เรื่องเด่นวันนี้
TWPC คว้ามาตรฐานความยั่งยืนด้านฟาร์มจากแพลตฟอร์ม SAI สำหรับไร่มันสำปะหลัง นับเป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
12 มีนาคม 2567
บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) หรือ TWPC ประกาศความสำเร็จในการเป็นองค์กรเอกชนรายแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านมาตรฐานการประเมินความยั่งยืนด้านพื้นที่เพาะปลูก หรือ Farm Sustainability Assessment เวอร์ชั่น 3.0 ในระดับซิลเวอร์ สำหรับไร่มันสำปะหลังในไทยและกัมพูชา จากแพลตฟอร์ม Sustainable Agriculture Initiative หรือ SAI ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล สะท้อนความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างยั่งยืนและเป็นเลิศ เพื่อสนับสนุนอีโคซิสเท็มของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ปรับตัวได้ในระยะยาว
คุณหทัยกานต์ กมลศิริกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายกลยุทธ์ ความยั่งยืน นวัตกรรม บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) หรือ TWPC เปิดเผยว่า จากการที่ไทยวาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์ม Sustainable Agriculture Initiative หรือ SAI เพื่อเรียนรู้และผลักดันการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน ส่งผลทำให้การปลูกมันสำปะหลังของกลุ่มบริหารจัดการฟาร์มของ ไทยวา ในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับรางวัล Farm Sustainability Assessment (FSA) 3.0 ระดับเงิน จากแพลตฟอร์ม SAI ซึ่งถือเป็นรายแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่บริษัท ไทยวา อินเวสท์เมนท์(กัมพูชา) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของไทยวา ยังได้รับการรับรองมาตรฐาน Farm Sustainability Assessment ระดับซิลเวอร์สำหรับไร่มันสำปะหลังจาก SAI เช่นกัน
“รางวัลนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของไทยวาในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในด้านการเกษตร และเป็นข้อพิสูจน์ถึงการยึดมั่นอย่างแน่วแน่ต่อหลักการสำคัญของการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน การลดความเสี่ยงจากมลภาวะ การปกป้องสิทธิมนุษยชน และการบำรุงเลี้ยงวิถีชีวิตของเกษตรกรของเราอย่างมีความรับผิดชอบซึ่งสอดคล้องกับหลักความยั่งยืนของนานาชาติ เราขอขอบคุณทีมงานฟาร์มของเราที่ทำงานอย่างหนักเบื้องหลัง และเกษตรกรไทยวาทุกคนในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ผ่านการประเมินที่ครอบคลุมที่สุดครั้งหนึ่งซึ่งรับรองโดย SGS ซึ่งไทยวามุ่งมั่นที่จะให้บริการลูกค้าและผู้บริโภคทั่วโลกโดยถือเป็นวัตถุประสงค์พื้นฐาน ในขณะเดียวกันก็มุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรมและความยั่งยืนจากฟาร์มสู่ชั้นวางอย่างต่อเนื่อง โดยไทยวาตั้งเป้าที่จะสนับสนุนและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเกษตรกรในภูมิภาคนี้มากกว่า 1 ล้านรายภายในปี 2571”คุณหทัยกานต์กล่าว
ทั้งนี้การประเมินความยั่งยืนด้านฟาร์ม Farm Sustainability Assessment ของแพลตฟอร์ม SAI ครอบคลุมการประเมินด้านการจัดการที่ดิน การควบคุมความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชและมลพิษ การเคารพสิทธิมนุษยชน และการรักษาวิถีชีวิตของเกษตรกร ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าเกษตรกรในเครือข่ายของไทยวาได้รับการดูแลด้านชีวิตความเป็นอยู่และผลผลิตมันสำปะหลังของไทยวามาจากแหล่งที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
คุณหทัยกานต์ กมลศิริกุล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายกลยุทธ์ ความยั่งยืน นวัตกรรม บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) หรือ TWPC เปิดเผยว่า จากการที่ไทยวาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์ม Sustainable Agriculture Initiative หรือ SAI เพื่อเรียนรู้และผลักดันการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน ส่งผลทำให้การปลูกมันสำปะหลังของกลุ่มบริหารจัดการฟาร์มของ ไทยวา ในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับรางวัล Farm Sustainability Assessment (FSA) 3.0 ระดับเงิน จากแพลตฟอร์ม SAI ซึ่งถือเป็นรายแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่บริษัท ไทยวา อินเวสท์เมนท์(กัมพูชา) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของไทยวา ยังได้รับการรับรองมาตรฐาน Farm Sustainability Assessment ระดับซิลเวอร์สำหรับไร่มันสำปะหลังจาก SAI เช่นกัน
“รางวัลนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของไทยวาในแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในด้านการเกษตร และเป็นข้อพิสูจน์ถึงการยึดมั่นอย่างแน่วแน่ต่อหลักการสำคัญของการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน การลดความเสี่ยงจากมลภาวะ การปกป้องสิทธิมนุษยชน และการบำรุงเลี้ยงวิถีชีวิตของเกษตรกรของเราอย่างมีความรับผิดชอบซึ่งสอดคล้องกับหลักความยั่งยืนของนานาชาติ เราขอขอบคุณทีมงานฟาร์มของเราที่ทำงานอย่างหนักเบื้องหลัง และเกษตรกรไทยวาทุกคนในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ผ่านการประเมินที่ครอบคลุมที่สุดครั้งหนึ่งซึ่งรับรองโดย SGS ซึ่งไทยวามุ่งมั่นที่จะให้บริการลูกค้าและผู้บริโภคทั่วโลกโดยถือเป็นวัตถุประสงค์พื้นฐาน ในขณะเดียวกันก็มุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรมและความยั่งยืนจากฟาร์มสู่ชั้นวางอย่างต่อเนื่อง โดยไทยวาตั้งเป้าที่จะสนับสนุนและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเกษตรกรในภูมิภาคนี้มากกว่า 1 ล้านรายภายในปี 2571”คุณหทัยกานต์กล่าว
ทั้งนี้การประเมินความยั่งยืนด้านฟาร์ม Farm Sustainability Assessment ของแพลตฟอร์ม SAI ครอบคลุมการประเมินด้านการจัดการที่ดิน การควบคุมความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชและมลพิษ การเคารพสิทธิมนุษยชน และการรักษาวิถีชีวิตของเกษตรกร ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าเกษตรกรในเครือข่ายของไทยวาได้รับการดูแลด้านชีวิตความเป็นอยู่และผลผลิตมันสำปะหลังของไทยวามาจากแหล่งที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม