จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : LEO ปี67 เข้าวัฏจักรการเติบโต ตามแผนยุทธศาสตร์ “F.A.S.T.24”


04 มีนาคม 2567
บมจ. ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO)เดินหน้าสร้างผลงานการเติบโตที่แข็งแกร่ง รับอานิสงส์จากการสู้รบในทะเลแดงและรับรู้รายได้จากหน่วยธุรกิจใหม่ๆ  ตามแผนยุทธศาสตร์ F.A.S.T.24 

รายงานพิเศษ LEO ปี 67 เข้าวัฏจักรการเติบโต.jpg

Krungthai Compass ประเมินว่า ปัญหาการสู้รบในทะเลแดงที่ยืดเยื้อ มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการส่งออกในปี 2567 โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังยุโรป การโจมตีเรือสินค้าที่ผ่านเส้นทางทะเลแดง โดยกลุ่มกบฏฮูตีที่ยังไม่ยุตินั้น ส่งผลให้ค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะบริษัทขนส่งหลายแห่งต้องเดินเรืออ้อมไปยังแหลมกู๊ดโฮป

ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดวันที่ 25 ม.ค. 67 ค่าระวางเรือสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ในเส้นทางเอเชียไปยังยุโรปใต้ (Shanghai-Genoa) และเอเชียไปยังยุโรปเหนือ (Shanghai-Rotterdam) ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 300% จากปลายเดือน พ.ย.66  ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งของผู้นำเข้าปรับสูงขึ้น 

ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นแม้จะมีผลกระทบต่อผู้ส่งออก แต่ก็ส่งผลดีต่อธุรกิจรับส่งสินค้าทางเรือ  โดยเฉพาะกับบมจ. ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ (LEO)  ซึ่งในปี 2567  บริษัทได้เปิดแผนยุทธศาสตร์ F.A.S.T.24 

โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์”  กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์ F.A.S.T.24  จะสร้างการเติบโตกำไรขั้นต้นและผลประกอบการให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไตรมาส 1/67 ที่บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบเชิงบวกจากภาวะสงครามในอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งทำให้เกิดวิกฤตทะเลแดง และทำให้อัตราค่าขนส่งสินค้าทางทะเลมีการเพิ่มสูงขึ้นถึง 3-4 เท่าสำหรับการขนส่งไปยังประเทศในแถบตะวันออกกลาง ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างกำไรขั้นต้นได้สูงขึ้นจากการขนส่งสินค้าทางทะเลเหมือนช่วงวิกฤตโควิด-19 ในปี 2563-2564 
         
นอกจากนี้ในปี 2567 บริษัทฯ จะเริ่มรับรู้รายได้จากหน่วยธุรกิจใหม่ๆ (New Business Units) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การขนส่งทางรางไปยังประเทศจีน-ลาว รวมถึงการขนส่งสินค้าทางรางภายในประเทศ โครงการ Bonded Cold Chain Logistics Center ที่ท่าเรือสหไทย และ Self Storage สาขาถนนพระราม 4 ซึ่งจะเปิดทำการภายในไตรมาส 2/67 รวมถึงบริษัทฯ จะมีการเติบโตของรายได้จากโครงการ JV อื่นๆ ที่ได้มีการจัดตั้งในปี 2566 เช่น บริษัท LEO Sourcing & Supply Chain บริษัท LaneXang Express และ บริษัท Logicam LEO (Cambodia) ที่จะมีการเติบโตด้านรายได้อย่างก้าวกระโดด  รวมถึงโครงการ JV และ M&A อีกหลายโครงการที่อยู่ในแผนธุรกิจในปีนี้
         
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4/66 บริษัทฯ มีรายได้รวม 364.0 ล้าน และเมื่อเทียบกับไตรมาส3/66 เพิ่มขึ้น 12% หรืออยู่ที่ 38.1 ล้านบาท  ขณะที่ในไตรมาส 4/66 มีกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่อยู่ที่ 29.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 293% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาส 4/65 ที่มีกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่อยู่ที่ 7.5 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/66 เพิ่มขึ้น 80% ที่มีกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่อยู่ที่ 16.3 ล้านบาท ขณะเดียวกัน รายได้รวมในไตรมาส 4/66 ยังเพิ่มขึ้น 38.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/66 
          
"บริษัทฯ กำลังเข้าสู่วัฏจักรการเติบโตของรายได้และการทำกำไรอีกครั้งหนึ่ง โดยความสามารถในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นในปี 2566 เพิ่มเป็น 34% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 20% ปัจจัยที่สนับสนุนให้กำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง เป็นผลจากความสามารถในการสร้างรายได้ และบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่ได้มีการปรับแผนการตลาดและการขายให้เหมาะสมกับสถานการณ์การตลาดและการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงการที่บริษัทฯ เริ่มรับรู้รายได้จากการขนส่งสินค้าทางราง ไทย-ลาว-จีน ร่วมกับ บริษัท LaneXang Express และการขายทุเรียนแช่แข็งไปยังประเทศจีนผ่านทาง บริษัท LEO Sourcing Supply Chain ซึ่งเป็นบริษัท JV ในเครือของบริษัทฯ" นายเกตติวิทย์ กล่าว
LEO