ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2567 ดัชนียังคงแกว่งตัว และยังไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ระดับ 1,400 จุดได้ง่าย โดยบล.เอเซียพลัส ประเมินว่า ประเด็นการยุบพรรคก้าวไกลไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมาย (หลังศาลตัดสิน ว่าพรรคก้าวไกลเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง) ดังนั้น SET INDEX ไม่น่าจะตอบรับ ประเด็นนี้มากนี้ ขณะที่ปัจจัยบวก คือ การคาดหวังการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ที่ คาดจะโตเป็นขับบันไดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 จนทั้งปีคาดเติบโตราว 2.7%-2.8% ส่วนวันนี้วางกรอบการเคลื่อนไหวของ SET INDEX 1374-1388 จุด
ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในโหมดซึมๆ สะท้อนได้จากมูลค่าซื้อขายในเดือน มี.ค. 67 (MTD) อยู่ที่ 4.06 หมื่นล้านบาทต่อวันเท่านั้น (คิดเป็น TURNOVER 58% ต่อปี) อาจต้องรอ วันที่ 25 มี.ค. ที่มีการเพิ่มชั่วโมงซื้อขาย 30 นาที น่าจะช่วยให้มูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นได้ บ้าง
ช่วงที่มูลค่าซื้อขายเบาบางทำให้เห็นการเก็งกำไรในตลาดหุ้นมากขึ้น อาทิ วานนี้ SET INDEX มีมูลค่าซื้อขาย 4.1 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อขาย DW ถึง 7.9 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 19.4% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด และสัดส่วนหลักเป็นการซื้อขาย DW ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตลาดหุ้นฮ่องกง (HANGSENG) จนติดมูลค่าซื้อขาย สูงสุดในตลาดถึง 3 ตัวใน 10 อันดับแรก เพราะหุ้นฮ่องกงวานนี้ขึ้นได้แรงเกือบ 3%
ขณะที่ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีSET INDEX ยังติดลบอยู่ -2.5% (YTD) และตามหลัง ตลาดหุ้นอื่นๆ อยู่มาก อาทิ ตลาดหุ้นฮ่องกงช่วง 1 เดือนกว่าๆ ฟื้นขึ้นแรงเกิน 10% จนผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีพลิกกลับมาเป็นบวก +1.8%(YTD) ส่วนหุ้นญี่ปุ่นเคยขึ้นไป แรง 22%(YTD) ช่วงนี้ย่อลงมาเหลือ 18%(YTD) เนื่องจากกังวลว่า BOJ อาจลดการ ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายลง ดังนั้นเชื่อว่า SET INDEX ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวในระยะถัดไป ขณะที่การเคลื่อนไหวของ ดัชนียัง LAGGARD กว่าตลาดหุ้นอื่นๆ มาก ส่วนระยะสั้นแนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ได้ กระแสเชิงบวกสนับสนุนจากหุ้นจีนเริ่มฟื้นขึ้นมาแรง อย่าง กลุ่ม ETRON (KCE, HANA), PKG (SCGP), PETRO (PTTGC, IVL), AGRI (STA, NER)
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นล่าสุดของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ณ วันที่ 4 มีนาคม 2567 พบว่า"ธีรพงศ์ จันศิริ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ล่าสุดได้ถือครองหุ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยแต่ละปีมีสัดส่วนการถือครองดังนี้
เมื่อพิจารณาข้อมูลของTU ก่อนหน้านี้ได้เปิดโครงการซื้อหุ้นคืน จำนวนหุ้นซื้อคืนสูงสุดตามโครงการ 200 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.30 % ของจำนวนหุ้นซื้อคืนสูงสุดต่อจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว โดยวันสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ซึ่ง ณ วันที่ 7 มีนาคม 2567 ได้ทำรายการซื้อคืนไปแล้ว จำนวน 33.20 ล้านหุ้น คิดเป็น มูลค่ารวม 478.04 ล้านบาท และราคารับซื้อสูงสุดที่ 14.50 บาท และต่ำสุดที่ 14.30 บาท
จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ทั้งบริษัทฯและซีอีโอ แทคทีมรับซื้อเข้าพอร์ตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังพบว่า "ธีรพงศ์ จันศิริ"ได้ทำรายการซื้อหุ้นบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือTFM จำนวน 3,250,025 หุ้นคิดเป็น 0.65% จากเดิมไม่เคยปรากฎในรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรก
สำหรับพอร์ตลงทุนหุ้นของ "ธีรพงศ์ จันศิริ" ประกอบด้วย
ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในโหมดซึมๆ สะท้อนได้จากมูลค่าซื้อขายในเดือน มี.ค. 67 (MTD) อยู่ที่ 4.06 หมื่นล้านบาทต่อวันเท่านั้น (คิดเป็น TURNOVER 58% ต่อปี) อาจต้องรอ วันที่ 25 มี.ค. ที่มีการเพิ่มชั่วโมงซื้อขาย 30 นาที น่าจะช่วยให้มูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นได้ บ้าง
ช่วงที่มูลค่าซื้อขายเบาบางทำให้เห็นการเก็งกำไรในตลาดหุ้นมากขึ้น อาทิ วานนี้ SET INDEX มีมูลค่าซื้อขาย 4.1 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อขาย DW ถึง 7.9 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 19.4% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด และสัดส่วนหลักเป็นการซื้อขาย DW ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตลาดหุ้นฮ่องกง (HANGSENG) จนติดมูลค่าซื้อขาย สูงสุดในตลาดถึง 3 ตัวใน 10 อันดับแรก เพราะหุ้นฮ่องกงวานนี้ขึ้นได้แรงเกือบ 3%
ขณะที่ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีSET INDEX ยังติดลบอยู่ -2.5% (YTD) และตามหลัง ตลาดหุ้นอื่นๆ อยู่มาก อาทิ ตลาดหุ้นฮ่องกงช่วง 1 เดือนกว่าๆ ฟื้นขึ้นแรงเกิน 10% จนผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีพลิกกลับมาเป็นบวก +1.8%(YTD) ส่วนหุ้นญี่ปุ่นเคยขึ้นไป แรง 22%(YTD) ช่วงนี้ย่อลงมาเหลือ 18%(YTD) เนื่องจากกังวลว่า BOJ อาจลดการ ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายลง ดังนั้นเชื่อว่า SET INDEX ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวในระยะถัดไป ขณะที่การเคลื่อนไหวของ ดัชนียัง LAGGARD กว่าตลาดหุ้นอื่นๆ มาก ส่วนระยะสั้นแนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ได้ กระแสเชิงบวกสนับสนุนจากหุ้นจีนเริ่มฟื้นขึ้นมาแรง อย่าง กลุ่ม ETRON (KCE, HANA), PKG (SCGP), PETRO (PTTGC, IVL), AGRI (STA, NER)
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นล่าสุดของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ณ วันที่ 4 มีนาคม 2567 พบว่า"ธีรพงศ์ จันศิริ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ล่าสุดได้ถือครองหุ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยแต่ละปีมีสัดส่วนการถือครองดังนี้
ปี | จำนวน (ล้านหุ้น) | %การถือหุ้น |
---|---|---|
4/3/2567 | 319 | 6.86 |
7/3/2566 | 307 | 6.45 |
10/3/2565 | 303 | 6.36 |
9/3/2564 | 168 | 3.53 |
3/3/2563 | 257 | 5.4 |
7/3/2562 | 198 | 4.16 |
9/3/2560 | 269 | 5.64 |
10/3/2559 | 250 | 5.25 |
16/3/2558 | 246 | 5.18 |
11/3/2557 | 71 | 6.27 |
เมื่อพิจารณาข้อมูลของTU ก่อนหน้านี้ได้เปิดโครงการซื้อหุ้นคืน จำนวนหุ้นซื้อคืนสูงสุดตามโครงการ 200 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.30 % ของจำนวนหุ้นซื้อคืนสูงสุดต่อจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว โดยวันสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ซึ่ง ณ วันที่ 7 มีนาคม 2567 ได้ทำรายการซื้อคืนไปแล้ว จำนวน 33.20 ล้านหุ้น คิดเป็น มูลค่ารวม 478.04 ล้านบาท และราคารับซื้อสูงสุดที่ 14.50 บาท และต่ำสุดที่ 14.30 บาท
จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ทั้งบริษัทฯและซีอีโอ แทคทีมรับซื้อเข้าพอร์ตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังพบว่า "ธีรพงศ์ จันศิริ"ได้ทำรายการซื้อหุ้นบริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือTFM จำนวน 3,250,025 หุ้นคิดเป็น 0.65% จากเดิมไม่เคยปรากฎในรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรก
สำหรับพอร์ตลงทุนหุ้นของ "ธีรพงศ์ จันศิริ" ประกอบด้วย