Wealth Sharing
AMA กวาดกำไรปี 65 ที่ 462.43 ลบ. โตกระหึ่ม 200% รับบาทอ่อน-ขนส่งทางเรือฟื้น
23 กุมภาพันธ์ 2566
‘อาม่า มารีน’ กวาดกำไรสุทธิปี 65 ที่ 462.43 ลบ. เพิ่มขึ้น 201.24% หลังปรับขึ้นค่าระวางเรือดันมาร์จิ้นพุ่งเกือบเท่าตัว อานิสงส์เงินบาทอ่อน และขนส่งทางรถฟื้นตัว คาดการณ์ปี 66 เดินหน้าโตต่อเนื่อง
นายพิศาล รัชกิจประการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาม่า มารีน จำกัด (มหาชน) หรือ AMA เปิดเผยว่า ในปี 2565 บริษัทฯมีรายได้รวม 3,224.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,134.30 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 54.27% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวม 2,090.14 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการขนส่งสินค้าทางเรือ 1,933.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 767.93 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 67.92% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 1,168.95 ล้านบาท และรายได้จากการขนส่งสินค้าทางรถ 1,291.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 369.86 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 40.15% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 921.19 ล้านบาท
ในขณะที่ปี 2565 บริษัทฯมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 462.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 308.92 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 201.24% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิ 153.51 ล้านบาท โดยที่รายได้ และกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการที่บริษัทฯปรับอัตราค่าระวางเรือสูงขึ้นถึง 59.29% และการได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทเฉลี่ยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมถึงธุรกิจการขนส่งสินค้าเหลวทางรถฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน เป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่คลี่คลาย และมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้าย ส่งผลให้ปี 2565 บริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 14.34% เทียบกับอัตรากำไรสุทธิของปี 2564 ที่อยู่ที่ 7.34%
ในขณะที่แนวโน้มภาพรวมธุรกิจในปี 2566 บริษัทฯคาดว่าผลประกอบการมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากความต้องการน้ำมันปาล์มที่เพิ่มสูงขึ้นจากการฟื้นตัวของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนนมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 3-5% ต่อปี สำหรับช่วงปี 2565-2567 จากปัจจัยสนับสนุนหลัก คือการเติบโตของภาคการผลิต การค้าและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ รวมถึงปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น อานิสงส์การค้าชายแดนและผ่านแดนที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงธุรกรรมการค้าออนไลน์ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
“ในปี 65 ที่ผ่านมาเราเติบโตได้ทั้งธุรกิจขนส่งทางเรือ และขนส่งทางรถ จากปัจจัยบวกในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลายลง ซึ่งทำให้ความต้องการด้านการขนส่งกลับมาคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ปี 66 เราคาดว่าจะสามารถรักษาการเติบโตของธุรกิจได้จากปีก่อน สอดคล้องกับภาพรวมของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องภายในปีนี้” นายพิศาลกล่าว
นายพิศาล รัชกิจประการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาม่า มารีน จำกัด (มหาชน) หรือ AMA เปิดเผยว่า ในปี 2565 บริษัทฯมีรายได้รวม 3,224.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,134.30 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 54.27% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้รวม 2,090.14 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการขนส่งสินค้าทางเรือ 1,933.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 767.93 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 67.92% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 1,168.95 ล้านบาท และรายได้จากการขนส่งสินค้าทางรถ 1,291.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 369.86 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 40.15% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 921.19 ล้านบาท
ในขณะที่ปี 2565 บริษัทฯมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 462.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 308.92 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 201.24% จากปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิ 153.51 ล้านบาท โดยที่รายได้ และกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการที่บริษัทฯปรับอัตราค่าระวางเรือสูงขึ้นถึง 59.29% และการได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทเฉลี่ยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมถึงธุรกิจการขนส่งสินค้าเหลวทางรถฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน เป็นผลมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่คลี่คลาย และมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้าย ส่งผลให้ปี 2565 บริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 14.34% เทียบกับอัตรากำไรสุทธิของปี 2564 ที่อยู่ที่ 7.34%
ในขณะที่แนวโน้มภาพรวมธุรกิจในปี 2566 บริษัทฯคาดว่าผลประกอบการมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากความต้องการน้ำมันปาล์มที่เพิ่มสูงขึ้นจากการฟื้นตัวของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนนมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 3-5% ต่อปี สำหรับช่วงปี 2565-2567 จากปัจจัยสนับสนุนหลัก คือการเติบโตของภาคการผลิต การค้าและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ รวมถึงปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น อานิสงส์การค้าชายแดนและผ่านแดนที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงธุรกรรมการค้าออนไลน์ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
“ในปี 65 ที่ผ่านมาเราเติบโตได้ทั้งธุรกิจขนส่งทางเรือ และขนส่งทางรถ จากปัจจัยบวกในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลายลง ซึ่งทำให้ความต้องการด้านการขนส่งกลับมาคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ปี 66 เราคาดว่าจะสามารถรักษาการเติบโตของธุรกิจได้จากปีก่อน สอดคล้องกับภาพรวมของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องภายในปีนี้” นายพิศาลกล่าว