จิปาถะ

เตือนระวัง! 6 โรคร้าย ช่วง "หน้าร้อน" รู้ตัวช้าถึงตาย


18 มีนาคม 2567
เตือนระวัง! copy.jpg

ร้อนแล้ว ต้องระวัง! เปิด 6โรคร้ายพบบ่อย มากับช่วง “หน้าร้อน” รู้ก่อนป้องกันป่วย อันตรายถึงตาย พบสถิติปีก่อน ตายพุ่งกว่า 30 ราย พบมากสุดในเดือน เม.ย.


เรียกว่า การเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เสี่ยงให้เกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวจนเกิดอันตรายไม่รู้ตัว

โดยล่าสุดข้อมูลกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ระหว่างเดือน มี.ค.- พ.ค.ของทุกปี พบรายงานผู้เสียชีวิตที่เข้าข่ายการเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน ระหว่างปี 2560-2566 จำนวน 24, 18, 57, 12, 7, 8 และ 37 คน ตามลำดับ

ในปี 66 ระหว่างวันที่ 5 มี.ค.- 22 พ.ค. มีรายงานการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนรวม 47 คน ในจำนวนนี้ป่วย 10 คน และเสียชีวิต 37 คน พบมากสุดในเดือน เม.ย. ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย

งานนี้เพื่อความสุขภาพที่ดี และป้องกันโรค ทางทีมข่าวสด ขอพาไปทำความรู้จัก 6 โรคติดต่อ ที่มักเกิดในฤดูร้อน ดังนี้

1. โรคอุจจาระร่วง (Acute Diarrhea)
เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรืออาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านาน ๆ ผู้ป่วยจะถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อาจอาเจียนหรือมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักหายได้เอง แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิตได้

2. โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)
เป็นโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อยมาก เนื่องจากสารพิษ (Toxin) จากแบคทีเรียตกค้างอยู่ในอาหารที่ไม่สะอาดพอ สุก ๆ ดิบ ๆ หรือบูดเสีย ทำให้เกิดปัญหาท้องเสียได้

สำหรับการรักษา ส่วนใหญ่หากเป็นไม่มาก จะถ่ายเป็นน้ำไม่มีมูกเลือด ไม่มีไข้ หายได้เอง แต่หากเป็นมากต้องได้รับน้ำเกลือเสริม อาจอยู่ในรูปแบบของการดื่ม หรือการให้ทางเส้นเลือดแล้วแต่ความรุนแรง

3. โรคบิด (Dysentery)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทาน ผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับถ่ายเหลว อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือด มีอาการเหมือนถ่ายไม่สุด ปวดเบ่ง คลื่นไส้ อาเจียน เด็กอาจมีอาการชักร่วมด้วย ผู้ที่มีเชื้อจะสามารถเป็นพาหะและแพร่เชื้อได้ตลอดเวลาที่มีอาการ

4.ไข้ไทฟอยด์(Typhoid)
การติดต่อมักเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารหรือน้ำดื่ม ได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย ซึ่งไข้ไทฟอยด์จะมีอาการแบบเฉียบพลัน

หากมีสุขอนามัยไม่ดี ก็จะนำไปสู่การปนเปื้อนในน้ำหรืออาหารต่างๆ ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ และมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก บางรายอาจถ่ายเหลวหรือมีผื่นขึ้นตามหน้าอกหรือลำตัว

ส่วนการป้องกันสามารถทำได้โดยการใช้วัคซีน ซึ่งมีทั้งในรูปของการรับประทานหรือฉีด แต่การป้องกันไม่สามารถป้องกันได้ 100% ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม

5. อหิวาตกโรค (Cholera)
ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ ส่วนใหญ่มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีภาวะขาดน้ำรุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การป้องกั คือ การยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลางส่วนตัว ล้างมือ” (กินร้อน : กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ช้อนกลางส่วนตัว )

6. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
โรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน ไม่มียารักษาให้หายขาดได้ เพราะโรคดังกล่าวติดต่อจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผลอยู่แล้ว หรือน้ำลายของสัตว์กระเด็นเข้าตา ปาก จมูก

สำหรับวิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุดก็คือ ให้นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง

ที่มา : สสส.