บมจ. เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ (NL) ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 20 ก.พ. นี้ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,300 ล้านบาท ลุ้นสร้างความประทับเหนือราคาจองที่ 2.60 บาท บทวิเคราะห์ บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์คาดกำไรปี 66 โตแรง 165 % และปีนี้ยังโตต่ออีก ด้านโบรกฯ ชี้ราคาพื้นฐานไกลถึง 5.90-7.50 บาท ในขณะที่กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมร่วมกัน Lock up หุ้นเดิมทั้งหมด 100% เป็นเวลา 2 เดือน
นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยินดีต้อนรับ บมจ. เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง หมวดธุรกิจบริการรับเหมาก่อสร้าง โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “NL” ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567
NL ประกอบธุรกิจให้บริการรับเหมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งให้บริการคลอบคลุมอย่างครบวงจรตั้งแต่ขั้นตอนสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างงานอาคาร ในฐานะผู้รับเหมาหลัก โดยมีศักยภาพในการรับงานได้จากทั้งภาครัฐและเอกชน มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างอาคารที่มีโครงสร้างพิเศษและมาตรฐานเฉพาะทาง โดยเฉพาะอาคารสถานพยาบาล โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ส่วนใหญ่จากลูกค้าภาครัฐ จากงานประเภทสถานพยาบาล นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัท จึงจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อดำเนินธุรกิจด้านแรงงาน รวมถึงมีโรงงานตัดและดัดเหล็กเส้นเพื่อบริหารการใช้เหล็กเส้นอย่างมีประสิทธิภาพ และโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้รองรับความต้องการของลูกค้าในงานตกแต่งภายในอาคาร ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทมีงานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ 10 โครงการ คิดเป็นมูลค่าที่ยังไม่รับรู้รายได้ 2,107 ล้านบาท
NL มีจำนวนหุ้นที่ออกและชาระแล้วหลัง IPO 500,000,000 หุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเดิม 370,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 130,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO 500,000,000 บาท โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2567 ในราคาหุ้นละ 2.60 บาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,300 ล้านบาท ทั้งนี้ ราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) เท่ากับ 8.44 เท่า โดยคำนวณจากผลประกอบการของบริษัทในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งเท่ากับ 154.10 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขาย IPO โดยมี บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญ
นายศรันย์ โรจน์เลิศจรรยา กรรมการผู้จัดการ บมจ. เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ (NL) เปิดเผยว่า NL ดำเนินธุรกิจให้บริการรับเหมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอย่างครบวงจร โดยมีประสบการณ์และผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วกว่า 43 ปี บริษัทมีทีมงานผู้บริหารและทีมวิศวกรซึ่งมีความชำนาญ ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความถูกต้อง มีคุณภาพ และสามารถส่งมอบงานบริการที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด ที่ผ่านมาบริษัทได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าภาครัฐบาลและภาคเอกชน ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างในโครงการต่างๆ ทั้งนี้บริษัทมีแผนจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ เพื่อซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับดำเนินธุรกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทเพื่อรองรับงานก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
NL มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัททั้งนี้ บริษัทอาจพิจารณาจ่ายเงินปันผลโดยคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ผลประกอบการ สภาพคล่องทางการเงิน กระแสเงินสด และแผนการขยายกิจการในอนาคต เพื่อผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ภายหลังการเสนอขาย IPO NL จะมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มของครอบครัวโรจน์เลิศจรรยา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัทถือหุ้นรวม 73.62% แบ่งเป็นการถือหุ้นผ่านบริษัท อาร์แอล จรรยา กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 30% และการถือหุ้น
รายบุคลรวม 43.62%
ขณะที่ กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ NL ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ก่อตั้ง มีความมั่นใจในการเติบโต พร้อมใจร่วมกัน Lock up หุ้นเดิมทั้งหมด 100% เป็นระยะเวลา 2 เดือน
ด้านบทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ ระบุว่า มอง NL เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีจุดเด่นในงานก่อสร้างประเภทที่มีความซับซ้อนสูง ตัวอย่างเช่น งานโครงการก่อสร้างสถานพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารในพระสังฆราชูปถัมภ์ เป็นต้น ด้วยประสบการณ์ของทีมผู้บริหารกว่า 40 ปีในอุตสาหกรรม รวมถึงการบริหารจัดการควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ซึ่งใช้ในการถอดแบบโครงสร้าง ออกแบบอาคาร 3 มิติ และ การมีโรงงานตัด ดัดเหล็กเส้น และ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ใน จังหวัด นครปฐม เป็นของตนเอง ช่วยบริหารการใช้เหล็กเส้นอย่างเหมาะสมและช่วยลดความสูญเสียจากการตัดเหล็ก
พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 66 เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น 165.1% YoY อยู่ที่ 153 ล้านบาท ผลจากกลับมาเปิดประมูลโครงการงานก่อสร้าง ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตามปกติหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย และ คาดก าไรสุทธิ ปี 67 จะเติบโต 9.0% YoY อยู่ที่ 167 ล้านบาท หนุนด้วยการเข้าร่วมประมูลงานโครงการก่อสร้างที่มีความซับซ้อน(สถานพยาบาล)ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญ
สอดคล้องกับ บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) (ปัจจุบัน "ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)" เพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)") คาดว่า NL จะมีการเติบโตเฉลี่ย CAGR ของ EPS สำหรับปีFY65-68 ที่สูงกว่าที่ 38.1% (เทียบค่าเฉลี่ยของคู่แข่งที่ 30.3%) จากการเข้าประมูลโครงการที่สูงขึ้น รวมถึงมีการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพหนุนอัตรากำไรสุทธิและการเติบโตระยะยาว
รวบรวมราคาเป้าหมายพื้นฐานจาก 3 บริษัทหลักทรัพย์ดังนี้
BYD 7.50 บาท
SBITO 6.00 บาท
CGSI 5.90 บาท
นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยินดีต้อนรับ บมจ. เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง หมวดธุรกิจบริการรับเหมาก่อสร้าง โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “NL” ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567
NL ประกอบธุรกิจให้บริการรับเหมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งให้บริการคลอบคลุมอย่างครบวงจรตั้งแต่ขั้นตอนสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างงานอาคาร ในฐานะผู้รับเหมาหลัก โดยมีศักยภาพในการรับงานได้จากทั้งภาครัฐและเอกชน มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างอาคารที่มีโครงสร้างพิเศษและมาตรฐานเฉพาะทาง โดยเฉพาะอาคารสถานพยาบาล โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ส่วนใหญ่จากลูกค้าภาครัฐ จากงานประเภทสถานพยาบาล นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัท จึงจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อดำเนินธุรกิจด้านแรงงาน รวมถึงมีโรงงานตัดและดัดเหล็กเส้นเพื่อบริหารการใช้เหล็กเส้นอย่างมีประสิทธิภาพ และโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้รองรับความต้องการของลูกค้าในงานตกแต่งภายในอาคาร ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 บริษัทมีงานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ 10 โครงการ คิดเป็นมูลค่าที่ยังไม่รับรู้รายได้ 2,107 ล้านบาท
NL มีจำนวนหุ้นที่ออกและชาระแล้วหลัง IPO 500,000,000 หุ้น ประกอบด้วย หุ้นสามัญเดิม 370,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 130,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO 500,000,000 บาท โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2567 ในราคาหุ้นละ 2.60 บาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,300 ล้านบาท ทั้งนี้ ราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) เท่ากับ 8.44 เท่า โดยคำนวณจากผลประกอบการของบริษัทในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งเท่ากับ 154.10 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขาย IPO โดยมี บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญ
นายศรันย์ โรจน์เลิศจรรยา กรรมการผู้จัดการ บมจ. เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ (NL) เปิดเผยว่า NL ดำเนินธุรกิจให้บริการรับเหมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอย่างครบวงจร โดยมีประสบการณ์และผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วกว่า 43 ปี บริษัทมีทีมงานผู้บริหารและทีมวิศวกรซึ่งมีความชำนาญ ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความถูกต้อง มีคุณภาพ และสามารถส่งมอบงานบริการที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด ที่ผ่านมาบริษัทได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าภาครัฐบาลและภาคเอกชน ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างในโครงการต่างๆ ทั้งนี้บริษัทมีแผนจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ เพื่อซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับดำเนินธุรกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทเพื่อรองรับงานก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
NL มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัททั้งนี้ บริษัทอาจพิจารณาจ่ายเงินปันผลโดยคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ผลประกอบการ สภาพคล่องทางการเงิน กระแสเงินสด และแผนการขยายกิจการในอนาคต เพื่อผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ภายหลังการเสนอขาย IPO NL จะมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มของครอบครัวโรจน์เลิศจรรยา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัทถือหุ้นรวม 73.62% แบ่งเป็นการถือหุ้นผ่านบริษัท อาร์แอล จรรยา กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 30% และการถือหุ้น
รายบุคลรวม 43.62%
ขณะที่ กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ NL ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ก่อตั้ง มีความมั่นใจในการเติบโต พร้อมใจร่วมกัน Lock up หุ้นเดิมทั้งหมด 100% เป็นระยะเวลา 2 เดือน
ด้านบทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ ระบุว่า มอง NL เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีจุดเด่นในงานก่อสร้างประเภทที่มีความซับซ้อนสูง ตัวอย่างเช่น งานโครงการก่อสร้างสถานพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลราชวิถี,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารในพระสังฆราชูปถัมภ์ เป็นต้น ด้วยประสบการณ์ของทีมผู้บริหารกว่า 40 ปีในอุตสาหกรรม รวมถึงการบริหารจัดการควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ซึ่งใช้ในการถอดแบบโครงสร้าง ออกแบบอาคาร 3 มิติ และ การมีโรงงานตัด ดัดเหล็กเส้น และ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ใน จังหวัด นครปฐม เป็นของตนเอง ช่วยบริหารการใช้เหล็กเส้นอย่างเหมาะสมและช่วยลดความสูญเสียจากการตัดเหล็ก
พร้อมคาดกำไรสุทธิปี 66 เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น 165.1% YoY อยู่ที่ 153 ล้านบาท ผลจากกลับมาเปิดประมูลโครงการงานก่อสร้าง ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตามปกติหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย และ คาดก าไรสุทธิ ปี 67 จะเติบโต 9.0% YoY อยู่ที่ 167 ล้านบาท หนุนด้วยการเข้าร่วมประมูลงานโครงการก่อสร้างที่มีความซับซ้อน(สถานพยาบาล)ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญ
สอดคล้องกับ บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) (ปัจจุบัน "ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)" เพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)") คาดว่า NL จะมีการเติบโตเฉลี่ย CAGR ของ EPS สำหรับปีFY65-68 ที่สูงกว่าที่ 38.1% (เทียบค่าเฉลี่ยของคู่แข่งที่ 30.3%) จากการเข้าประมูลโครงการที่สูงขึ้น รวมถึงมีการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพหนุนอัตรากำไรสุทธิและการเติบโตระยะยาว
รวบรวมราคาเป้าหมายพื้นฐานจาก 3 บริษัทหลักทรัพย์ดังนี้
BYD 7.50 บาท
SBITO 6.00 บาท
CGSI 5.90 บาท