จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : EP กับโอกาสการเติบโตของธุรกิจ สอดรับเศรษฐกิจของเวียดนามที่กำลังขยายตัว
24 เมษายน 2567
ธุรกิจพลังงานสะอาดทั้งจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามที่ทยอยCOD ปีนี้ ปัจจัยสำคัญสร้างรายได้ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ปี 2567 เติบโตก้าวกระโดด
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)ประเมินทิศทางเศรษฐกิจของกลุ่ม CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา และ เวียดนาม
ซึ่งในส่วนของประเทศเวียดนาม SCB EIC ประเมินว่า ในปีนี้เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวสูงสุดในกลุ่ม CLMV อยู่ที่ 6.3% (จาก 5.1% ในปี 2566) รองลงมา คือ กัมพูชา ขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2566) สปป.ลาว ขยายตัว 4.7% (จาก 4.5% ในปี 2666) และเมียนมา ขยายตัว 3.0% (จาก 2.5% ในปี 2566)
จากการฟื้นตัวของภาคส่งออกสินค้า และท่องเที่ยว หนุนอุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และคาดกการณ์ว่า ระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV จะได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติที่ขยายการลงทุนในภูมิภาค ตามยุทธศาสตร์ China +1 เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
เมื่อเศรษฐกิจประเทศเวียดนามเติบโตสูงสุดในกล่ม CLMV ทำให้ความต้องการใช้ระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะความต้องการใช้ไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเวียดนามมีแผนเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือก
โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนประมาณ 30.9-39.2% ภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจสูงถึง 47% หากพันธมิตรระหว่างประเทศสามารถดำเนินการตามข้อตกลงหุ้นส่วนด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เท่าเทียม (JETP) อย่างครบถ้วนและเป็นรูปธรรม) และเพิ่มเป็น 67.5-71.5% ภายในปี ค.ศ. 2050
นอกจากนี้เวียดนามมีแผนจะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าให้ได้ประมาณ 204-254 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจเหลือเพียง 170 ล้านตัน หากมีการดำเนินการตาม JETP อย่างจริงจัง) และลดเหลือประมาณ 27-31 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050
แนวทางการให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า ดึงดูดการเข้าลงทุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศไทย โดยประธานกรรมการ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ระบุว่า ในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมเติบโตเกือบ 4 เท่าจากปี 2566 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 847.44 ล้านบาท
ซึ่งการเติบโตมาจากทั้งในส่วนธุรกิจพลังงาน ที่ในปีที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโตด้านการติดตั้งแผงโซลาร์เซลบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่สูงมาก รวมไปถึงการทยอยจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม และมั่นใจว่าในอนาคตบริษัทฯมีศักยภาพที่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามได้อย่างแน่นอน ส่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ก็ได้มีการปรับปรุงทั้งด้านการขายบริการ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน
และสำหรับฐานะการเงินบริษัทก็มีความแข็งแกร่งมาก หลังจากที่บริษัทได้ลงนามในสัญญาให้การสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม (Bank for Investment and Development of Vietnam) หรือ BIDV ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลเวียดนาม ที่ให้บริการสินเชื่อแก่โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ทั้งนี้ได้รับข้อเสนอ Project Finance สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม HL3 เป็นจำนวน 597,500 ล้านดอง หรือประมาณ 870 ล้านบาท โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้ทันที 60% ของวงเงิน และส่วนที่เหลือจะเบิกได้ เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าถาวร (FIT) กับทาง EVN ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2568
"หลังจากที่บริษัทฯได้รับการสนับสนุนจากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม หรือ BIDVทำให้บริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถพัฒนาให้บริษัทฯเป็นหนึ่งในผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมประเทศเวียดนามได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ 160 เมกะวัตต์ รวมถึงมีความพร้อมจะสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยการพิจารณาลงทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อีก 3 โครงการที่เหลือ กำลังการผลิตรวม 130 เมกะวัตต์ กำลังอยู่ระหว่างการขออนุมัติจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) กับทาง EVN คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ ภายในเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งหลังจากนั้น ก็จะมีการทยอยลงนามในสัญญาเงินกู้ส่วนที่เหลือ ในวงเงินรวมกว่า 4,000 ล้านบาท ต่อไป" นายยุทธ กล่าว
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)ประเมินทิศทางเศรษฐกิจของกลุ่ม CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา และ เวียดนาม
ซึ่งในส่วนของประเทศเวียดนาม SCB EIC ประเมินว่า ในปีนี้เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวสูงสุดในกลุ่ม CLMV อยู่ที่ 6.3% (จาก 5.1% ในปี 2566) รองลงมา คือ กัมพูชา ขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2566) สปป.ลาว ขยายตัว 4.7% (จาก 4.5% ในปี 2666) และเมียนมา ขยายตัว 3.0% (จาก 2.5% ในปี 2566)
จากการฟื้นตัวของภาคส่งออกสินค้า และท่องเที่ยว หนุนอุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และคาดกการณ์ว่า ระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV จะได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติที่ขยายการลงทุนในภูมิภาค ตามยุทธศาสตร์ China +1 เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
เมื่อเศรษฐกิจประเทศเวียดนามเติบโตสูงสุดในกล่ม CLMV ทำให้ความต้องการใช้ระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะความต้องการใช้ไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเวียดนามมีแผนเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือก
โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนประมาณ 30.9-39.2% ภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจสูงถึง 47% หากพันธมิตรระหว่างประเทศสามารถดำเนินการตามข้อตกลงหุ้นส่วนด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เท่าเทียม (JETP) อย่างครบถ้วนและเป็นรูปธรรม) และเพิ่มเป็น 67.5-71.5% ภายในปี ค.ศ. 2050
นอกจากนี้เวียดนามมีแผนจะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าให้ได้ประมาณ 204-254 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจเหลือเพียง 170 ล้านตัน หากมีการดำเนินการตาม JETP อย่างจริงจัง) และลดเหลือประมาณ 27-31 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050
แนวทางการให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า ดึงดูดการเข้าลงทุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศไทย โดยประธานกรรมการ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ระบุว่า ในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมเติบโตเกือบ 4 เท่าจากปี 2566 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 847.44 ล้านบาท
ซึ่งการเติบโตมาจากทั้งในส่วนธุรกิจพลังงาน ที่ในปีที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโตด้านการติดตั้งแผงโซลาร์เซลบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่สูงมาก รวมไปถึงการทยอยจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม และมั่นใจว่าในอนาคตบริษัทฯมีศักยภาพที่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามได้อย่างแน่นอน ส่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ก็ได้มีการปรับปรุงทั้งด้านการขายบริการ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน
และสำหรับฐานะการเงินบริษัทก็มีความแข็งแกร่งมาก หลังจากที่บริษัทได้ลงนามในสัญญาให้การสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม (Bank for Investment and Development of Vietnam) หรือ BIDV ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลเวียดนาม ที่ให้บริการสินเชื่อแก่โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ทั้งนี้ได้รับข้อเสนอ Project Finance สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม HL3 เป็นจำนวน 597,500 ล้านดอง หรือประมาณ 870 ล้านบาท โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้ทันที 60% ของวงเงิน และส่วนที่เหลือจะเบิกได้ เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าถาวร (FIT) กับทาง EVN ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2568
"หลังจากที่บริษัทฯได้รับการสนับสนุนจากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม หรือ BIDVทำให้บริษัทฯมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถพัฒนาให้บริษัทฯเป็นหนึ่งในผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมประเทศเวียดนามได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ 160 เมกะวัตต์ รวมถึงมีความพร้อมจะสร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยการพิจารณาลงทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อีก 3 โครงการที่เหลือ กำลังการผลิตรวม 130 เมกะวัตต์ กำลังอยู่ระหว่างการขออนุมัติจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) กับทาง EVN คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ ภายในเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งหลังจากนั้น ก็จะมีการทยอยลงนามในสัญญาเงินกู้ส่วนที่เหลือ ในวงเงินรวมกว่า 4,000 ล้านบาท ต่อไป" นายยุทธ กล่าว