเวนเบิร์ค อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ผลการประชุมกนง. ทุกนัดเป็นเครื่องมือในการส่งสัญญาณบอกว่าแบงก์ชาติคิดอย่างไรกับระบบเศรษฐกิจ สำหรับนัดแรกของปี 2567 นี้เป็นที่จับตาอย่างยิ่ง นักลงทุนต่างชาติรอฟังอยู่ว่าหากคงดอกเบี้ยไว้ เป็นเพราะอะไร เพราะความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินสำคัญอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยใช้นโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น แบงก์ชาติดูทั้งเสถียรภาพด้านราคา การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพของระบบการเงิน แม้หลายฝ่ายอยากเห็นการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงๆ ลดภาระหนี้ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของนโยบายการเงิน หน้าที่ของแบงก์ชาติคือดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ยั่งยืน และทั่วถึง
แม้กระแสการลดดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นทั้งโลกในปีนี้ แต่เป้าหมายนโยบายการเงินของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน บางประเทศเน้นเสถียรภาพด้านราคา บางประเทศดูการจ้างงานควบคู่ไปด้วย ความเหมาะสมของดอกเบี้ยนโนบายแต่ละประเทศจึงต่างกันได้ จะเห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่มดอกเบี้ยนโยบายมาพักใหญ่กว่าที่แบงก์ชาติไทยจะเพิ่ม ส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เงินทุนไหลเข้าออกระหว่างประเทศ เช่น ความต่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นที่ยังคงติดลบส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าอย่างมาก ดังนั้น หากสหรัฐฯ หรือชาติตะวันตกลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่เราไม่ลด ส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายจะแคบลง แต่ถ้ารอบนี้เราลดขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังไม่ลด ส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายจะกว้างขึ้น เงินทุนไหลออก เงินบาทอ่อนค่าไปอีกก็เป็นได้
การเงินการคลังต้องเล่นคนละบทบาท
จากข่าวการแทรกแซงทางการเมืองต่อการกำหนดนโยบายการเงิน ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติยิ่งต้องชัดเจน รัฐบาลมีนโยบายการคลัง มีการใช้จ่ายภาครัฐ แบงก์ชาติมีนโยบายการเงิน เพิ่มลดดอกเบี้ย เพิ่มลดสภาพคล่อง สองฝ่ายมีจุดมุ่งหมายเดียวกันให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต แต่ต้องเล่นคนละบทบาท อย่าก้าวก่ายกัน
“ขณะที่นโยบายการคลังใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตรงจุดกว่าและเห็นผลเร็วกว่านโยบายการเงิน แต่มาพร้อมกับต้นทุนของคนทั้งประเทศ นโยบายการเงินควรทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนให้การเติบโตเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ คือตบให้อยู่ในร่องในรอย เพราะการเติบโตหวือหวา ร้อนแรงเกินควร อาจดูดีในระยะสั้นแต่อาจส่งผลร้ายต่อระบบในท้ายที่สุด”
มีหลายประเทศที่นโยบายการคลังและนโยบายการเงินไปทางเดียวกัน ไม่มีใครขัดใคร แล้วก็ชวนกันลงเหวในที่สุด เช่น ประเทศในฝั่งอเมริกาใต้ช่วงยุค 80 ภาครัฐใช้จ่ายเยอะ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องยืมเงินธนาคารกลาง ทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มสูง คือใช้ทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินแบบขยายตัว สุดท้ายระบบเศรษฐกิจที่ร้อนแรงก็นำไปสู่วิกฤตการเงิน หรือประเทศตุรกีที่ขึ้นชื่อเรื่องการขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง รัฐบาลพลิกตำราเศรษฐศาสตร์โดยให้ธนาคารกลางแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบาย มีการปลดผู้ว่าธนาคารกลางบ่อยครั้ง สุดท้ายก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตความเชื่อมั่นจากต่างชาติ
ลดดอกเบี้ยไม่ใช่ยาวิเศษ
นักเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายต่อว่า การลดดอกเบี้ยอาจไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจเสมอไปและถ้าทำได้อาจใช้เวลาเป็นปี เราจะเห็นว่าหลังจากวิกฤติซับไพรม์ ธนาคารกลางทั้งหลายลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลายประเทศใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่ก็ยังใช้เวลานานกว่าระบบเศรษฐกิจจะฟื้น หรือการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารในประเทศพัฒนาแล้วที่เร็วและแรงในรอบที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างที่กลัวกัน
“ช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายพูดเหมือนนโยบายการเงินเป็นยาวิเศษ ไม่ลดดอกเบี้ยจะทำให้ประเทศแย่ ฟื้นจากโควิดช้ากว่าเพื่อนบ้าน ไม่เห็นใจคนจน นโยบายการเงินกลายเป็นแพะรับบาป จริงๆ แล้วเราทุกคนรู้ว่าเศรษฐกิจไทยมีปัญหาเพราะปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก นอกจากเราต้องพึ่งพิงภายนอกประเทศ ในประเทศเราเองก็มีปัญหาทั้งจากสังคมสูงวัย คุณภาพการศึกษา การเมือง ความไม่เท่าเทียม สารพัดอย่างซึ่งแก้ไม่ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ย และถ้าไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจัง เราจะเป็นกบต้มเหมือนที่พูดกัน”
เมื่อถามว่าถ้าไม่ลดดอกเบี้ยแล้วทำอะไรได้อีก รศ.ดร.พรชนก ถามต่อว่าทำไมถึงอยากลดดอกเบี้ย ถ้าเป็นเพราะอยากลดภาระหนี้ ทั้งรัฐบาลและแบงก์ชาติมีมาตรการเฉพาะจุดที่ทำได้ หรือหากอยากให้มีการลงทุนเพิ่ม ไม่ใช่แค่ลดดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุน แต่ต้องสร้างให้เกิดโอกาสการลงทุนที่ทำกำไร
หลายคนมีภาพว่าเศรษฐกิจไทยกำลังวิกฤต จริงๆ แล้วการลดดอกเบี้ยนโยบายให้ผลในวงกว้าง มีทั้งข้อดีข้อเสีย และถ้าไม่ระวังก็นำไปสู่วิกฤตได้เช่นกัน คนมีรายได้น้อยอาจกู้มาบริโภค หนี้สินเพิ่ม ชำระคืนไม่ได้ เกิดหนี้เสีย คนมีรายได้สูงหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เก็งกำไร ฟองสบู่แตก เงินบาทอาจอ่อนค่าลง ระบบการเงินมีปัญหา เป็นหน้าที่ของแบงก์ชาติที่ต้องนำเรื่องทั้งหลายนี้ไปพิจารณา การเพิ่มลดหรือคงดอกเบี้ยนโยบายแบงก์ชาติต้องตอบได้ว่าทำไปเพราะอะไร ต้องไม่ทำเพราะแรงกดดัน
แม้กระแสการลดดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นทั้งโลกในปีนี้ แต่เป้าหมายนโยบายการเงินของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน บางประเทศเน้นเสถียรภาพด้านราคา บางประเทศดูการจ้างงานควบคู่ไปด้วย ความเหมาะสมของดอกเบี้ยนโนบายแต่ละประเทศจึงต่างกันได้ จะเห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่มดอกเบี้ยนโยบายมาพักใหญ่กว่าที่แบงก์ชาติไทยจะเพิ่ม ส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เงินทุนไหลเข้าออกระหว่างประเทศ เช่น ความต่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นที่ยังคงติดลบส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าอย่างมาก ดังนั้น หากสหรัฐฯ หรือชาติตะวันตกลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่เราไม่ลด ส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายจะแคบลง แต่ถ้ารอบนี้เราลดขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังไม่ลด ส่วนต่างของดอกเบี้ยนโยบายจะกว้างขึ้น เงินทุนไหลออก เงินบาทอ่อนค่าไปอีกก็เป็นได้
การเงินการคลังต้องเล่นคนละบทบาท
จากข่าวการแทรกแซงทางการเมืองต่อการกำหนดนโยบายการเงิน ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติยิ่งต้องชัดเจน รัฐบาลมีนโยบายการคลัง มีการใช้จ่ายภาครัฐ แบงก์ชาติมีนโยบายการเงิน เพิ่มลดดอกเบี้ย เพิ่มลดสภาพคล่อง สองฝ่ายมีจุดมุ่งหมายเดียวกันให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต แต่ต้องเล่นคนละบทบาท อย่าก้าวก่ายกัน
“ขณะที่นโยบายการคลังใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตรงจุดกว่าและเห็นผลเร็วกว่านโยบายการเงิน แต่มาพร้อมกับต้นทุนของคนทั้งประเทศ นโยบายการเงินควรทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนให้การเติบโตเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ คือตบให้อยู่ในร่องในรอย เพราะการเติบโตหวือหวา ร้อนแรงเกินควร อาจดูดีในระยะสั้นแต่อาจส่งผลร้ายต่อระบบในท้ายที่สุด”
มีหลายประเทศที่นโยบายการคลังและนโยบายการเงินไปทางเดียวกัน ไม่มีใครขัดใคร แล้วก็ชวนกันลงเหวในที่สุด เช่น ประเทศในฝั่งอเมริกาใต้ช่วงยุค 80 ภาครัฐใช้จ่ายเยอะ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ต้องยืมเงินธนาคารกลาง ทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มสูง คือใช้ทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินแบบขยายตัว สุดท้ายระบบเศรษฐกิจที่ร้อนแรงก็นำไปสู่วิกฤตการเงิน หรือประเทศตุรกีที่ขึ้นชื่อเรื่องการขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง รัฐบาลพลิกตำราเศรษฐศาสตร์โดยให้ธนาคารกลางแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบาย มีการปลดผู้ว่าธนาคารกลางบ่อยครั้ง สุดท้ายก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตความเชื่อมั่นจากต่างชาติ
ลดดอกเบี้ยไม่ใช่ยาวิเศษ
นักเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายต่อว่า การลดดอกเบี้ยอาจไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจเสมอไปและถ้าทำได้อาจใช้เวลาเป็นปี เราจะเห็นว่าหลังจากวิกฤติซับไพรม์ ธนาคารกลางทั้งหลายลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลายประเทศใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ แต่ก็ยังใช้เวลานานกว่าระบบเศรษฐกิจจะฟื้น หรือการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารในประเทศพัฒนาแล้วที่เร็วและแรงในรอบที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างที่กลัวกัน
“ช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายพูดเหมือนนโยบายการเงินเป็นยาวิเศษ ไม่ลดดอกเบี้ยจะทำให้ประเทศแย่ ฟื้นจากโควิดช้ากว่าเพื่อนบ้าน ไม่เห็นใจคนจน นโยบายการเงินกลายเป็นแพะรับบาป จริงๆ แล้วเราทุกคนรู้ว่าเศรษฐกิจไทยมีปัญหาเพราะปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก นอกจากเราต้องพึ่งพิงภายนอกประเทศ ในประเทศเราเองก็มีปัญหาทั้งจากสังคมสูงวัย คุณภาพการศึกษา การเมือง ความไม่เท่าเทียม สารพัดอย่างซึ่งแก้ไม่ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ย และถ้าไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจัง เราจะเป็นกบต้มเหมือนที่พูดกัน”
เมื่อถามว่าถ้าไม่ลดดอกเบี้ยแล้วทำอะไรได้อีก รศ.ดร.พรชนก ถามต่อว่าทำไมถึงอยากลดดอกเบี้ย ถ้าเป็นเพราะอยากลดภาระหนี้ ทั้งรัฐบาลและแบงก์ชาติมีมาตรการเฉพาะจุดที่ทำได้ หรือหากอยากให้มีการลงทุนเพิ่ม ไม่ใช่แค่ลดดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุน แต่ต้องสร้างให้เกิดโอกาสการลงทุนที่ทำกำไร
หลายคนมีภาพว่าเศรษฐกิจไทยกำลังวิกฤต จริงๆ แล้วการลดดอกเบี้ยนโยบายให้ผลในวงกว้าง มีทั้งข้อดีข้อเสีย และถ้าไม่ระวังก็นำไปสู่วิกฤตได้เช่นกัน คนมีรายได้น้อยอาจกู้มาบริโภค หนี้สินเพิ่ม ชำระคืนไม่ได้ เกิดหนี้เสีย คนมีรายได้สูงหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เก็งกำไร ฟองสบู่แตก เงินบาทอาจอ่อนค่าลง ระบบการเงินมีปัญหา เป็นหน้าที่ของแบงก์ชาติที่ต้องนำเรื่องทั้งหลายนี้ไปพิจารณา การเพิ่มลดหรือคงดอกเบี้ยนโยบายแบงก์ชาติต้องตอบได้ว่าทำไปเพราะอะไร ต้องไม่ทำเพราะแรงกดดัน