7 จุดเด่น บมจ. ธนาคารไทยเครดิต (CREDIT) ไอพีโอคุณภาพประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่เข้ามาระดมทุนครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีของตลาดหุ้นไทย โดยพร้อมสร้างการเติบโตในธุรกิจด้านการเงินยิ่งกว่าเดิม ซึ่งธนาคารไทยเครดิตมีจุดเด่นดังต่อไปนี้
1. มุ่งเน้นสินเชื่อรายย่อย
ธนาคารไทยเครดิตให้ความสำคัญกับการให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอี และไมโครเอสเอ็มอี กลุ่มนี้มักเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ธนาคารไทยเครดิตจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กลุ่มนี้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาธุรกิจ
2. ผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย
มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ครอบคลุมสินเชื่อ เงินฝาก บัตร บริการทางการเงินดิจิทัล และบริการอื่นๆ
3. ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่แข่งขันได้
ธนาคารเสนออัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่แข่งขันได้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่าย
4. บริการที่สะดวกและรวดเร็ว
มีช่องทางการให้บริการที่หลากหลาย ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านสาขาของธนาคาร เว็บไซต์ แอปพลิเคชันบนมือถือ ตู้เอทีเอ็ม และเครื่องรับฝากเงิน
5. พนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์
มีพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์พร้อมให้บริการและคำปรึกษาแก่ลูกค้า
6. เทคโนโลยีทันสมัย
ธนาคารลงทุนในเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบและบริการให้ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล
7. ความน่าเชื่อถือ
ธนาคารได้รับรางวัลมากมายจากสถาบันต่างๆ สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของธนาคาร
ทั้งนี้ CREDIT มีราคาจองไอพีโอหุ้นละ 29.00 บาท และจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 9 ก.พ. 2567
CREDIT มีทุนชำระแล้ว 6,146.45 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท โดยเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนรวม 254.13 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิมของ OCA Investment Holdings I Pte. Ltd. 189.42 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 64.71 ล้านหุ้น มีธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน มีบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญร่วม
โดยเงินระดมทุนที่ได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรกภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีจำนวนโดยประมาณ 1,790 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อประมาณ 895 ล้านบาท และปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ประมาณ 895 ล้านบาท
CREDIT มีผู้ถือหุ้น 3 ลำดับแรกหลัง IPO ได้แก่ 1) กลุ่มวี.ซี.สมบัติ ถือหุ้น 60.40% 2) นายวิญญู ไชยวรรณ ถือหุ้น 6.40% และ 3) กลุ่มนายวีรเวท ไชยวรรณ ถือหุ้น 1.90% การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO มีการพิจารณาจากการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) โดยราคาที่เสนอขายคิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Price to Book Value : P/BV) เท่ากับ 2.12 เท่า เมื่อเทียบกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value Per Share) ที่ 13.70 บาทต่อหุ้น ซึ่งคำนวณจากมูลค่าตามบัญชีของธนาคารฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดภายหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้
1. มุ่งเน้นสินเชื่อรายย่อย
ธนาคารไทยเครดิตให้ความสำคัญกับการให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอี และไมโครเอสเอ็มอี กลุ่มนี้มักเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ธนาคารไทยเครดิตจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กลุ่มนี้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาธุรกิจ
2. ผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลาย
มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ครอบคลุมสินเชื่อ เงินฝาก บัตร บริการทางการเงินดิจิทัล และบริการอื่นๆ
3. ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่แข่งขันได้
ธนาคารเสนออัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่แข่งขันได้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่าย
4. บริการที่สะดวกและรวดเร็ว
มีช่องทางการให้บริการที่หลากหลาย ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านสาขาของธนาคาร เว็บไซต์ แอปพลิเคชันบนมือถือ ตู้เอทีเอ็ม และเครื่องรับฝากเงิน
5. พนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์
มีพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์พร้อมให้บริการและคำปรึกษาแก่ลูกค้า
6. เทคโนโลยีทันสมัย
ธนาคารลงทุนในเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบและบริการให้ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล
7. ความน่าเชื่อถือ
ธนาคารได้รับรางวัลมากมายจากสถาบันต่างๆ สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของธนาคาร
ทั้งนี้ CREDIT มีราคาจองไอพีโอหุ้นละ 29.00 บาท และจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 9 ก.พ. 2567
CREDIT มีทุนชำระแล้ว 6,146.45 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท โดยเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนรวม 254.13 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิมของ OCA Investment Holdings I Pte. Ltd. 189.42 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 64.71 ล้านหุ้น มีธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน มีบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญร่วม
โดยเงินระดมทุนที่ได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรกภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีจำนวนโดยประมาณ 1,790 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อประมาณ 895 ล้านบาท และปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure) ประมาณ 895 ล้านบาท
CREDIT มีผู้ถือหุ้น 3 ลำดับแรกหลัง IPO ได้แก่ 1) กลุ่มวี.ซี.สมบัติ ถือหุ้น 60.40% 2) นายวิญญู ไชยวรรณ ถือหุ้น 6.40% และ 3) กลุ่มนายวีรเวท ไชยวรรณ ถือหุ้น 1.90% การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO มีการพิจารณาจากการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) โดยราคาที่เสนอขายคิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Price to Book Value : P/BV) เท่ากับ 2.12 เท่า เมื่อเทียบกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value Per Share) ที่ 13.70 บาทต่อหุ้น ซึ่งคำนวณจากมูลค่าตามบัญชีของธนาคารฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดภายหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้