เรื่องเด่นวันนี้
กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เป้าสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ
19 เมษายน 2567
บมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP) สวยเข้าตา บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) แนะนำ “ซื้อ” หุ้น เคาะราคาเป้าหมาย 8 บาท/หุ้น ประเมินผลงานปี 67 ออลไทม์ไฮ รับภาระหนี้ลดลง ยอดขายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น สอดรับอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่งฟื้นตัว และดีมานด์น้ำมันหล่อลื่นในภูมิภาคปรับตัวดีขึ้น พร้อมจับตาดีล M&A ใหม่ สร้าง New S-Curve ต่อยอดธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ บล.กรุงศรี เชื่อปีนี้จะเป็นปีที่ดีของ PSP คาดกำไรไตรมาส 1/67 เป็นจุดตั้งต้นโมเมนตัมขาขึ้น
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (UOBKH) ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์แนะนำ “ซื้อ” หุ้น บมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP) โดยประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่ 8 บาท/หุ้น ซึ่งราคาหุ้นของ PSP ปรับลดลง 61% จากจุดสูงสุดช่วง IPO เมื่อกันยายน 2566 หลังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและการชะลอคำสั่งซื้อจากลูกค้าส่งผลให้กำไรสุทธิปรับตัวลดลง 58% เหลือ 428 ล้านบาทในปี 2566 มองว่าปัจจัยดังกล่าวคลี่คลาย และคาดว่ากำไรของ PSP ฟื้นตัวโดดเด่นนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2567
โดยมีแรงหนุนจาก 1. การฟื้นตัวของตลาดน้ำมันหล่อลื่นภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลังในปี 2566 ลดลงถึง 9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 2. การเติบโตต่อเนื่องของตลาดน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ 3. ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลงหลังนำเงิน IPO ไปลดหนี้อีก 1,700 ล้านบาทในไตรมาส 4/2567 ทั้งนี้ได้ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 1/2567 ของ PSP จะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ 30% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 130 ล้านบาท
ทั้งนี้ แนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตสดใสทั้งปี 2567 – 2569 จากยอดขายของ PSP ที่เติบโตสัมพันธ์กับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และภาคการขนส่ง รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมที่มีการคาดหมายว่าความต้องการใช้น้ำมันหล่อลื่นในภูมิภาคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2567 – 2569 ตามการเติบโตของยอดขายรถยนต์และภาคการขนส่งในภูมิภาค และคาดว่ากำไรสุทธิของ PSP จะเติบโตเฉลี่ย 20% CAGR จาก 428 ล้านบาทในปี 2566 เป็น 728 ล้านบาทในปี 2569 โดยเฉพาะในปี 2567 คาดว่าในแต่ละไตรมาส PSP จะสามารถรักษากำไรระดับ 140-150 ล้านบาท จากภาระหนี้ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และการเติบโตต่อเนื่องของยอดขายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้กำไรปี 2567 ของ PSP จะทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 593 ล้านบาท หรือเติบโตสูงถึง 39% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่โอกาสในการทำ M&A และการลงทุนต่อยอดสร้าง Upside ให้ราคาหุ้น นอกจากการเติบโตตามอุตสาหกรรมแล้ว ยังมองเห็นถึง Potential upside จากธุรกิจ New S-curve ทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซด้านชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ การลงทุนในบริษัท รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง ที่ประกอบธุรกิจรีไซเคิลสารเคมีที่ใช้แล้ว ซึ่งคาดว่าจะเข้าลงทุนจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงไตรมาส 3/2567 รวมทั้งโอกาสในการหาพันธมิตรใหม่ๆ ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อขยายตลาดน้ำมันหล่อลื่นของบริษัท จึงคาด PSP จะมีประกาศพันธมิตรใหม่ภายในครึ่งปีแรกของปี 2567 ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการสนับสนุนราคาหุ้น
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KKS) วิเคราะห์ว่า โครงการลงทุนส่วนใหญ่ เช่น Recycle Engineering (RE) ซึ่งเป็นธุรกิจกำจัดขยะเคมี และรีไซเคิล และ JV ร่วมกับกลุ่มบริษัทของบุญรอด บริวเวอรี่ น่าจะเริ่มส่งผลกำไรมาที่บริษัทได้ตั้งแต่ 2H24 เป็นต้นไป ดังนั้น จึงเชื่อว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีของ PSP ที่ช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดผ่านพ้นไปแล้วโดยผลประกอบการปี 2566 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของบริษัทแล้ว
ทั้งนี้ เชื่อว่ากำไรของบริษัทน่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 1/2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งจะเป็นจุดตั้งต้นสำหรับโมเมนตัมขาขึ้นของราคาหุ้น ขณะที่ราคาหุ้น PSP ในปัจจุบันคิดเป็น P/E ที่ประมาณ 17เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นในธุรกิจเดียวกันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ 19 เท่า แม้ว่าผลประกอบการจะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในปีนี้
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (UOBKH) ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์แนะนำ “ซื้อ” หุ้น บมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP) โดยประเมินราคาเป้าหมายไว้ที่ 8 บาท/หุ้น ซึ่งราคาหุ้นของ PSP ปรับลดลง 61% จากจุดสูงสุดช่วง IPO เมื่อกันยายน 2566 หลังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและการชะลอคำสั่งซื้อจากลูกค้าส่งผลให้กำไรสุทธิปรับตัวลดลง 58% เหลือ 428 ล้านบาทในปี 2566 มองว่าปัจจัยดังกล่าวคลี่คลาย และคาดว่ากำไรของ PSP ฟื้นตัวโดดเด่นนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2567
โดยมีแรงหนุนจาก 1. การฟื้นตัวของตลาดน้ำมันหล่อลื่นภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลังในปี 2566 ลดลงถึง 9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 2. การเติบโตต่อเนื่องของตลาดน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ 3. ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลงหลังนำเงิน IPO ไปลดหนี้อีก 1,700 ล้านบาทในไตรมาส 4/2567 ทั้งนี้ได้ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 1/2567 ของ PSP จะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ 30% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 130 ล้านบาท
ทั้งนี้ แนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตสดใสทั้งปี 2567 – 2569 จากยอดขายของ PSP ที่เติบโตสัมพันธ์กับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และภาคการขนส่ง รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมที่มีการคาดหมายว่าความต้องการใช้น้ำมันหล่อลื่นในภูมิภาคจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2567 – 2569 ตามการเติบโตของยอดขายรถยนต์และภาคการขนส่งในภูมิภาค และคาดว่ากำไรสุทธิของ PSP จะเติบโตเฉลี่ย 20% CAGR จาก 428 ล้านบาทในปี 2566 เป็น 728 ล้านบาทในปี 2569 โดยเฉพาะในปี 2567 คาดว่าในแต่ละไตรมาส PSP จะสามารถรักษากำไรระดับ 140-150 ล้านบาท จากภาระหนี้ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และการเติบโตต่อเนื่องของยอดขายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้กำไรปี 2567 ของ PSP จะทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 593 ล้านบาท หรือเติบโตสูงถึง 39% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่โอกาสในการทำ M&A และการลงทุนต่อยอดสร้าง Upside ให้ราคาหุ้น นอกจากการเติบโตตามอุตสาหกรรมแล้ว ยังมองเห็นถึง Potential upside จากธุรกิจ New S-curve ทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซด้านชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ การลงทุนในบริษัท รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง ที่ประกอบธุรกิจรีไซเคิลสารเคมีที่ใช้แล้ว ซึ่งคาดว่าจะเข้าลงทุนจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงไตรมาส 3/2567 รวมทั้งโอกาสในการหาพันธมิตรใหม่ๆ ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อขยายตลาดน้ำมันหล่อลื่นของบริษัท จึงคาด PSP จะมีประกาศพันธมิตรใหม่ภายในครึ่งปีแรกของปี 2567 ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการสนับสนุนราคาหุ้น
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KKS) วิเคราะห์ว่า โครงการลงทุนส่วนใหญ่ เช่น Recycle Engineering (RE) ซึ่งเป็นธุรกิจกำจัดขยะเคมี และรีไซเคิล และ JV ร่วมกับกลุ่มบริษัทของบุญรอด บริวเวอรี่ น่าจะเริ่มส่งผลกำไรมาที่บริษัทได้ตั้งแต่ 2H24 เป็นต้นไป ดังนั้น จึงเชื่อว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีของ PSP ที่ช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดผ่านพ้นไปแล้วโดยผลประกอบการปี 2566 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของบริษัทแล้ว
ทั้งนี้ เชื่อว่ากำไรของบริษัทน่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 1/2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งจะเป็นจุดตั้งต้นสำหรับโมเมนตัมขาขึ้นของราคาหุ้น ขณะที่ราคาหุ้น PSP ในปัจจุบันคิดเป็น P/E ที่ประมาณ 17เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นในธุรกิจเดียวกันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ 19 เท่า แม้ว่าผลประกอบการจะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในปีนี้