Smart Investment
“เสี่ยยักษ์”คืนสู่สังเวียนตลาดหุ้นไทย หลังคุมเข้ม Robot Trade-Naked Short
21 เมษายน 2567
Mr.Data
...เลิกเข้าฟิตเนสกลับมาเทรดตลาดหุ้นไทยแล้ว
หลังจากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา “เสี่ยยักษ์” วิชัย วชิรพงศ์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อ ผ่านท่วงทำนองถอดใจ ในการลงทุนตลาดหุ้นไทย เนื่องจากกติกาที่ไม่เท่าเทียมกัน ที่สำคัญต้นทุนในการเทรดที่แตกต่างกัน
...และทำให้เขาตัดสินใจหันหลังให้กับตลาดหุ้นในช่วงเวลานั้น
“เสี่ยยักษ์”เปรียบเทียบให้เห็นเหมือนนักมวย “บัวขาว” VS “ไมค์ ไทสัน” แล้วใครจะชนะ!!!
“เสี่ยยักษ์”กล้าที่จะออกมาตั้งข้อสังเกตุว่า Naked Short Selling มีอยู่จริง และ Robot Trade ก็อาศัยความได้เปรียบเรื่องของความเร็ว และค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ถูก ถือเป็นอีกปมปัญหาสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวน นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น
“เสี่ยยักษ์”มองว่า หากตลาดหลักทรัพย์ฯไม่ทำอะไร รับรองว่านักลงทุนไทยหายไปจากตลาดแน่นอน คงเหลือไว้แค่นักลงทุนสถาบัน กับ Robot Trade สู้กันเอง
ล่าสุด ก่อนหยุดยาวสงกรานต์ (11 เม.ย.) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เห็นชอบแนวทางเพิ่มความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ด้านการกำกับดูแลการซื้อขายหุ้น
สาระสำคัญประกอบด้วย
1.แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น มุ่งยกระดับการกำกับดูแล Naked Short Selling และการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (Program Trading) โดยเฉพาะการส่งคำสั่งซื้อขายด้วยความเร็วสูง (HFT) ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการยื่นคำขอหรือลงทะเบียนผู้ลงทุนที่มีการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ HFT เพื่อให้สามารถเห็นข้อมูลผู้ลงทุนในระดับบัญชีย่อย (Sub-Account) ของบัญชีที่ไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ (Omnibus Account)
ในขณะเดียวกันบริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบควบคุมการบริหารความเสี่ยงในการส่งคำสั่งซื้อขาย (Pre-Trade Risk Management) เพื่อตรวจสอบการมีหลักทรัพย์ของลูกค้าที่มีการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ HFT ก่อนที่จะส่งคำสั่งขายเข้ามาในระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ จะมีการกำหนดเวลาขั้นต่ำของคำสั่งซื้อขาย ก่อนที่จะสามารถแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งดังกล่าว (Minimum Order Resting Time) เพื่อสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับความเร็วของการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งจะช่วยป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการส่งคำสั่งซื้อขายทุกประเภท
ทั้งนี้ มาตรการดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายดังกล่าวข้างต้นอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น และคาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2567 นี้
“ผมเองก็เริ่มกลับมาเทรดแล้ว ก่อนหน้านี้มี Naked Short Selling นักลงทุนรายย่อยไม่ทำอะไรเลย นั่งดูตลาดเฉยๆ ตอนนี้ขอเพียงอย่าเกิดแบบนั้นอีก ไม่งั้นทุกคนตาย” สั้นๆ แต่ได้ใจความกับคำให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ “เสียยักษ์” กับสำนักข่าว HoonSmart กับการกลับคืนสู่สังเวียนตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง
ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม ปัญหา Robot Trade และ Naked Short ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงานก.ล.ต. มองว่า ไม่ใช่ปัญหา ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ไม่พยายามจะแก้ปัญหา
ทั้งๆที่นักลงทุนรายใหญ่ นักลงทุนรายย่อย ออกมาร้องเรียน แต่ไม่ได้รับสัญญาณตอบรับจากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนแต่ประการใด และกลายเป็นปัญหาที่สร้างความหายนะให้กับตลาดหุ้นไทย...นักลงทุนรายใหญ่ เจ้าของหุ้น รายย่อย บาดเจ็บกันระนาว จาก “ช่องโหว่” การกำกับดูแลตลาดทุน
...เลิกเข้าฟิตเนสกลับมาเทรดตลาดหุ้นไทยแล้ว
หลังจากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา “เสี่ยยักษ์” วิชัย วชิรพงศ์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อ ผ่านท่วงทำนองถอดใจ ในการลงทุนตลาดหุ้นไทย เนื่องจากกติกาที่ไม่เท่าเทียมกัน ที่สำคัญต้นทุนในการเทรดที่แตกต่างกัน
...และทำให้เขาตัดสินใจหันหลังให้กับตลาดหุ้นในช่วงเวลานั้น
“เสี่ยยักษ์”เปรียบเทียบให้เห็นเหมือนนักมวย “บัวขาว” VS “ไมค์ ไทสัน” แล้วใครจะชนะ!!!
“เสี่ยยักษ์”กล้าที่จะออกมาตั้งข้อสังเกตุว่า Naked Short Selling มีอยู่จริง และ Robot Trade ก็อาศัยความได้เปรียบเรื่องของความเร็ว และค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ถูก ถือเป็นอีกปมปัญหาสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวน นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น
“เสี่ยยักษ์”มองว่า หากตลาดหลักทรัพย์ฯไม่ทำอะไร รับรองว่านักลงทุนไทยหายไปจากตลาดแน่นอน คงเหลือไว้แค่นักลงทุนสถาบัน กับ Robot Trade สู้กันเอง
ล่าสุด ก่อนหยุดยาวสงกรานต์ (11 เม.ย.) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เห็นชอบแนวทางเพิ่มความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ด้านการกำกับดูแลการซื้อขายหุ้น
สาระสำคัญประกอบด้วย
1.แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้น มุ่งยกระดับการกำกับดูแล Naked Short Selling และการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (Program Trading) โดยเฉพาะการส่งคำสั่งซื้อขายด้วยความเร็วสูง (HFT) ด้วยการกำหนดให้ต้องมีการยื่นคำขอหรือลงทะเบียนผู้ลงทุนที่มีการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ HFT เพื่อให้สามารถเห็นข้อมูลผู้ลงทุนในระดับบัญชีย่อย (Sub-Account) ของบัญชีที่ไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ (Omnibus Account)
ในขณะเดียวกันบริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบควบคุมการบริหารความเสี่ยงในการส่งคำสั่งซื้อขาย (Pre-Trade Risk Management) เพื่อตรวจสอบการมีหลักทรัพย์ของลูกค้าที่มีการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ HFT ก่อนที่จะส่งคำสั่งขายเข้ามาในระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ จะมีการกำหนดเวลาขั้นต่ำของคำสั่งซื้อขาย ก่อนที่จะสามารถแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งดังกล่าว (Minimum Order Resting Time) เพื่อสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับความเร็วของการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งจะช่วยป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการส่งคำสั่งซื้อขายทุกประเภท
ทั้งนี้ มาตรการดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายดังกล่าวข้างต้นอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น และคาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2567 นี้
“ผมเองก็เริ่มกลับมาเทรดแล้ว ก่อนหน้านี้มี Naked Short Selling นักลงทุนรายย่อยไม่ทำอะไรเลย นั่งดูตลาดเฉยๆ ตอนนี้ขอเพียงอย่าเกิดแบบนั้นอีก ไม่งั้นทุกคนตาย” สั้นๆ แต่ได้ใจความกับคำให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ “เสียยักษ์” กับสำนักข่าว HoonSmart กับการกลับคืนสู่สังเวียนตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง
ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม ปัญหา Robot Trade และ Naked Short ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงานก.ล.ต. มองว่า ไม่ใช่ปัญหา ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ไม่พยายามจะแก้ปัญหา
ทั้งๆที่นักลงทุนรายใหญ่ นักลงทุนรายย่อย ออกมาร้องเรียน แต่ไม่ได้รับสัญญาณตอบรับจากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนแต่ประการใด และกลายเป็นปัญหาที่สร้างความหายนะให้กับตลาดหุ้นไทย...นักลงทุนรายใหญ่ เจ้าของหุ้น รายย่อย บาดเจ็บกันระนาว จาก “ช่องโหว่” การกำกับดูแลตลาดทุน