รัฐบาลประกาศชัดเจนแล้วว่า ปลายปี 2567 ได้ใช้แน่เงิน 10,000 บาท กับโครงการ Digital Wallet แต่แหล่งที่มาของเงินทุนจะเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขแบบไหน และจะส่งผลบวกต่อภาพรวมตลาดหุ้นหรือไม่ ทีมข่าว Share2Trade หาคำตอบมาให้แล้ว
โดยโครงการ Digital Wallet เป็นนโยบายเรือธงของรัฐบาล ซึ่งนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า เป็นนโยบายที่จะยกระดับเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศ และระดับประชาชน
รวมทั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ตลอดจนยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน โดยจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย 1.2 - 1.6% จากกรณีฐาน
ขณะที่ในมุมมองนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มีความเห็นว่า ถ้ากล่าวถึง Digital Wallet ในช่วงที่ผ่านมา มักเป็นโครงการที่ส่งผลลบเชิง Sentiment ต่อ SET INDEX ทั้งในแง่ของความไม่ชัดเจนในการดำเนินโครงการ และผลจากการกู้ยืมเงินจำนวนมาก ที่จะทำให้ Bond Yield ในประเทศเร่งตัวขึ้น หรืออาจถูกปรับลดอันดับเครดิตลง
แต่จากการแถลงของรัฐบาล ทำให้มีความชัดเจนว่าจะดำเนินโครงการในไตรมาส 4/67 และมีรายละเอียดแหล่งที่มาของเงินที่ไม่กระทบวินัยการเงินการคลัง จึงคาดจะช่วยปลดล็อก Overhang ให้กับ SET INDEX ที่กำลังรอปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้
และมีโอกาสหนุนหุ้นที่ได้ประโยชน์ ให้กลับมามีสีสันได้ในระยะสั้นเช่นกัน ซึ่งได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเช่น OSP, CBG, ICHI, SAPEE, HTC, SNNP ค้าปลีกและค้าส่งสินค้าไอที เช่น CPALL, CPAXT, BJC, CRC, GLOBAL,SYNEX
กลุ่มไฟแนนซ์ เช่น SAWAD, MTC, SINGER, JMT และกลุ่ม SI จะได้ประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital ของภาครัฐและเอกชน เช่น BE8 SAMART, SYMC, SECURE
ขณะที่ประเมินเป็นปัจจัยบวกต่อ SET INDEX จากคาดการณ์ GDP ที่จะเพิ่มจากโครงการนี้ราว 1.2-1.6%หรือเฉลี่ย 0.6% ต่อปีทำให้ GDP ตั้งแต่ปี 2568 มีโอกาสยืนเหนือระดับ 3% ที่เป็นศักยภาพการเติบโตในอดีต
ส่วนกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคสามารถระบายสต็อกได้เร็วขึ้น และกลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่จะได้จากการใช้ Digital Wallet ในรอบ 2 ของร้านค้าขนาดเล็ก และกลุ่มไฟแนนซ์จากความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ที่เพิ่มขึ้น
สำหรับรายละเอียดผู้ได้รับสิทธิ ต้องมีอายุ16 ปีขึ้นไป เงินในบัญชีไม่เกิน 500,000บาท และเงินได้ทั้งปีภาษีต้องไม่เกิน 840,000บาทต่อปี รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้ที่ได้รับสิทธิจากโครงการนี้ 50 ล้านคนใช้วงเงินรวม 500,000 ล้านบาท
โดยสามารถนำไปซื้อสินค้าได้ทุกหมวด ยกเว้น อบายมุข น้ำมัน บริการและออนไลน์ ซึ่งผู้ที่ได้รับสิทธิต้องใช้ Digital Wallet กับร้านค้าขนาดเล็กตามพื้นที่ระดับอำเภอ ถ้าอิงตามนิยามเบื้องต้นจะนับรวมร้านสะดวกซื้อด้วย
ส่วนร้านค้าขนาดเล็กที่จะใช้ Digital Wallet รอบที่ 2 เพื่อซื้อสินค้ามาขาย สามารถซื้อจากร้านขนาดใหญ่ได้ และร้านค้าที่จะนำ Digital Wallet มาเปลี่ยนเป็นเงินสดต้องได้รับ Digital Wallet จากการใช้จ่ายในรอบที่ 2 และต้องอยู่ในระบบภาษี VAT, ภาษีบุคคลธรรมดา,หรือนิติบุคคล
ขณะที่ระยะเวลาดำเนินโครงการจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3/67 ที่เปิดให้ร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ และไตรมาส 4/67 จะให้ประชาชนเริ่มใช้จ่ายเงิน Digital Wallet ผ่าน Super App ที่เชื่อมกับทุกธนาคารอายุโครงการที่ใช้เงินในรอบแรก เบื้องต้นคือ 6 เดือนตามที่กำหนดไว้เดิม คือ ไตรมาส 4/67 - ไตรมาส 1/68
แต่การใช้จ่ายในรอบที่ 2 และ3 จะมีระยะเวลานานกว่านั้นจนกว่าร้านค้าขนาดใหญ่จะเปลี่ยน Digital Wallet เป็นเงินสดทั้งหมด เพราะฉะนั้นโครงการนี้ จะทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2 รอบเป็นอย่างน้อย
แหล่งเงินทำโครงการมาจาก 3 ส่วนคือ 1.งบประมาณปี 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท 2.งบประมาณปี 2568จานวน 152,700,และ3.กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. จำนวน 172,300 ล้านบาท จึงยังไม่ต้องออกพันธบัตรจานวนมากในช่วงเริ่ม และระหว่างดำเนินโครงการในทันทีส่งผลให้ Bond Yield ในประเทศยังไม่เร่งตัวขึ้นในปีนี้ แต่คาดว่าจะไปเร่งตัวอีกครั้งในช่วงที่ร้านค้ามาขึ้นเงินกับรัฐบาลซึ่งน่าจะหนาแน่นในช่วงกลางปี 2568
ข้อดีของการจัดโครงสร้างแหล่งที่มาของเงินแบบนี้ คือ ไม่กระทบวินัยการเงินการคลัง และไม่ต้องออกกฎหมายเพื่อกู้ยืมเงินเพิ่มเติม แต่มีปัจจัยที่ต้องติดตามคือ การเกลี่ยเงินจากงบประมาณอาจไปเบียดงบลงทุนให้เหลือน้อยลงหรือไม่ ซึ่งอาจกระทบเชิงลบต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างได้
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ประเมิน DIGITAL WALLET มาแล้ว แต่เริ่มใช้ได้ไตรมาส 4/67 โดยรัฐบาลคาดจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 1.2-1.6% ของ GDP ทั้งปี (TURNOVER 0.4-0.5 เท่า) โดยคาดที่ได้ประโยชน์ คือ หุ้นกลุ่มอาหาร-ค้าปลีก/ค้าส่ง อาทิ CBG, ICHI, OSP, TFG, BTG,CPAXT, BJC เป็นต้น
โดยเงื่อนไขการใช้จ่าย : กลุ่มแรก ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น ในระยะเวลา 6 เดือน, กลุ่มที่สอง ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอ และขนาดของร้านค้า การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ
สำหรับประเภทสินค้า สินค้าทุกประเภทยกเว้น สินค้าอบายมุข, น้ำมัน, บริการ, ออนไลน์ และ สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) มีความเห็นว่า แหล่งที่มาของเงินทุน ถือว่า Inlineกระแสข่าวที่ไม่ออก พ.ร.บ. เงินกู้ มองบวกช่วยลดความกังวลตลาดต่อฐานะการเงินประเทศ เทียบกับกรณีออกเป็น พ.ร.บ. เงินกู้ และ Application ใช้จะพัฒนาใหม่ จากเดิมที่จะต่อยอดจาก “เป๋าตัง”
ดังนั้นกลยุทธ์ ประเมินสร้าง Upside ต่อ GDP ราวปีละ 1.2-1.8% (vs BOT เคยประเมินราว +0.6%) นอกจากนี้ ดีจากภาพตลาดจะคลายกังวลต่อแหล่งที่มาดังกล่าว ขณะที่คาด GDP ไทยและกำไรหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ หลักๆ คือ กลุ่มค้าปลีก จะมี Upside จากเม็ดเงินใหม่ที่หมุนเวียนในระบบที่มองบวกต่อ CPALL, CPAXT, BJC
โดยโครงการ Digital Wallet เป็นนโยบายเรือธงของรัฐบาล ซึ่งนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า เป็นนโยบายที่จะยกระดับเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศ และระดับประชาชน
รวมทั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ตลอดจนยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน โดยจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย 1.2 - 1.6% จากกรณีฐาน
ขณะที่ในมุมมองนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มีความเห็นว่า ถ้ากล่าวถึง Digital Wallet ในช่วงที่ผ่านมา มักเป็นโครงการที่ส่งผลลบเชิง Sentiment ต่อ SET INDEX ทั้งในแง่ของความไม่ชัดเจนในการดำเนินโครงการ และผลจากการกู้ยืมเงินจำนวนมาก ที่จะทำให้ Bond Yield ในประเทศเร่งตัวขึ้น หรืออาจถูกปรับลดอันดับเครดิตลง
แต่จากการแถลงของรัฐบาล ทำให้มีความชัดเจนว่าจะดำเนินโครงการในไตรมาส 4/67 และมีรายละเอียดแหล่งที่มาของเงินที่ไม่กระทบวินัยการเงินการคลัง จึงคาดจะช่วยปลดล็อก Overhang ให้กับ SET INDEX ที่กำลังรอปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้
และมีโอกาสหนุนหุ้นที่ได้ประโยชน์ ให้กลับมามีสีสันได้ในระยะสั้นเช่นกัน ซึ่งได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเช่น OSP, CBG, ICHI, SAPEE, HTC, SNNP ค้าปลีกและค้าส่งสินค้าไอที เช่น CPALL, CPAXT, BJC, CRC, GLOBAL,SYNEX
กลุ่มไฟแนนซ์ เช่น SAWAD, MTC, SINGER, JMT และกลุ่ม SI จะได้ประโยชน์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital ของภาครัฐและเอกชน เช่น BE8 SAMART, SYMC, SECURE
ขณะที่ประเมินเป็นปัจจัยบวกต่อ SET INDEX จากคาดการณ์ GDP ที่จะเพิ่มจากโครงการนี้ราว 1.2-1.6%หรือเฉลี่ย 0.6% ต่อปีทำให้ GDP ตั้งแต่ปี 2568 มีโอกาสยืนเหนือระดับ 3% ที่เป็นศักยภาพการเติบโตในอดีต
ส่วนกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคสามารถระบายสต็อกได้เร็วขึ้น และกลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่จะได้จากการใช้ Digital Wallet ในรอบ 2 ของร้านค้าขนาดเล็ก และกลุ่มไฟแนนซ์จากความสามารถในการจ่ายคืนหนี้ที่เพิ่มขึ้น
สำหรับรายละเอียดผู้ได้รับสิทธิ ต้องมีอายุ16 ปีขึ้นไป เงินในบัญชีไม่เกิน 500,000บาท และเงินได้ทั้งปีภาษีต้องไม่เกิน 840,000บาทต่อปี รัฐบาลคาดว่าจะมีผู้ที่ได้รับสิทธิจากโครงการนี้ 50 ล้านคนใช้วงเงินรวม 500,000 ล้านบาท
โดยสามารถนำไปซื้อสินค้าได้ทุกหมวด ยกเว้น อบายมุข น้ำมัน บริการและออนไลน์ ซึ่งผู้ที่ได้รับสิทธิต้องใช้ Digital Wallet กับร้านค้าขนาดเล็กตามพื้นที่ระดับอำเภอ ถ้าอิงตามนิยามเบื้องต้นจะนับรวมร้านสะดวกซื้อด้วย
ส่วนร้านค้าขนาดเล็กที่จะใช้ Digital Wallet รอบที่ 2 เพื่อซื้อสินค้ามาขาย สามารถซื้อจากร้านขนาดใหญ่ได้ และร้านค้าที่จะนำ Digital Wallet มาเปลี่ยนเป็นเงินสดต้องได้รับ Digital Wallet จากการใช้จ่ายในรอบที่ 2 และต้องอยู่ในระบบภาษี VAT, ภาษีบุคคลธรรมดา,หรือนิติบุคคล
ขณะที่ระยะเวลาดำเนินโครงการจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3/67 ที่เปิดให้ร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ และไตรมาส 4/67 จะให้ประชาชนเริ่มใช้จ่ายเงิน Digital Wallet ผ่าน Super App ที่เชื่อมกับทุกธนาคารอายุโครงการที่ใช้เงินในรอบแรก เบื้องต้นคือ 6 เดือนตามที่กำหนดไว้เดิม คือ ไตรมาส 4/67 - ไตรมาส 1/68
แต่การใช้จ่ายในรอบที่ 2 และ3 จะมีระยะเวลานานกว่านั้นจนกว่าร้านค้าขนาดใหญ่จะเปลี่ยน Digital Wallet เป็นเงินสดทั้งหมด เพราะฉะนั้นโครงการนี้ จะทำให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2 รอบเป็นอย่างน้อย
แหล่งเงินทำโครงการมาจาก 3 ส่วนคือ 1.งบประมาณปี 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท 2.งบประมาณปี 2568จานวน 152,700,และ3.กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. จำนวน 172,300 ล้านบาท จึงยังไม่ต้องออกพันธบัตรจานวนมากในช่วงเริ่ม และระหว่างดำเนินโครงการในทันทีส่งผลให้ Bond Yield ในประเทศยังไม่เร่งตัวขึ้นในปีนี้ แต่คาดว่าจะไปเร่งตัวอีกครั้งในช่วงที่ร้านค้ามาขึ้นเงินกับรัฐบาลซึ่งน่าจะหนาแน่นในช่วงกลางปี 2568
ข้อดีของการจัดโครงสร้างแหล่งที่มาของเงินแบบนี้ คือ ไม่กระทบวินัยการเงินการคลัง และไม่ต้องออกกฎหมายเพื่อกู้ยืมเงินเพิ่มเติม แต่มีปัจจัยที่ต้องติดตามคือ การเกลี่ยเงินจากงบประมาณอาจไปเบียดงบลงทุนให้เหลือน้อยลงหรือไม่ ซึ่งอาจกระทบเชิงลบต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างได้
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ประเมิน DIGITAL WALLET มาแล้ว แต่เริ่มใช้ได้ไตรมาส 4/67 โดยรัฐบาลคาดจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 1.2-1.6% ของ GDP ทั้งปี (TURNOVER 0.4-0.5 เท่า) โดยคาดที่ได้ประโยชน์ คือ หุ้นกลุ่มอาหาร-ค้าปลีก/ค้าส่ง อาทิ CBG, ICHI, OSP, TFG, BTG,CPAXT, BJC เป็นต้น
โดยเงื่อนไขการใช้จ่าย : กลุ่มแรก ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น ในระยะเวลา 6 เดือน, กลุ่มที่สอง ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอ และขนาดของร้านค้า การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ
สำหรับประเภทสินค้า สินค้าทุกประเภทยกเว้น สินค้าอบายมุข, น้ำมัน, บริการ, ออนไลน์ และ สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) มีความเห็นว่า แหล่งที่มาของเงินทุน ถือว่า Inlineกระแสข่าวที่ไม่ออก พ.ร.บ. เงินกู้ มองบวกช่วยลดความกังวลตลาดต่อฐานะการเงินประเทศ เทียบกับกรณีออกเป็น พ.ร.บ. เงินกู้ และ Application ใช้จะพัฒนาใหม่ จากเดิมที่จะต่อยอดจาก “เป๋าตัง”
ดังนั้นกลยุทธ์ ประเมินสร้าง Upside ต่อ GDP ราวปีละ 1.2-1.8% (vs BOT เคยประเมินราว +0.6%) นอกจากนี้ ดีจากภาพตลาดจะคลายกังวลต่อแหล่งที่มาดังกล่าว ขณะที่คาด GDP ไทยและกำไรหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ หลักๆ คือ กลุ่มค้าปลีก จะมี Upside จากเม็ดเงินใหม่ที่หมุนเวียนในระบบที่มองบวกต่อ CPALL, CPAXT, BJC