Talk of The Town
“ดร.นิเวศน์” เผยปี 68 หุ้นไทยครบรอบ 50 ปี ชี้ 9 ปี ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหน เหตุไทยประสบปัญหาทางโครงสร้างรุนแรง
01 พฤษภาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor) ชั้นแนวหน้า ได้เขียนบทความลงในเว็บไซต์ www.settrade.com ของทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยเนื้อหาบางช่วงบางตอนมีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งพอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า ตลาดหุ้นไทยในปีหน้า กำลังเข้าสู่ช่วงทศวรรษที่ห้า หรือ 50ปีของตลาดหุ้นไทย
ซึ่งหากในปีหน้านี้ตลาดหุ้นไทยยังเป็นเหมือนในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าทศวรรษที่ 5 ของตลาดหุ้นไทยนั้นน่าจะเป็น “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป”
ทั้งนี้เนื้อหาทั้งหมดทั้งมวลจะมีรายละเอียดอย่างไร ดร.นิเวศน์ ได้เล่าถึงในช่วงเหตุการณ์ของแต่ละทศวรรษไว้อย่างไรบ้าง Share2Trade จะพาไปหาคำตอบ
เริ่มต้นที่ดร.นิเวศน์ ระบุว่า เดือนเมษายนปีหน้าจะเป็นปีที่ตลาดหุ้นไทยมีอายุครบ 50 ปี หรือเป็นเวลา 5 ทศวรรษของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น ผมก็อยากจะตรวจสอบหรือทบทวนว่าในแต่ละทศวรรษที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีวิวัฒนาการและผลงานเด่น ๆ อย่างไรบ้าง พอจะกำหนดเป็นภาพใหญ่ ๆ ได้ไหมว่าแต่ละยุคควรจะเรียกว่าอย่างไร
เริ่มเปิดตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนเมษายน 2518 ซึ่งเป็นเวลาที่เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตจากเศรษฐกิจที่ยังเล็กมากและยังเป็นประเทศที่อิงกับการเกษตรเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ด้วยภูมิรัฐศาสตร์ที่โลกแบ่งเป็น 2 ขั้ว คือฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและคอมมิวนิสต์ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียตรัสเซีย ที่มีการต่อสู้และทำสงครามเย็นแย่งชิงประเทศต่าง ๆ ในโลกมาเป็นฝ่ายของตนเอง ประเทศไทยซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีก็ได้รับความช่วยเหลือจากอเมริกาทางด้านเศรษฐกิจและเป็นฐานในการต่อสู้กับระบอบ
คอมมิวนิสต์ที่กำลังทำสงครามกันในประเทศเวียตนาม
หนึ่งทศวรรษก่อนปี 2518 เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตสูงมาก อานิสงค์ส่วนหนึ่งจากการช่วยเหลือจากอเมริกาที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้พ้นจากความยากจนที่มักเป็นบ่อเกิดให้คนสนใจในลัทธิสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือการใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐในประเทศไทยที่เป็นฐานทัพอากาศที่สำคัญของอเมริกาในการรบกับคอมมิวนิสต์ในเวียตนาม เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 ถึง 2518 GDP โตเฉลี่ยถึงปีละประมาณ 7.8% และเริ่มมีการพัฒนาประเทศจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการ “ตลาดทุน” มาสนับสนุน และนั่นก็คือการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนอย่างเป็นทางการ
ตลาดหลักทรัพย์เริ่มเปิดการซื้อขายหุ้นด้วยดัชนีที่ถูกกำหนดไว้ที่ 100 จุด ในวันสิ้นเดือนเมษายน 2518 ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ไซ่ง่อน เมืองหลวงของประเทศเวียตนามใต้หรือเมืองโฮจิมินซิตี้ในปัจจุบัน “แตก” เวียตนามทั้งหมดกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ อเมริกาถอนกำลังทหารทั้งหมดกลับประเทศ ประเทศไทยได้รับการคาดหมายว่าจะต้องกลายเป็นคอมมิวนิสต์รายต่อไปตามทฤษฎี “โดมิโน” เพราะทั้งลาวและกัมพูชาต่างก็กลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปทั้งหมดแล้ว
แต่โชคชะตาก็เข้าข้างประเทศไทย เพราะหลังจากเวียตนามแตก โซเวียตก็แตกกับจีน ทำให้ไทยรอดจากการยึดครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งก็ทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าเติบโตต่อไปอีก 10 ปี จนถึงปี 2528 ที่อัตราเฉลี่ยปีละ 6.8% ลดลงมาเพียง 1% จากทศวรรษก่อน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเริ่มต้นอย่าง “ทุลักทุเล” ดัชนีหุ้นขึ้นลงตามการ “เก็งกำไร” และการ “ปั่นหุ้น” ของนักเล่นหุ้น “ชุดแรก” ที่มองตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งเก็งกำไรหรือการพนันที่ “ถูกกฎหมาย” ส่วนหนึ่งเพราะยังไม่มีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการกำกับและควบคุม ซึ่งทำให้แม้แต่การปั่นหุ้นก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย และนั่นนำมาสู่ “วิกฤติตลาดหุ้น” กรณี “ราชาเงินทุน” ในปี 2522 ซึ่งทำให้ดัชนีตกลงไปกว่า 40% ในเวลา 1 ปี และทำให้หุ้น “เหงา” ไปนานมากและคนแทบจะเลิกเล่นหุ้นไปเลย
จนถึงเดือนเมษายน ปี 2528 ครบรอบทศวรรษแรกของตลาดหุ้น ดัชนีตลาดอยู่ที่ 151 จุด หรือปรับขึ้น 51% ในเวลา 10 ปี คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 4.21% ซึ่งดูเหมือนจะเลวร้ายมากเมื่อคำนึงถึงว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินได้ดอกเบี้ยปีละเกือบ 10% อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น ผลตอบแทนจากปันผลหรือ
Dividend Yield ของบริษัทจดทะเบียนสูงมากถึงปีละประมาณ 9.28% ดังนั้น คนที่ลงทุนถือหุ้นระยะยาว 10 ปี ก็จะได้ผลตอบแทนรวมทบต้นถึงปีละ 13.5% ไม่เลวเลย
สำหรับผมแล้ว ทศวรรษแรกของตลาดหุ้นคือ “ทศวรรษแห่งการเรียนรู้”
ทศวรรษที่สองของตลาดหลักทรัพย์จากปี 2528 ถึงปี 2538 นั้น เริ่มต้นโดยที่ “ไม่มีความคาดหวัง” ดัชนีตลาดอยู่ในระดับต่ำ ค่า PE อยู่ที่ 8.55 เท่า ปันผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 8% แต่ก็ไม่มีใครสนใจที่จะเล่นหุ้น ผมเพิ่งกลับเมืองไทยจากการเรียนจบปริญญาเอกทางการเงินและการลงทุนที่สหรัฐ และตลาดหลักทรัพย์เพิ่งจะได้ผู้จัดการคนใหม่ชื่อ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ อดีตอาจารย์นิด้าสถาบันที่ผมเรียนจบปริญญาโท
ในเวลานั้นประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ช่วงของการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ นำโดยการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและการจัดตั้งโครงการ Eastern Seaboard ที่เน้นการพัฒนาเมืองชายทะเลภาคตะวันออกให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมโดยเฉพาะปิโตรเคมีและการส่งออกโดยผ่านท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง และที่สำคัญที่สุดก็คือการที่ญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นจากข้อตกลง Plaza Accord ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเร็วขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนที่ปีละ 8.93% โดยเฉลี่ยในเวลา 10 ปี
ตลาดหุ้นเฟื่องฟูมากในทศวรรษนี้ อานิสงค์สำคัญส่วนหนึ่งจากการเปิดเสรีทางการเงินที่ทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นได้เต็มที่ ดัชนีหุ้นในเดือนเมษายนปี 2538 ขึ้นสูงถึง 1,209จุด เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า หรือเท่ากับผลตอบแทนทบต้นปีละ 23.12 ในเวลา 10 ปี ไม่รวมปันผลอีกเกือบ 3% เป็น “ทศวรรษทอง” ของตลาดหุ้นไทย และทำให้นักเล่นหุ้นจำนวนมากที่เข้ามาตลาดหุ้นต่างก็ร่ำรวยจนมีคำพูดว่า “มา (แล้ว)รวย” ตามชื่อผู้จัดการตลาดที่อยู่นานถึง 7 ปีในช่วงที่หุ้นคึกคักมาก
ผลจากทศวรรษทองนั้น ทำให้หุ้นเมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 มีราคาแพงคือมีค่า PE ที่ 20.87 เท่า และเศรษฐกิจก็ร้อนแรงเกินไปจนเป็นปัญหาเนื่องจากมีการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเกินตัว บวกกับความผิดพลาดในการบริหารการเงินโดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย ประเทศก็เกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจแทบจะล้มละลาย ต้องใช้เวลาปรับโครงสร้างหลายปีกว่าที่เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้น
ทศวรรษที่ 3 จบลงในปี 2548 ด้วยตัวเลขการเติบโตอง GDP ที่ต่ำลงมากเฉลี่ยที่ปีละ 3.55% อานิสงค์จากช่วงปีวิกฤติที่เศรษฐกิจตกต่ำลงถึง 10% ในเวลา 2 ปี แต่ตลาดหุ้นนั้นยิ่งเลวร้ายกว่า เพราะในเวลา 10 ปี ดัชนีตลาดตกลงมาจาก 1,209 เป็น 659 จุด ลดลงมาถึง 45% หรือตกลงมาเฉลี่ยทบต้นปีละ 5.89% ดังนั้น นี่คือ “ทศวรรษแห่งวิกฤติเศรษฐกิจและตลาดหุ้น”
ทศวรรษที่ 4 เริ่มขึ้นหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจผ่านไปอย่างสมบูรณ์ ธุรกิจ “รุ่นใหม่” เติบโตขึ้นแทนรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป เช่นเดียวกับนักลงทุน “รุ่นใหม่” ที่ปรากฎตัวขึ้นแทนนักเล่นหุ้นรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไปจากวิกฤติตลาดหุ้น และนี่ก็คือกลุ่มนักลงทุนที่เป็นคนชั้นกลางกินเงินเดือนที่มีการศึกษาดีที่เริ่มหันมาเก็บออมเงินและลงทุนเพื่อการเกษียณและเห็นว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งลงทุนที่ดีมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะถ้ารู้ว่าหุ้นตัวนั้นเป็นธุรกิจที่ดี เติบโตเร็วและยาวนาน แต่มีราคาหุ้นที่ถูกมาก พวกเขารวมตัวกันเรียนรู้และศึกษาวิเคราะห์หุ้นก่อนลงทุนโดยอิงกับพื้นฐานทางธุรกิจ และเรียกตนเองว่า Value Investor หรือ นักลงทุนเน้นคุณค่า ไม่มีใครเรียกว่า “เล่นหุ้น” อีกต่อไป
ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้เติบโตเร็ว อานิสงค์ส่วนหนึ่งจากวิกฤติซับไพร์มของอเมริกาในปี 2551 และวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 เศรษฐกิจในช่วงทศวรรษนี้เติบโตเพียงปีละ 3.48% โดยเฉลี่ย ต่ำยิ่งกว่าช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นกลับเติบโตดีและปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1,527 จุดในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้น 131.7% คิดเป็นปีละ 8.8% แบบทบต้นซึ่งถ้ารวมปันผลก็ให้ผลตอบแทนปีละประมาณ 11.6% ต่อปีในช่วงเวลา 10 ปี
เรียกได้ว่านี่คือทศวรรษแห่งการฟื้นฟูและปรับปรุงตลาดหุ้นให้มีมาตรฐานทั้งในด้านของการพัฒนาและกำกับเพื่อให้ตลาดหุ้นเป็นแหล่งระดมทุนที่มีประสิทธิภาพรวมถึงการพัฒนาในด้านของนักลงทุนที่กลายเป็นนักลงทุน “มืออาชีพ” ที่เน้นการวิเคราะห์หุ้นอย่างมีเหตุผล ผมเองอยากจะเรียกว่าเป็นยุค “Renaissance” หรือ “ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรือง” ในด้านต่าง ๆ
ทศวรรษสุดท้ายเริ่มตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 9 ปีแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางโครงสร้างรุนแรงนั่นก็คือ คนไทยเริ่มแก่ตัวลงกลายเป็นประเทศผู้สูงอายุและคนเกิดน้อยลงมากเกือบจะที่สุดในเอเซีย
นอกจากนั้น ระบบการปกครองก็ “ล้าหลัง” เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เป็นเพื่อนบ้านและประเทศที่มีระดับความมั่งคั่งใกล้เคียงกันอานิสงค์จากการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในปี 2557 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลงมากเหลือเพียงเฉลี่ยปีละประมาณ 1.92% ในช่วง 9 ปี
ดัชนีตลาดหุ้นเองที่เริ่มต้นทศวรรษที่มีค่า PE ประมาณ 20.9 เท่า ก็ไม่เอื้ออำนวยซึ่งทำให้หุ้นในระยะเวลา 9 ปี ไม่ได้ไปไหน และลดลงเหลือ 1,359.9 ในวันที่ 26 เมษายน 2567 หรือลดลง 10.9% ในเวลาประมาณ 9 ปี หรือลดลงปีละ 1.28% โดยเฉลี่ย
เรียกได้ว่าทศวรรษที่ 5 ของตลาดหุ้นไทยนั้นน่าจะเป็น “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป” ถ้าปีหน้าตลาดหุ้นก็ยังคงเป็นแบบเดิมแบบที่เป็นมาแล้ว 9 ปี
โดยเนื้อหาบางช่วงบางตอนมีประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งพอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า ตลาดหุ้นไทยในปีหน้า กำลังเข้าสู่ช่วงทศวรรษที่ห้า หรือ 50ปีของตลาดหุ้นไทย
ซึ่งหากในปีหน้านี้ตลาดหุ้นไทยยังเป็นเหมือนในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าทศวรรษที่ 5 ของตลาดหุ้นไทยนั้นน่าจะเป็น “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป”
ทั้งนี้เนื้อหาทั้งหมดทั้งมวลจะมีรายละเอียดอย่างไร ดร.นิเวศน์ ได้เล่าถึงในช่วงเหตุการณ์ของแต่ละทศวรรษไว้อย่างไรบ้าง Share2Trade จะพาไปหาคำตอบ
เริ่มต้นที่ดร.นิเวศน์ ระบุว่า เดือนเมษายนปีหน้าจะเป็นปีที่ตลาดหุ้นไทยมีอายุครบ 50 ปี หรือเป็นเวลา 5 ทศวรรษของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น ผมก็อยากจะตรวจสอบหรือทบทวนว่าในแต่ละทศวรรษที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีวิวัฒนาการและผลงานเด่น ๆ อย่างไรบ้าง พอจะกำหนดเป็นภาพใหญ่ ๆ ได้ไหมว่าแต่ละยุคควรจะเรียกว่าอย่างไร
เริ่มเปิดตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนเมษายน 2518 ซึ่งเป็นเวลาที่เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตจากเศรษฐกิจที่ยังเล็กมากและยังเป็นประเทศที่อิงกับการเกษตรเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ด้วยภูมิรัฐศาสตร์ที่โลกแบ่งเป็น 2 ขั้ว คือฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและคอมมิวนิสต์ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียตรัสเซีย ที่มีการต่อสู้และทำสงครามเย็นแย่งชิงประเทศต่าง ๆ ในโลกมาเป็นฝ่ายของตนเอง ประเทศไทยซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีก็ได้รับความช่วยเหลือจากอเมริกาทางด้านเศรษฐกิจและเป็นฐานในการต่อสู้กับระบอบ
คอมมิวนิสต์ที่กำลังทำสงครามกันในประเทศเวียตนาม
หนึ่งทศวรรษก่อนปี 2518 เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตสูงมาก อานิสงค์ส่วนหนึ่งจากการช่วยเหลือจากอเมริกาที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้พ้นจากความยากจนที่มักเป็นบ่อเกิดให้คนสนใจในลัทธิสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือการใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐในประเทศไทยที่เป็นฐานทัพอากาศที่สำคัญของอเมริกาในการรบกับคอมมิวนิสต์ในเวียตนาม เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 ถึง 2518 GDP โตเฉลี่ยถึงปีละประมาณ 7.8% และเริ่มมีการพัฒนาประเทศจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการ “ตลาดทุน” มาสนับสนุน และนั่นก็คือการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนอย่างเป็นทางการ
ตลาดหลักทรัพย์เริ่มเปิดการซื้อขายหุ้นด้วยดัชนีที่ถูกกำหนดไว้ที่ 100 จุด ในวันสิ้นเดือนเมษายน 2518 ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ไซ่ง่อน เมืองหลวงของประเทศเวียตนามใต้หรือเมืองโฮจิมินซิตี้ในปัจจุบัน “แตก” เวียตนามทั้งหมดกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ อเมริกาถอนกำลังทหารทั้งหมดกลับประเทศ ประเทศไทยได้รับการคาดหมายว่าจะต้องกลายเป็นคอมมิวนิสต์รายต่อไปตามทฤษฎี “โดมิโน” เพราะทั้งลาวและกัมพูชาต่างก็กลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปทั้งหมดแล้ว
แต่โชคชะตาก็เข้าข้างประเทศไทย เพราะหลังจากเวียตนามแตก โซเวียตก็แตกกับจีน ทำให้ไทยรอดจากการยึดครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งก็ทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าเติบโตต่อไปอีก 10 ปี จนถึงปี 2528 ที่อัตราเฉลี่ยปีละ 6.8% ลดลงมาเพียง 1% จากทศวรรษก่อน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเริ่มต้นอย่าง “ทุลักทุเล” ดัชนีหุ้นขึ้นลงตามการ “เก็งกำไร” และการ “ปั่นหุ้น” ของนักเล่นหุ้น “ชุดแรก” ที่มองตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งเก็งกำไรหรือการพนันที่ “ถูกกฎหมาย” ส่วนหนึ่งเพราะยังไม่มีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการกำกับและควบคุม ซึ่งทำให้แม้แต่การปั่นหุ้นก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย และนั่นนำมาสู่ “วิกฤติตลาดหุ้น” กรณี “ราชาเงินทุน” ในปี 2522 ซึ่งทำให้ดัชนีตกลงไปกว่า 40% ในเวลา 1 ปี และทำให้หุ้น “เหงา” ไปนานมากและคนแทบจะเลิกเล่นหุ้นไปเลย
จนถึงเดือนเมษายน ปี 2528 ครบรอบทศวรรษแรกของตลาดหุ้น ดัชนีตลาดอยู่ที่ 151 จุด หรือปรับขึ้น 51% ในเวลา 10 ปี คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละ 4.21% ซึ่งดูเหมือนจะเลวร้ายมากเมื่อคำนึงถึงว่าการฝากเงินกับสถาบันการเงินได้ดอกเบี้ยปีละเกือบ 10% อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น ผลตอบแทนจากปันผลหรือ
Dividend Yield ของบริษัทจดทะเบียนสูงมากถึงปีละประมาณ 9.28% ดังนั้น คนที่ลงทุนถือหุ้นระยะยาว 10 ปี ก็จะได้ผลตอบแทนรวมทบต้นถึงปีละ 13.5% ไม่เลวเลย
สำหรับผมแล้ว ทศวรรษแรกของตลาดหุ้นคือ “ทศวรรษแห่งการเรียนรู้”
ทศวรรษที่สองของตลาดหลักทรัพย์จากปี 2528 ถึงปี 2538 นั้น เริ่มต้นโดยที่ “ไม่มีความคาดหวัง” ดัชนีตลาดอยู่ในระดับต่ำ ค่า PE อยู่ที่ 8.55 เท่า ปันผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 8% แต่ก็ไม่มีใครสนใจที่จะเล่นหุ้น ผมเพิ่งกลับเมืองไทยจากการเรียนจบปริญญาเอกทางการเงินและการลงทุนที่สหรัฐ และตลาดหลักทรัพย์เพิ่งจะได้ผู้จัดการคนใหม่ชื่อ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ อดีตอาจารย์นิด้าสถาบันที่ผมเรียนจบปริญญาโท
ในเวลานั้นประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ช่วงของการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ นำโดยการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและการจัดตั้งโครงการ Eastern Seaboard ที่เน้นการพัฒนาเมืองชายทะเลภาคตะวันออกให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมโดยเฉพาะปิโตรเคมีและการส่งออกโดยผ่านท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง และที่สำคัญที่สุดก็คือการที่ญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นจากข้อตกลง Plaza Accord ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเร็วขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนที่ปีละ 8.93% โดยเฉลี่ยในเวลา 10 ปี
ตลาดหุ้นเฟื่องฟูมากในทศวรรษนี้ อานิสงค์สำคัญส่วนหนึ่งจากการเปิดเสรีทางการเงินที่ทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นได้เต็มที่ ดัชนีหุ้นในเดือนเมษายนปี 2538 ขึ้นสูงถึง 1,209จุด เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า หรือเท่ากับผลตอบแทนทบต้นปีละ 23.12 ในเวลา 10 ปี ไม่รวมปันผลอีกเกือบ 3% เป็น “ทศวรรษทอง” ของตลาดหุ้นไทย และทำให้นักเล่นหุ้นจำนวนมากที่เข้ามาตลาดหุ้นต่างก็ร่ำรวยจนมีคำพูดว่า “มา (แล้ว)รวย” ตามชื่อผู้จัดการตลาดที่อยู่นานถึง 7 ปีในช่วงที่หุ้นคึกคักมาก
ผลจากทศวรรษทองนั้น ทำให้หุ้นเมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 มีราคาแพงคือมีค่า PE ที่ 20.87 เท่า และเศรษฐกิจก็ร้อนแรงเกินไปจนเป็นปัญหาเนื่องจากมีการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเกินตัว บวกกับความผิดพลาดในการบริหารการเงินโดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย ประเทศก็เกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจแทบจะล้มละลาย ต้องใช้เวลาปรับโครงสร้างหลายปีกว่าที่เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้น
ทศวรรษที่ 3 จบลงในปี 2548 ด้วยตัวเลขการเติบโตอง GDP ที่ต่ำลงมากเฉลี่ยที่ปีละ 3.55% อานิสงค์จากช่วงปีวิกฤติที่เศรษฐกิจตกต่ำลงถึง 10% ในเวลา 2 ปี แต่ตลาดหุ้นนั้นยิ่งเลวร้ายกว่า เพราะในเวลา 10 ปี ดัชนีตลาดตกลงมาจาก 1,209 เป็น 659 จุด ลดลงมาถึง 45% หรือตกลงมาเฉลี่ยทบต้นปีละ 5.89% ดังนั้น นี่คือ “ทศวรรษแห่งวิกฤติเศรษฐกิจและตลาดหุ้น”
ทศวรรษที่ 4 เริ่มขึ้นหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจผ่านไปอย่างสมบูรณ์ ธุรกิจ “รุ่นใหม่” เติบโตขึ้นแทนรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป เช่นเดียวกับนักลงทุน “รุ่นใหม่” ที่ปรากฎตัวขึ้นแทนนักเล่นหุ้นรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไปจากวิกฤติตลาดหุ้น และนี่ก็คือกลุ่มนักลงทุนที่เป็นคนชั้นกลางกินเงินเดือนที่มีการศึกษาดีที่เริ่มหันมาเก็บออมเงินและลงทุนเพื่อการเกษียณและเห็นว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งลงทุนที่ดีมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะถ้ารู้ว่าหุ้นตัวนั้นเป็นธุรกิจที่ดี เติบโตเร็วและยาวนาน แต่มีราคาหุ้นที่ถูกมาก พวกเขารวมตัวกันเรียนรู้และศึกษาวิเคราะห์หุ้นก่อนลงทุนโดยอิงกับพื้นฐานทางธุรกิจ และเรียกตนเองว่า Value Investor หรือ นักลงทุนเน้นคุณค่า ไม่มีใครเรียกว่า “เล่นหุ้น” อีกต่อไป
ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้เติบโตเร็ว อานิสงค์ส่วนหนึ่งจากวิกฤติซับไพร์มของอเมริกาในปี 2551 และวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 เศรษฐกิจในช่วงทศวรรษนี้เติบโตเพียงปีละ 3.48% โดยเฉลี่ย ต่ำยิ่งกว่าช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นกลับเติบโตดีและปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1,527 จุดในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้น 131.7% คิดเป็นปีละ 8.8% แบบทบต้นซึ่งถ้ารวมปันผลก็ให้ผลตอบแทนปีละประมาณ 11.6% ต่อปีในช่วงเวลา 10 ปี
เรียกได้ว่านี่คือทศวรรษแห่งการฟื้นฟูและปรับปรุงตลาดหุ้นให้มีมาตรฐานทั้งในด้านของการพัฒนาและกำกับเพื่อให้ตลาดหุ้นเป็นแหล่งระดมทุนที่มีประสิทธิภาพรวมถึงการพัฒนาในด้านของนักลงทุนที่กลายเป็นนักลงทุน “มืออาชีพ” ที่เน้นการวิเคราะห์หุ้นอย่างมีเหตุผล ผมเองอยากจะเรียกว่าเป็นยุค “Renaissance” หรือ “ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรือง” ในด้านต่าง ๆ
ทศวรรษสุดท้ายเริ่มตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 9 ปีแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางโครงสร้างรุนแรงนั่นก็คือ คนไทยเริ่มแก่ตัวลงกลายเป็นประเทศผู้สูงอายุและคนเกิดน้อยลงมากเกือบจะที่สุดในเอเซีย
นอกจากนั้น ระบบการปกครองก็ “ล้าหลัง” เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เป็นเพื่อนบ้านและประเทศที่มีระดับความมั่งคั่งใกล้เคียงกันอานิสงค์จากการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในปี 2557 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้าลงมากเหลือเพียงเฉลี่ยปีละประมาณ 1.92% ในช่วง 9 ปี
ดัชนีตลาดหุ้นเองที่เริ่มต้นทศวรรษที่มีค่า PE ประมาณ 20.9 เท่า ก็ไม่เอื้ออำนวยซึ่งทำให้หุ้นในระยะเวลา 9 ปี ไม่ได้ไปไหน และลดลงเหลือ 1,359.9 ในวันที่ 26 เมษายน 2567 หรือลดลง 10.9% ในเวลาประมาณ 9 ปี หรือลดลงปีละ 1.28% โดยเฉลี่ย
เรียกได้ว่าทศวรรษที่ 5 ของตลาดหุ้นไทยนั้นน่าจะเป็น “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป” ถ้าปีหน้าตลาดหุ้นก็ยังคงเป็นแบบเดิมแบบที่เป็นมาแล้ว 9 ปี