จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : AMR ธุรกิจ “จักรยานยนต์ไฟฟ้า”ครบวงจรเพิ่มสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่อีก 300 ตู้
22 กุมภาพันธ์ 2566
อานิสงส์จากการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้วงการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวสูงขึ้นอย่างมาก และหนุนธุรกิจ บมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) ที่บริษัทตั้งเป้าขยายธุรกิจรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร โดยเฉพาะสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ปี 66 จะเพิ่มอีก 300 ตู้
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกคาดว่าจะมีมากกว่า 240 ล้านคัน และมียอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าถึงปีละประมาณ 20 ล้านคัน โดยประเทศจีนมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ซึ่งทาง BNEF คาดว่าจะเติบโตถึงประมาณปีละ 70 ล้านคัน
สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลการจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่ง พบว่า ในปี 2562 มีจำนวนจักรยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนใหม่ 791 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 486% เมื่อเทียบกับปี 2561
ส่วนที่สำคัญของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า คงหนีไม่พ้นเรื่องของแบตเตอรี่ โดยการอัดประจุไฟฟ้าของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อไปเก็บในแบตเตอรี่ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
2.1 ระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบมีสาย เป็นการอัดประจุไฟฟ้าด้วยการเชื่อมต่อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าโดยตรงผ่านการเสียบปลั๊ก โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) ซึ่งจะใช้เวลาในการอัดประจุประมาณ 4-8 ชั่วโมง และ การอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) เหมือนของรถยนต์ ซึ่งใช้เวลาใน การอัดประจุเพียง 15-20 นาที
2.2 ระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบไร้สาย (Wireless Charge) การอัดประจุ ไฟฟ้าในรูปแบบนี้มีความสะดวกและปลอดภัยในการอัดประจุไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการอัดประจุไฟฟ้าแบบไร้สายมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพการอัดประจุไฟฟ้า จึงยังไม่เป็นที่นิยม
2.3 ระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping) เป็นระบบที่ผู้ใช้งาน สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งถูกอัดประจุโดยใช้เครื่องอัดประจุภายนอกกลับเข้า ไปในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
และหากกล่าวถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับแบตเตอรี่ในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ต้องนึกถึงบมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) ที่บริษัทได้แตกไลน์เข้าสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ การขายและให้บริการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แพลตฟอร์ม "มาชาร์จ" (MAcharge) ที่มาพร้อมกับสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ รวมถึงบริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ และระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลที่เกียวข้องให้กับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มเดินหน้าธุรกิจอย่างเต็มที่ในปี 2566 ถือเป็นการเข้ามาเติมเต็มและเปิดมิติใหม่ให้กับธุรกิจจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีการให้บริการอย่างครบวงจร โดยคาดจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ล่าสุดประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “มารุต ศิริโก” ได้นำบริษัทเข้าร่วมออกบูธในงาน Bangkok EV Expo 2023 "มหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก" โดยนำ MaCharge มาแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการแพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งจะช่วยสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในแพลตฟอร์มดังกล่าว รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะนำมาใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับกระแสลดภาวะโลกร้อน และพัฒนาไปสู่ธุรกิจยั่งยืนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต
"บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการต้องการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดย MaCharge จะมี Web Application ในการบริหารจัดการจากส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และสถานีฯ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน ขณะเดียวกันคาดว่าจะมีผู้ให้ความสนใจ และนำแพลตฟอร์มไปใช้งานจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอน" นายมารุต กล่าว
สำหรับภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 66 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 30-40% โดยจะเน้นรุกขยายธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve ของบริษัทฯ โดยเฉพาะในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่เกี่ยวกับกรีนซิตี้และระบบโซลาร์เซลล์ รวมทั้งจะมีการศึกษาและพัฒนาการลงทุนในการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นเพิ่มเติม
ขณะที่ธุรกิจกรีนทรานสปอร์ต กลุ่ม EV Bike จะมีการเติบโตมากขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็นการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้ในรถ EV เช่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่คนทั่วไปให้ความสนใจและหันมาใช้งานมากขึ้น ดังนั้น ปีนี้จะเดินหน้าขยายรูปแบบธุรกิจนี้เต็มรูปแบบ คาดว่าจะมีการขยายจำนวนสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Swapping Battery Station) เพิ่มขึ้นอีก 300 ตู้ โดยจะเติบโตไปคู่กับพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสถานที่รองรับตู้ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันจะมีการร่วมจัดจำหน่ายมอเตอร์ไซค์ระบบไฟฟ้าอีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทยังคงใช้ศักยภาพความเป็น SI รับงานการรับเหมาโครงการแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Project) การให้บริการสัญญาบริหารจัดการและบริการซ่อมบำรุง (Operation and Maintenance) และการรับดำเนินงานแบบสัมปทานระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีมูลค่างานที่รอรับรู้รายได้ (backlog) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจากการรับรู้รายได้จากธุรกิจปัจจุบันและธุรกิจใหม่ จะช่วยผลักดันให้ปีนี้สามารถเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกคาดว่าจะมีมากกว่า 240 ล้านคัน และมียอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าถึงปีละประมาณ 20 ล้านคัน โดยประเทศจีนมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ซึ่งทาง BNEF คาดว่าจะเติบโตถึงประมาณปีละ 70 ล้านคัน
สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลการจดทะเบียนใหม่กับกรมการขนส่ง พบว่า ในปี 2562 มีจำนวนจักรยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนใหม่ 791 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 486% เมื่อเทียบกับปี 2561
ส่วนที่สำคัญของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า คงหนีไม่พ้นเรื่องของแบตเตอรี่ โดยการอัดประจุไฟฟ้าของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อไปเก็บในแบตเตอรี่ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
2.1 ระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบมีสาย เป็นการอัดประจุไฟฟ้าด้วยการเชื่อมต่อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าโดยตรงผ่านการเสียบปลั๊ก โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การอัดประจุไฟฟ้าแบบปกติ (Normal Charge) ซึ่งจะใช้เวลาในการอัดประจุประมาณ 4-8 ชั่วโมง และ การอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) เหมือนของรถยนต์ ซึ่งใช้เวลาใน การอัดประจุเพียง 15-20 นาที
2.2 ระบบอัดประจุไฟฟ้าแบบไร้สาย (Wireless Charge) การอัดประจุ ไฟฟ้าในรูปแบบนี้มีความสะดวกและปลอดภัยในการอัดประจุไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการอัดประจุไฟฟ้าแบบไร้สายมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพการอัดประจุไฟฟ้า จึงยังไม่เป็นที่นิยม
2.3 ระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping) เป็นระบบที่ผู้ใช้งาน สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งถูกอัดประจุโดยใช้เครื่องอัดประจุภายนอกกลับเข้า ไปในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
และหากกล่าวถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับแบตเตอรี่ในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ต้องนึกถึงบมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) ที่บริษัทได้แตกไลน์เข้าสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ การขายและให้บริการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าภายใต้แพลตฟอร์ม "มาชาร์จ" (MAcharge) ที่มาพร้อมกับสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ รวมถึงบริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ และระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลที่เกียวข้องให้กับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มเดินหน้าธุรกิจอย่างเต็มที่ในปี 2566 ถือเป็นการเข้ามาเติมเต็มและเปิดมิติใหม่ให้กับธุรกิจจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีการให้บริการอย่างครบวงจร โดยคาดจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ล่าสุดประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “มารุต ศิริโก” ได้นำบริษัทเข้าร่วมออกบูธในงาน Bangkok EV Expo 2023 "มหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก" โดยนำ MaCharge มาแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการแพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งจะช่วยสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในแพลตฟอร์มดังกล่าว รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะนำมาใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับกระแสลดภาวะโลกร้อน และพัฒนาไปสู่ธุรกิจยั่งยืนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต
"บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการต้องการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดย MaCharge จะมี Web Application ในการบริหารจัดการจากส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และสถานีฯ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้งาน ขณะเดียวกันคาดว่าจะมีผู้ให้ความสนใจ และนำแพลตฟอร์มไปใช้งานจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอน" นายมารุต กล่าว
สำหรับภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 66 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 30-40% โดยจะเน้นรุกขยายธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve ของบริษัทฯ โดยเฉพาะในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่เกี่ยวกับกรีนซิตี้และระบบโซลาร์เซลล์ รวมทั้งจะมีการศึกษาและพัฒนาการลงทุนในการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นเพิ่มเติม
ขณะที่ธุรกิจกรีนทรานสปอร์ต กลุ่ม EV Bike จะมีการเติบโตมากขึ้น ซึ่งปีที่ผ่านมาเป็นการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปใช้ในรถ EV เช่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่คนทั่วไปให้ความสนใจและหันมาใช้งานมากขึ้น ดังนั้น ปีนี้จะเดินหน้าขยายรูปแบบธุรกิจนี้เต็มรูปแบบ คาดว่าจะมีการขยายจำนวนสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Swapping Battery Station) เพิ่มขึ้นอีก 300 ตู้ โดยจะเติบโตไปคู่กับพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสถานที่รองรับตู้ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันจะมีการร่วมจัดจำหน่ายมอเตอร์ไซค์ระบบไฟฟ้าอีกด้วย
ทั้งนี้ บริษัทยังคงใช้ศักยภาพความเป็น SI รับงานการรับเหมาโครงการแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Project) การให้บริการสัญญาบริหารจัดการและบริการซ่อมบำรุง (Operation and Maintenance) และการรับดำเนินงานแบบสัมปทานระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีมูลค่างานที่รอรับรู้รายได้ (backlog) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจากการรับรู้รายได้จากธุรกิจปัจจุบันและธุรกิจใหม่ จะช่วยผลักดันให้ปีนี้สามารถเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้