Digital Asset

แนะเก็บคริปโทฯ อย่างไร ให้ปลอดภัย ในยุค Bull Run


13 มีนาคม 2567

ในภาวะตลาดขาขึ้น (Bull Run) ของคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ราคาเหรียญมักพุ่งสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ดึงดูดนักลงทุนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ให้เข้ามาลงทุนในตลาดคริปโทฯ มากขึ้น ในขณะที่ ราคาคริปโทฯ ก็ดึงดูเหล่ามิจฉาชีพให้เข้ามาเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากการเรื่องศึกษาข้อมูล  เข้าใจความ เสี่ยง เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม  และลงทุนอย่างมีสติแล้ว การเก็บรักษาสินทรัพย์และความตระหนักในการ ใช้งานก็เป็นเรื่องที่สำคัญ 

คอลัม Digital Asset แนะเก็บคริปโทฯ อย่างไร ให้ปลอดภ.jpg

นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไทย บิทแคสต์ จํากัด กล่าวว่า การเก็บรักษาคริปโทฯ มักมีปัญหาหลายประการ และเป็นอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาคริปโทฯ เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายได้ ค่อนข้างช้า แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. ปัญหาด้านความตระหนัก ปัญหานี้เป็นปัญหาหลักของพัฒนาการในการใช้งานคริปโทฯ เลยทีเดียว เนื่องจากคนส่วนใหญ่คุ้นชินกับการพึ่งพาบริการ จากผู้ให้บริการในชีวิตจริง หากเกิดความเสีย หายมีคนพร้อมช่วยเหลือ และสามารถกู้คือหรือย้อนธุรกรรมกลับได้ แต่วิธีคิดนี้ใช้กับบริการทางด้านการ เงินออนไลน์ในยุคนี้ไม่ได้เลย ยิ่งถ้าเป็นธุรกรรมบนโลกคริปโทฯ การย้อนธุรกรรมเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ หากถูกโจรกรรมแล้วจะไม่สามารถดึงเงินกลับได้ ความตระหนักจึงเป็นวิธีการป้องกันที่ถูกและมีประสิทธิ ภาพที่ดีที่สุดอันนึง

2. ปัญหาด้านเความรู้คริปโทฯ โดยพื้นฐานคริปโทฯ อาจฟังดูยุ่งยาก แต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่ผู้ใข้ควรรู้ มีแค่เรื่องการแสดงความเป็นเจ้าของ ในโลกของคริปโทฯ คนใช้ทั่ว ๆ ไปรู้แต่ว่าเราครอบครองเหรียญ เห็น เหรียญแสดงในกระเป๋า แต่ไม่ได้เข้าใจจริง ๆ การครอบครองนั้นพิสูจน์ด้วยอะไร 

ถ้าเราเข้าใจเรื่องการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเราก็จะรู้ว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่ต้องปกป้องไม่ใช่สินทรัพย์ แต่เป็นการปกป้องสิ่งที่เราบอกระบบว่าเราเป็นเจ้าของ ซึ่งสิ่งนั้นเรียกว่า Private Key นั่นเอง เพราะ คริปโทฯ นั้นปลอดภัยอยู่แล้วในระบบตามกฏของมันซึ่งเก็บอยู่บน Blockchain ที่เรียกได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะไป Hack ออกมาได้ ดังนั้นจุดที่ Hacker จะโจมตี หรือพยายามโจรกรรมก็คือ Private Key เพราะถ้าได้ Private Key ไป Hacker จะพิสูจน์ต่อระบบได้เว่าเค้าเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้น ๆ ทำอะไรกับมันก็ได้

นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ยังไม่เข้าใจความต่างของการเก็บรักษาสินทรัพย์เองว่าเราสามารถทำได้ โดยไม่ จำเป็นจะต้องพึ่งพา Exchange ซึ่งวัตถุประสงค์ของการที่ Exchange เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นตลาดสำหรับแลก เปลี่ยน Bitcoin และ Digital Asset อื่น ๆ แต่คนส่วนใหญ่ มองเป็นที่สำหรับเก็บ Bitcoin และ  Digital Asset อื่นเพียงเพราะผู้ให้บริการมีทักษะมากกว่าผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป ทั้งที่จริงแล้วต้นทุนในการเก็บเองรวมถึง ความปลอดภัยเรียกได้ว่าอยู่ในระดับสูง หากเราเก็บเองเป็นตามกระบวนการ

3. ปัญหาทางด้านเทคนิค เนื่องจากเทคโนโลยีเติบโตแบบก้าวกระโดด คนทั่ว ๆ ไปตามการเติบโต นี้ไม่ทัน แม้แต่คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมหากไม่ได้ตามข่าวเพียงแค่เดือนเดียวหลาย ๆ อย่างก็ปรับเปลี่ยนไป หมดแล้ว เทคโนโลยีหรือเทคนิคการเขียนโปรแกรมถูกใส่เข้าในเพื่อป้องป้องความมั่งคั่งทางดิจิทัลของคุณ อยู่ตลอดเวลา ในทางกลับกัน Hacker เองก็เรียนรู้ที่จะเจาะระบบ หาช่องโหว่ จุดอ่อนของผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้เอง ต้องมีการเรียนรู้ ปรับตัว หมั่นอัพเดตอย่างสม่ำเสมอ

หากผู้ใช้เข้าใจองค์ประกอบหลักทั้งสามข้อนี้ ผมเชื่อว่าการเก็บรักษาสินทรัพย์จะเป็นเรื่องที่ง่าย และห่างไกลจาก Hacker แน่นอน ในปีที่ผ่านมามูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการโจรกรรมทางไซเบอร์โดย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคริปโทฯ นั้นมีมูลค่าสูงถึง 24,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ปีนี้ทุกคนมองว่ามี ความเป็นไปได้ที่จะอยู่ในช่วงตลาดกระทิง ปัจจัยหลัก ๆ ก็จะมาจากความต้องการของตลาดที่จะครอบ ครอง  Bitcoin ผ่าน Spot Bitcoin ETF ประจวบกับการที่ปีนี้เป็นปีที่  Bitcoin จะมีการลดปริมาณการผลิต ลงครึ่งหนึ่งที่เรียกว่า Halving ที่จะเกิดขึ้นราว ๆ ทุก 4 ปี

แล้วถ้าเราแอบไปส่องดูปริมาณ Bitcoin ที่สำรองใน Exchange รวมกัน อยู่ในระดับที่ต่ำ มีการซื้อแล้วโอนออกไปเก็บทั้งนักลงทุนสถาบันและราย ย่อยจนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งถ้าลองจินตนาการ ถึงความต้องการตลาดที่ยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ มาเจอกับปริมาณของที่มีอยู่อย่างจำกัดบน Exchange ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตเติม Bitcoin เข้ามาประมาณ 900 Bitcoin ต่อวัน จะเหลือ 450 Bitcoin ต่อวัน นี่ยังไม่นับรวมเรื่องที่ Spot Ethereum ETF ที่ทุกคนหมาย มั่นปั้นมือว่าจะได้รับการอนุมัติในช่วงกลางปีนี้ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันมูลค่าในตลาดคริปโทได้อีกมาก แค่ไหน ซึ่งในปีนี้กรอบราคากว้าง ๆ ถ้าดูตาม Linear regression fit มีความเป็นไปได้ที่จะถึง 100,000 ดอลลาร์ ในขณะที่ Resistance อยู่ที่ราว ๆ 380,000 ดอลลาร์ ในขณะที่ Support อยู่ที่ 35,000 ดอลลาร์

Bitcast-0250.jpg
อย่างไรก็ตาม การขึ้นราคาของเหรียญในตลาดคริปโทนั้นย่อมทำให้ล่อตาล่อใจเหล่า Hacker เพราะต้นทุนในการโจรกรรมเท่าเดิมแต่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ผนวกกับคนหน้าใหม่ที่สนใจจะเข้ามาในตลาด ก็มากขึ้นด้วยทำให้ตัวเลขความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นตามราคาของ Bitcoin และคริปโทอื่น ๆ

Bitcast  เข้าใจความต้องการของตลาด และเล็งเห็นว่าการเติบโตของตลาดจะยั่งยืนได้ผู้ ใช้งานต้องมีความรู้ ความตระหนัก และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ดังนั้นเราจึงได้คัดสรร Hardware Wallet Brand OneKey เข้ามาจัดจำหน่าย และ Bitcast ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการใน ประเทศไทย

Bitcast-0202.jpg
 และยังมุ่งมันให้ความรู้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีการจัด Workshop และ Meetup เป็นประจำ เพราะผมคิดว่าความรู้ไม่ควรถูกจำกัด ดังนั้นคนที่สนใจสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมกับเราได้โดยไม่มีข้อ จำกัดใด ๆ 

และภายในปีนี้ทาง Bitcast จะมีบริการใหม่อย่างการรับจ้างกู้กระเป๋าคริปโทสำหรับผู้ที่มีปัญหาใน การกู้คืนสินทรัพย์ที่ติดอยู่ในกระเป๋าแล้วไม่สามารถจัดการเองได้

Bitcast-0395.jpg
รวมไปถึงบริการบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคลต้องการโซลูชั่นในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างปลอดภัย อย่างเช่น Multi-Sig Wallet เป็นต้นเพื่อการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านการให้คำปรึกษาและโซลูชั่นสำหรับเก็บรักษา Bitcoin และ Digital Asset ด้วยตนเอง