นายรัฐวิรุฬห์ ชาญจึงถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีเมียร์ ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด (มหาชน) หรือ PQS ผู้ผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (Premium Grade ) และแป้งดัดแปร (Modified Starch) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2567 ว่า เป็นปีที่มีความท้าทาย จากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่บริษัทยังมั่นใจว่าจะมีการเติบโตที่ดี โดยวาง 6 กลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต ดังนี้
1. เพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตให้ได้ 75% ของกำลังการผลิตทั้งหมด จากปัจจุบันการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 60 – 70% (ทั้งนี้การใช้กำลังการผลิต ขึ้นอยู่กับปริมาณวัตถุดิบเป็นสำคัญ) ภายใต้แผนการปรับปรุงเครื่องจักร ให้มีประสิทธิภาพ โดยในส่วนโรงงานใหม่ สาขากาฬสินธุ์ ซึ่งได้รับเงินลงทุนจาก IPO มีความคืบหน้าอย่างมาก โดยจะติดตั้งเครื่องจักร สำหรับไลน์การผลิตแรก ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มทดสอบเดินเครื่องจักรในเดือนมิถุนายน ตั้งเป้าการผลิตไม่ต่ำกว่า 20,000 ตันในปี 2567 รวมทั้งปรับปรุงการผลิตโรงงานเดิมที่มุกดาหารและสกลนคร รองรับวัตถุดิบสูงสุด 1,500 ตันต่อวัน เพื่อให้มียอดกำลังการผลิตรวม 360,000 ตัน/ปี
2. ดำเนินยุทธศาสตร์การมีวัตถุดิบอย่างยั่งยืน จัดหาหัวมันสำประหลัง ให้เพียงพอสอดคล้องกับแผนการใช้กำลังผลิตให้ได้อย่างต่ำ 75% ด้วยการทบทวนมาตรการจัดหาระยะสั้น เพื่อสร้างกลไกจูงใจในการรับซื้อวัตถุดิบ ให้เกิดสัญญาในการรับซื้อ ระหว่างบริษัท ลานมัน และสหกรณ์พันธมิตร เพื่อให้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพเพียงพอ ส่วนมาตรการระยะยาว ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในเครือข่ายผู้ส่งวัตถุดิบ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และส่งเสริมพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่เพียงพออย่างยั่งยืน
3. สร้างการเติบโตของกำไร ด้วยการขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจที่มีมูลค่าสูง คือ ธุรกิจ แป้งมันสำปะหลังดัดแปร ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ ภายในปี 2567 และดำเนินมาตราการด้านการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายให้รัดกุม ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับการผลิตของบริษัท โดยร่วมมือกับหน่วยงานพัฒนาและวิจัยภายนอก เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมกับการผลิตแป้งดัดแปร สำหรับการส่งเสริมให้กับเกษตรกรเพราะปลูก
5. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อยอดสินค้าของบริษัทลูก หรือบริษัท พรีเมียร์โมดิไฟด์สตาร์ช จำกัด หรือ PMS
เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้ มีผลตอบแทนที่สูงกว่าแป้งพื้นฐาน
6. ขยายฐานลูกค้าไปยังพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ โดยขยายผลิตภัณฑ์แป้งพื้นฐาน ไปยังตลาดใหม่ในต่างประเทศที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็นต้น รวมทั้งขยายตลาดเพิ่มเติมในกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กในประเทศ ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง เช่น กลุ่มผู้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ผ่านการการเข้าร่วมกิจกรรมและงานแสดงสินค้าต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยตั้งเป้าสร้างรายได้ประมาณ 5%ของรายได้รวม
ปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของบริษัท มาจากธุรกิจแป้งมันสำปะหลังพื้นฐานเป็นหลัก ในสัดส่วน 96% ที่เหลือเป็น ธุรกิจอื่น 3% ธุรกิจไฟฟ้า 1%
นายรัฐวิรุฬห์ ยังกล่าวถึง ผลการดำเนินงานปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้จากการขายรวม 2,325.4 ล้านบาท ลดลง 6.3% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของ 2565 และมีกำไรสุทธิ 135.83 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 283.7 ล้านบาท
“สาเหตุหลักที่รายได้และกำไรปรับตัวลดลง มาจากปริมาณวัตถุดิบที่ลดลงจากผลกระทบของสภาพอากาศ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยชะลอตัว ทำให้ยอดนำเข้าแป้งมันสำปะหลังของประเทศคู่ค้าลดลง ส่งผลให้กำไรขั้นต้นลดลง”นายรัฐวิรุฬห์กล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัท ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ในการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.081 บาทต่อหุ้น ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท ไม่น้อยกว่า 40% โดยกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้น ในวันที่ 25 เมษายน 2567 และกำหนดวันจ่ายเงินปันผล 17 พฤษภาคม 2567
1. เพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตให้ได้ 75% ของกำลังการผลิตทั้งหมด จากปัจจุบันการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 60 – 70% (ทั้งนี้การใช้กำลังการผลิต ขึ้นอยู่กับปริมาณวัตถุดิบเป็นสำคัญ) ภายใต้แผนการปรับปรุงเครื่องจักร ให้มีประสิทธิภาพ โดยในส่วนโรงงานใหม่ สาขากาฬสินธุ์ ซึ่งได้รับเงินลงทุนจาก IPO มีความคืบหน้าอย่างมาก โดยจะติดตั้งเครื่องจักร สำหรับไลน์การผลิตแรก ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มทดสอบเดินเครื่องจักรในเดือนมิถุนายน ตั้งเป้าการผลิตไม่ต่ำกว่า 20,000 ตันในปี 2567 รวมทั้งปรับปรุงการผลิตโรงงานเดิมที่มุกดาหารและสกลนคร รองรับวัตถุดิบสูงสุด 1,500 ตันต่อวัน เพื่อให้มียอดกำลังการผลิตรวม 360,000 ตัน/ปี
2. ดำเนินยุทธศาสตร์การมีวัตถุดิบอย่างยั่งยืน จัดหาหัวมันสำประหลัง ให้เพียงพอสอดคล้องกับแผนการใช้กำลังผลิตให้ได้อย่างต่ำ 75% ด้วยการทบทวนมาตรการจัดหาระยะสั้น เพื่อสร้างกลไกจูงใจในการรับซื้อวัตถุดิบ ให้เกิดสัญญาในการรับซื้อ ระหว่างบริษัท ลานมัน และสหกรณ์พันธมิตร เพื่อให้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพเพียงพอ ส่วนมาตรการระยะยาว ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในเครือข่ายผู้ส่งวัตถุดิบ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และส่งเสริมพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่เพียงพออย่างยั่งยืน
3. สร้างการเติบโตของกำไร ด้วยการขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจที่มีมูลค่าสูง คือ ธุรกิจ แป้งมันสำปะหลังดัดแปร ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ ภายในปี 2567 และดำเนินมาตราการด้านการบริหารจัดการ ค่าใช้จ่ายให้รัดกุม ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับการผลิตของบริษัท โดยร่วมมือกับหน่วยงานพัฒนาและวิจัยภายนอก เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมกับการผลิตแป้งดัดแปร สำหรับการส่งเสริมให้กับเกษตรกรเพราะปลูก
5. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อยอดสินค้าของบริษัทลูก หรือบริษัท พรีเมียร์โมดิไฟด์สตาร์ช จำกัด หรือ PMS
เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้ มีผลตอบแทนที่สูงกว่าแป้งพื้นฐาน
6. ขยายฐานลูกค้าไปยังพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ โดยขยายผลิตภัณฑ์แป้งพื้นฐาน ไปยังตลาดใหม่ในต่างประเทศที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็นต้น รวมทั้งขยายตลาดเพิ่มเติมในกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กในประเทศ ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง เช่น กลุ่มผู้ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ผ่านการการเข้าร่วมกิจกรรมและงานแสดงสินค้าต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยตั้งเป้าสร้างรายได้ประมาณ 5%ของรายได้รวม
ปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของบริษัท มาจากธุรกิจแป้งมันสำปะหลังพื้นฐานเป็นหลัก ในสัดส่วน 96% ที่เหลือเป็น ธุรกิจอื่น 3% ธุรกิจไฟฟ้า 1%
นายรัฐวิรุฬห์ ยังกล่าวถึง ผลการดำเนินงานปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้จากการขายรวม 2,325.4 ล้านบาท ลดลง 6.3% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของ 2565 และมีกำไรสุทธิ 135.83 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 283.7 ล้านบาท
“สาเหตุหลักที่รายได้และกำไรปรับตัวลดลง มาจากปริมาณวัตถุดิบที่ลดลงจากผลกระทบของสภาพอากาศ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยชะลอตัว ทำให้ยอดนำเข้าแป้งมันสำปะหลังของประเทศคู่ค้าลดลง ส่งผลให้กำไรขั้นต้นลดลง”นายรัฐวิรุฬห์กล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัท ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ในการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.081 บาทต่อหุ้น ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท ไม่น้อยกว่า 40% โดยกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้น ในวันที่ 25 เมษายน 2567 และกำหนดวันจ่ายเงินปันผล 17 พฤษภาคม 2567