จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : อาชญากรไซเบอร์โตต่อเนื่อง หนุนธุรกิจ Cyber Security “TPS”
19 กุมภาพันธ์ 2567
ระบบ Securityมีบทบาทมากขึ้นตามการเติบโตของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่ง Resecurity ระบุ ปี 67 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคของไทยถูกละเมิดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน หนุนธุรกิจ Cyber Security ของ TPS เติบโตต่อเนื่อง
Gartner บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลกให้ข้อมูลว่าปี 2025 องค์กรทั่วโลก จะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4% ขณะที่ประเทศไทยเติบโตขึ้นถึง 36.6% ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ทำให้ระบบ Security เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะองค์กรต่างต้องรักษาข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจให้ปลอดภัย
ขณะเดียวกันบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก Resecurity ระบุในรายงานว่า สถานการณ์ของประเทศไทย หลังมีอาชญากรไซเบอร์นำข้อมูล PII หรือข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลได้ ซึ่งเป็นข้อมูลของพลเมืองไทยจำนวนมาก ไปประกาศขายผ่าน Dark Web หรือเครือข่ายเว็บมืดที่มักถูกใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลผิดกฎหมาย
ซึ่งช่วงปี 67 ประเทศไทยพบปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี66 จากสถานการณ์ช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว มีการตรวจพบการละเมิดข้อมูลสำคัญของพลเมืองอย่างน้อย 14 ครั้ง ในแพลตฟอร์มของอาชญากรไซเบอร์ ส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มที่เน้นข้อมูลผู้บริโภคเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มอาชญากรที่กำลังเพ่งเล็งไปที่ข้อมูลของคนไทยอย่างจริงจัง โดยมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐของไทย
ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลคนไทยทั้งหมดที่มีการรั่วไหลเป็นจำนวนมาก และยังไม่สามารถระบุถึงต้นตอของการละเมิดข้อมูลได้อย่างชัดเจน แต่ที่ชัดเจนคือปลายทางของการนำข้อมูลไปใช้งาน มักจะเป็นการก่อเหตุหลอกลวงออนไลน์ สแกมเมอร์ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์
แต่ประเทศไทยก็ให้ความสำคัญในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก ท่ามกลางภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายที่ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับประเทศไทยในการปรับใช้และเสริมสร้างกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แข็งแกร่งมากขึ้น เช่น การบังคับใช้กฎระเบียบความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวด และการปลูกฝังวัฒนธรรมการรู้เท่าทันอันตรายทางไซเบอร์ให้กับประชาชนและสถาบันต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยยังคงรักษาความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในเวทีดิจิทัลระดับนานาชาติ
ภัยจากไซเบอร์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วตามความต้องการใช้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) มีความจำเป็นมากขึ้น หนุนธุรกิจของ บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดย “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPS ระบุ บริษัทได้เร่งขยายการให้บริการธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) ให้ครอบคลุมในกลุ่มลูกค้าเดิม และการรุกขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มเติม เพื่อมุ่งสู่การเป็น เทค-คอมพานี (Tech company) อย่างครบวงจร ซึ่งมั่นใจว่า ผลงานปีนี้จะเติบโตไม่น้อยกว่า 20-25% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ได้ ทั้งในด้านรายได้ และกำไร
Gartner บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลกให้ข้อมูลว่าปี 2025 องค์กรทั่วโลก จะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4% ขณะที่ประเทศไทยเติบโตขึ้นถึง 36.6% ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ทำให้ระบบ Security เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะองค์กรต่างต้องรักษาข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจให้ปลอดภัย
ขณะเดียวกันบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก Resecurity ระบุในรายงานว่า สถานการณ์ของประเทศไทย หลังมีอาชญากรไซเบอร์นำข้อมูล PII หรือข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลได้ ซึ่งเป็นข้อมูลของพลเมืองไทยจำนวนมาก ไปประกาศขายผ่าน Dark Web หรือเครือข่ายเว็บมืดที่มักถูกใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลผิดกฎหมาย
ซึ่งช่วงปี 67 ประเทศไทยพบปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี66 จากสถานการณ์ช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว มีการตรวจพบการละเมิดข้อมูลสำคัญของพลเมืองอย่างน้อย 14 ครั้ง ในแพลตฟอร์มของอาชญากรไซเบอร์ ส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มที่เน้นข้อมูลผู้บริโภคเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มอาชญากรที่กำลังเพ่งเล็งไปที่ข้อมูลของคนไทยอย่างจริงจัง โดยมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐของไทย
ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลคนไทยทั้งหมดที่มีการรั่วไหลเป็นจำนวนมาก และยังไม่สามารถระบุถึงต้นตอของการละเมิดข้อมูลได้อย่างชัดเจน แต่ที่ชัดเจนคือปลายทางของการนำข้อมูลไปใช้งาน มักจะเป็นการก่อเหตุหลอกลวงออนไลน์ สแกมเมอร์ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์
แต่ประเทศไทยก็ให้ความสำคัญในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก ท่ามกลางภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายที่ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับประเทศไทยในการปรับใช้และเสริมสร้างกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แข็งแกร่งมากขึ้น เช่น การบังคับใช้กฎระเบียบความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวด และการปลูกฝังวัฒนธรรมการรู้เท่าทันอันตรายทางไซเบอร์ให้กับประชาชนและสถาบันต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยยังคงรักษาความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในเวทีดิจิทัลระดับนานาชาติ
ภัยจากไซเบอร์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วตามความต้องการใช้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) มีความจำเป็นมากขึ้น หนุนธุรกิจของ บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดย “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPS ระบุ บริษัทได้เร่งขยายการให้บริการธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) ให้ครอบคลุมในกลุ่มลูกค้าเดิม และการรุกขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มเติม เพื่อมุ่งสู่การเป็น เทค-คอมพานี (Tech company) อย่างครบวงจร ซึ่งมั่นใจว่า ผลงานปีนี้จะเติบโตไม่น้อยกว่า 20-25% สร้างสถิติสูงสุดใหม่ได้ ทั้งในด้านรายได้ และกำไร