‘บมจ.ไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น’ หรือ SINO ผนึกความร่วมมือ SJWD ในฐานะ Strategic Partner นำจุดแข็งทั้ง 2 ฝ่ายร่วมยกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอย่างครบวงจร เพิ่มอำนาจการต่อรองสายเดินเรือเพื่อบริหารจัดการค่าระวางเรือ หนุนขีดความสามารถการทำกำไรของกลุ่มธุรกิจ Sea Freight พร้อมสร้างโอกาสจากการขยายฐานลูกค้าเพื่อเข้าใช้บริการคลังสินค้าร่วมกัน
นายนันท์มนัส วิทยศักดิ์พันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SINO ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอย่างครบวงจร เปิดเผยว่า หลังจาก บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ หรือ SJWD ได้เข้าลงทุนในบริษัทฯ ในฐานะถือหุ้นใหญ่อันดับที่ 5 ซึ่งถือเป็น Strategic Partner ที่สำคัญ โดยนำจุดแข็งของ SINO ที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าทางทะเลบนเส้นทางไทย-สหรัฐ เป็นอันดับ 1 ของผู้ให้บริการสัญชาติไทยและเป็นอันดับ 4 ของโลก ผสานเข้ากับความเชี่ยวชาญของ SJWD บนเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน เพื่อยกระดับศักยภาพการให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight) และเพิ่มอำนาจต่อรองกับสายเดินเรือในการจัดหาระวางสินค้า โดยมีปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมกันกว่า 150,000 ตู้ต่อปี ช่วยให้สามารถบริหารค่าระวางเรือด้วยต้นทุนที่ดีและให้บริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความร่วมมือในครั้งนี้ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ SINO จากแผนขยายฐานลูกค้า เพื่อดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการคลังสินค้าให้เช่า ได้แก่ อาคารคลังสินค้าทั่วไปและอาคารคลังสินค้าปลอดอากร (Free Zone) ในพื้นที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการคลังสินค้าของ SJWD ได้ ช่วยกระตุ้นอัตราการเช่าพื้นที่และทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถใช้ทรัพยากรของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนคลังสินค้าในอนาคตได้
“ความร่วมมือกับ SJWD ช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองกับสายเดินเรือให้เรามีต้นทุนที่ดีขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างกำไรจากการให้บริการที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย” นายนนันท์มนัส กล่าว
ขณะที่ปีนี้ บริษัทฯ มั่นใจว่าจะมีปริมาณการขนส่งสินค้าทางทะเลรวมกันกว่า 53,000 ตู้ได้ตามเป้าหมาย จากแผนงานรุกขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียนเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเลบนเส้นทางไทย-สหรัฐ ซึ่งหลังจากได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อให้บริการเรือลำเลียงตู้ขนาดเล็กขนาด 120 ตู้คอนเทนเนอร์ ภายใต้บริการ CTX Service โดยรับสินค้าจากท่าเรือประเทศกัมพูชามายังท่าเรือแหลมฉบังเพื่อขนส่งสินค้าต่อไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเปิดสำนักงานใหม่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่บริษัทฯ ได้เข้าไปทำตลาดเพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการแก่ลูกค้า และมีแผนจะเปิดสำนักงานเพิ่มเติมในอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ อันจะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ SOC และ ISO Tank ของบริษัทฯ อย่างเต็มที่ และสามารถเก็บเกี่ยวรายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าในช่วงที่ค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น เพื่อผลักดันผลการดำเนินงานในปีนี้ให้เติบโตตามแผน
นายนันท์มนัส วิทยศักดิ์พันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SINO ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอย่างครบวงจร เปิดเผยว่า หลังจาก บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ หรือ SJWD ได้เข้าลงทุนในบริษัทฯ ในฐานะถือหุ้นใหญ่อันดับที่ 5 ซึ่งถือเป็น Strategic Partner ที่สำคัญ โดยนำจุดแข็งของ SINO ที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าทางทะเลบนเส้นทางไทย-สหรัฐ เป็นอันดับ 1 ของผู้ให้บริการสัญชาติไทยและเป็นอันดับ 4 ของโลก ผสานเข้ากับความเชี่ยวชาญของ SJWD บนเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน เพื่อยกระดับศักยภาพการให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight) และเพิ่มอำนาจต่อรองกับสายเดินเรือในการจัดหาระวางสินค้า โดยมีปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมกันกว่า 150,000 ตู้ต่อปี ช่วยให้สามารถบริหารค่าระวางเรือด้วยต้นทุนที่ดีและให้บริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความร่วมมือในครั้งนี้ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ SINO จากแผนขยายฐานลูกค้า เพื่อดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการคลังสินค้าให้เช่า ได้แก่ อาคารคลังสินค้าทั่วไปและอาคารคลังสินค้าปลอดอากร (Free Zone) ในพื้นที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการคลังสินค้าของ SJWD ได้ ช่วยกระตุ้นอัตราการเช่าพื้นที่และทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถใช้ทรัพยากรของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนคลังสินค้าในอนาคตได้
“ความร่วมมือกับ SJWD ช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรองกับสายเดินเรือให้เรามีต้นทุนที่ดีขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างกำไรจากการให้บริการที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย” นายนนันท์มนัส กล่าว
ขณะที่ปีนี้ บริษัทฯ มั่นใจว่าจะมีปริมาณการขนส่งสินค้าทางทะเลรวมกันกว่า 53,000 ตู้ได้ตามเป้าหมาย จากแผนงานรุกขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียนเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฮับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเลบนเส้นทางไทย-สหรัฐ ซึ่งหลังจากได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อให้บริการเรือลำเลียงตู้ขนาดเล็กขนาด 120 ตู้คอนเทนเนอร์ ภายใต้บริการ CTX Service โดยรับสินค้าจากท่าเรือประเทศกัมพูชามายังท่าเรือแหลมฉบังเพื่อขนส่งสินค้าต่อไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเปิดสำนักงานใหม่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่บริษัทฯ ได้เข้าไปทำตลาดเพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการแก่ลูกค้า และมีแผนจะเปิดสำนักงานเพิ่มเติมในอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ อันจะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ SOC และ ISO Tank ของบริษัทฯ อย่างเต็มที่ และสามารถเก็บเกี่ยวรายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าในช่วงที่ค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น เพื่อผลักดันผลการดำเนินงานในปีนี้ให้เติบโตตามแผน