จากการสำรวจข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน พบว่ามีหุ้น 21 บริษัทที่ยังถูกขึ้นเครื่องหมาย C และยังไม่สามารถแก้ไขเหตุของการถูกขึ้นเครื่องหมายดังกล่าวได้
ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ได้ออกหลักเกณฑ์การขึ้นเครื่องหมาย “C” (Caution) บนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อเตือนผู้ลงทุนกรณีบริษัทจดทะเบียนมีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจ ซึ่งผู้ลงทุนจะต้องซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วยบัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance) เท่านั้น โดยเกณฑ์การขึ้นเครื่องหมาย C เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ การพิจารณาส่วนของผู้ถือหุ้นและรายงานของผู้สอบบัญชีจะเริ่มพิจารณาจากงบการเงินรายไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป
ทั้งนี้จากการสำรวจดังกล่าวพบว่า หนึ่งในหุ้นที่ยังถูกขึ้นเครื่องหมายดังกล่าวยาวนานกว่า 6 ปี คือ หุ้น NEP ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ของทุนชำระแล้วให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด จึงจะสามารถปลดเครื่องหมาย C ได้
ทั้งนี้ หากพิจารณาที่โครงสร้างผู้ถือหุ้น NEP ยังพบว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย
บริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) NEP ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กระสอบพลาสติกสาน (Woven Bag) ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์ที่บริษัทจำหน่ายได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทกระสอบ ผลิตภัณฑ์ประเภทพลาสติกชนิดอ่อน ผลิตภัณฑ์สำหรับช่องทางออนไลน์
ทั้งนี้ NEP ถูกตลาดหลักทรัพย์ฯสั่งให้ขึ้นเครื่องหมาย C ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคิม 2561 และตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ยังมีการติดตามและชี้แจงการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน 2566ได้จัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) เนื่องจากหลักทรัพย์ของบริษัทถูกขึ้นเครื่องหมาย C จากสาเหตุที่บริษัทมี ส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ของทุนชำระแล้ว ซึ่งบริษัททราบถึงสถานการณ์ของผลการดำเนินงานบริษัท จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
เป้าหมายแรก
- หยุดผลการดำเนินงานที่ติดลบของงบกำไรขาดทุน บริษัทจะพยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้มีการลด Fixed cost ลงมา ได้ค่อนข้างมาก แต่ยังไม่สามารถจะหยุดผลการขาดทุนได้ ดังนั้น บริษัทจะดำเนินการเชิงรุกในการที่จะหยุดผลการ ขาดทุน
- หยุดกระแสเงินสดไหลออก
บริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงแผนธุรกิจและตัดรายการธุรกิจที่ขาดทุนออกทั้งหมดให้เหลือเฉพาะธุรกิจและสินค้าที่มีกำไรเท่านั้น เพื่อหยุดกระแสเงินสดไหลออก และทำให้งบกระแสเงินสดกลับมาเป็นบวก โดยมีระยะเวลาในการ ดำเนินการเป้าหมายแรก ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567
เป้าหมายต่อไป
- ศึกษาธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพและมีความเสี่ยงน้อยมาเสริมให้บริษัทมีรายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้นบริษัทจะวางแผนให้มีผลประกอบการที่ดีและมีความยั่งยืนต่อไปในอนาคตโดยมีระยะเวลาการศึกษาหลังจากเป้าหมายแรกสำเร็จแล้ว ไม่เกิน 6 เดือน ประมาณการช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 เพื่อที่จะศึกษาธุรกิจใหม่เข้ามาเพื่อที่จะให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญและมีความยั่งยืนในอนาคต โดยบริษัทจะคำนึงถึงความเสี่ยงและมีการศึกษาทบทวนความเสี่ยงอย่างดีก่อนที่จะมีการลงทุนเพิ่มเติม