จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : COLOR ยอดขายโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ โตแข็งแกร่งหลังรัฐบาลหนุนผลิตไฟ
22 มีนาคม 2567
รัฐบาล“เศรษฐา ทวีสิน” มีนโยบายสนับสนุนใช้เขื่อนขนาดใหญ่ให้เป็นที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ (solar floating) หวังเพิ่มทางเลือกผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด กระตุ้นผลงานบมจ.สาลี่ คัลเล่อร์ (COLOR) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ เติบโตต่อเนื่อง
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เป็นสิ่งที่รัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” สนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากการกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “จุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน” ในการเสวนา Thailand Energy Executive Forum จัดโดยสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) โดยระบุว่า ปัจจุบันเรื่องของพลังงานสะอาดถือเป็นกลไกสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทมีความพร้อม และได้เตรียมการเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี ซึ่งในปี 2040 เราได้คาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ เป็นพลังงานสะอาดมากกว่า 50% ของไฟฟ้าทั้งหมด
สำหรับพลังงานสะอาดตอนนี้เรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ถือว่ามีบทบาทอย่างมาก ซึ่งนอกจากการส่งเสริมมการติดโซลาร์เซลล์ในบ้านต่างๆ ประเทศไทยมีพื้นที่ในเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งเราใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำมาก่อนแต่ตอนนี้คิดเป็นปริมาณไฟฟ้าไม่ถึง 5% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ แต่พื้นที่เขื่อนขนาดใหญ่ที่มีนั้นสามารถใช้เป็นที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ (solar floating)
อย่างไรก็ตามไทยมีพื้นที่มากและจะสามารถผลิตไฟฟ้าจาก solar floating ได้มากถึง 5,000 – 10,000 เมกะวัตต์ซึ่งได้สั่งการให้เดินหน้าในเรื่องนี้ และขอให้เร่งรัดการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทเอกชน และรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขยายธุรกิจของบมจ.สาลี่ คัลเล่อร์ (COLOR) “พีรพันธ์ จิวะพรทิพย์” กรรมการผู้จัดการ ระบุว่า บริษัท เดอะบับเบิ้ลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนได้ เซ็นสัญญารับงานโครงการโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar) ให้กับ บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) ขนาด 8 MW ที่จะเริ่มผลิตไฟฟ้าให้แก่ บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (AAT) ที่ตั้งอยู่ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) และโครงการโซลาร์ลอยน้ำขนาด 0.6 MW ที่จะผลิตไฟฟ้าในพื้นที่โครงการของ PTTGC13 ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง
สำหรับโครงการดังกล่าว บริษัทฯจะเป็นผู้รับจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) โดยรับผิดชอบในส่วนการออกแบบ และติดตั้งผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ ภายใต้ชื่อ " SUNTARA" รุ่น LOMA I and LOMA II โดยทั้งสองโครงการมีกำหนดที่ส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/67
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ SUNTARA เป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒนาโดย เดอะบับเบิ้ลส์ โดยใช้เม็ดพลาสติก HDPE แบรนด์ InnoPlus by GC เกรด HD8200B จาก บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ SUNTARA ที่มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก รังสียูวี และสภาพแวดล้อมต่างๆ มีความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ SUNTARA ผ่านการทดสอบและรับรองคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลจากห้องทดลองทั้งในและต่างประเทศ และผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม ISO9001
ส่วนผลการดำเนินงานปี 67 บริษัทฯคาดว่า จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปีนี้ธุรกิจพลังงานทดแทนประเภทผลิตทุ่นโซลาร์ลอยน้ำจะเป็นหน่วยธุรกิจที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันมีแผนการลงทุนในธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่ จากปัจจุบันอยู่ที่ 2% เป็น 10-15% ของรายได้รวม ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เป็นสิ่งที่รัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” สนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จากการกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “จุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน” ในการเสวนา Thailand Energy Executive Forum จัดโดยสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) โดยระบุว่า ปัจจุบันเรื่องของพลังงานสะอาดถือเป็นกลไกสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทมีความพร้อม และได้เตรียมการเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี ซึ่งในปี 2040 เราได้คาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ เป็นพลังงานสะอาดมากกว่า 50% ของไฟฟ้าทั้งหมด
สำหรับพลังงานสะอาดตอนนี้เรื่องของพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ถือว่ามีบทบาทอย่างมาก ซึ่งนอกจากการส่งเสริมมการติดโซลาร์เซลล์ในบ้านต่างๆ ประเทศไทยมีพื้นที่ในเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งเราใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำมาก่อนแต่ตอนนี้คิดเป็นปริมาณไฟฟ้าไม่ถึง 5% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ แต่พื้นที่เขื่อนขนาดใหญ่ที่มีนั้นสามารถใช้เป็นที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ (solar floating)
อย่างไรก็ตามไทยมีพื้นที่มากและจะสามารถผลิตไฟฟ้าจาก solar floating ได้มากถึง 5,000 – 10,000 เมกะวัตต์ซึ่งได้สั่งการให้เดินหน้าในเรื่องนี้ และขอให้เร่งรัดการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทเอกชน และรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขยายธุรกิจของบมจ.สาลี่ คัลเล่อร์ (COLOR) “พีรพันธ์ จิวะพรทิพย์” กรรมการผู้จัดการ ระบุว่า บริษัท เดอะบับเบิ้ลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนได้ เซ็นสัญญารับงานโครงการโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar) ให้กับ บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) ขนาด 8 MW ที่จะเริ่มผลิตไฟฟ้าให้แก่ บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (AAT) ที่ตั้งอยู่ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) และโครงการโซลาร์ลอยน้ำขนาด 0.6 MW ที่จะผลิตไฟฟ้าในพื้นที่โครงการของ PTTGC13 ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง
สำหรับโครงการดังกล่าว บริษัทฯจะเป็นผู้รับจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) โดยรับผิดชอบในส่วนการออกแบบ และติดตั้งผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ ภายใต้ชื่อ " SUNTARA" รุ่น LOMA I and LOMA II โดยทั้งสองโครงการมีกำหนดที่ส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/67
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ SUNTARA เป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒนาโดย เดอะบับเบิ้ลส์ โดยใช้เม็ดพลาสติก HDPE แบรนด์ InnoPlus by GC เกรด HD8200B จาก บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ SUNTARA ที่มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก รังสียูวี และสภาพแวดล้อมต่างๆ มีความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทุ่นลอยน้ำ SUNTARA ผ่านการทดสอบและรับรองคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลจากห้องทดลองทั้งในและต่างประเทศ และผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม ISO9001
ส่วนผลการดำเนินงานปี 67 บริษัทฯคาดว่า จะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปีนี้ธุรกิจพลังงานทดแทนประเภทผลิตทุ่นโซลาร์ลอยน้ำจะเป็นหน่วยธุรกิจที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันมีแผนการลงทุนในธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่ จากปัจจุบันอยู่ที่ 2% เป็น 10-15% ของรายได้รวม ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน